จตุรนต์ ถิระวัฒน์
ศาสตราจารย์ ดร.
จตุรนต์ ถิระวัฒน์
ศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
- ศาสตราจารย์ระดับ ท. 11 ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ
การศึกษา
- ชิงทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสไปศึกษาภาษาฝรั่งเศสและกฎหมายระดับปริญญาตรี ระหว่าง พ.ศ. 2517–2522
- อนุปริญญา (Diplôme d’Etudes Universitaires Générales- DEUG) มหาวิทยาลัย CAEN พ.ศ. 2521
- ปริญญาตรี (Licence en Droit) สาขากฎหมายมหาชน พ.ศ. 2522
- สอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยปารีสII (Assas-Panthéon)
- ปริญญาโทด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายยุโรป (Maîtrise en Droit-Mention: Droit International et Européen) พ.ศ. 2523
- สอบผ่านข้อเขียนในการศึกษาระดับปริญญาเอก (Diplôme d’Etudes Approfondies- DEA ) พ.ศ. 2524
- จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขากฎหมายระหว่างประเทศ (Docteur en Droit – mention: Droit International) พ.ศ. 2528
ประสบการณ์
การทำงาน
ก เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2528
ผ่านการประเมินเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตุลาคม พ.ศ. 2531
ผ่านการประเมินเป็นรองศาสตราจารย์ กันยายน พ.ศ. 2535
ผ่านการประเมินเป็นศาสตราจารย์ มิถุนายน พ.ศ.2540
ผ่านการประเมินเป็นศาสตราจารย์ ระดับ ท.11 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ในการทำงาน
ก) หน่วยงานของฝ่ายบริหาร
1) หน่วยงานราชการภายใต้นายกรัฐมนตรี
– กรรมการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน
– ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน
– กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2548- 2551 และ พ.ศ. 2556
– กรรมการบริหารรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ (ปัจจุบันคือสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) สาขานิติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน
– กรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ตั้งแต่พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน
2) กระทรวงการต่างประเทศ
– กรรมการในคณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ แห่งกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน
– คณะที่ปรึกษากฎหมายกลุ่มเล็กอย่างไม่เป็นทางการของรัฐบาลไทย (เพื่อต่อสู้กรณีกัมพูชายื่นคำขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) พ.ศ. 2555
3) กระทรวงศึกษาธิการและในปัจจุบันกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3.1) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
– กรรมการในคณะอนุกรรมการบริหารโครงการพัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน
– กรรมการในคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552
3.2) สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน
– กรรมการสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2552
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พ.ศ. 2552
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2559
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน
– คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2549
– กรรมการกำกับวิชาการของมหาวิทยาลัยหอการค้า พ.ศ. 2545–2546
– ประธานคณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน
– ประธานคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน
– ประธานคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2559
– ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2556
– กรรมการในคณะอนุวุฒยาจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554
– กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน
– กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน
4) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– กรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประสานงานกิจกรรมภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศส่วนนอกในทางสันติแห่งสหประชาชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2550
– กรรมการในคณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การใช้อวกาศของประเทศไทยและบทบาทในนานาชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2550
– หัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมอนุกรรมการกฎหมายแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อวกาศทางสันติ ( United Nations Legal Sub-Committee on the Peaceful Uses of Outer Space) (เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2547-2550)
– ประธานคณะทำงานด้านกฎหมายอวกาศสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พ.ศ. 2548
5) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
– ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นายสิทธิชัย โภไคยอุดม) พ.ศ.2549
– กรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัฐ) พ.ศ. 2550
– ประธานคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายอวกาศ พ.ศ. 2550
– ประธานอนุกรรมการพัฒนากฎหมายอวกาศ พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน
ข) หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ
– กรรมการในคณะกรรมการกฎหมายและสัญญา บริษัทการบินไทยจำกัด มหาชน
– กรรมการบริษัทไปรษณีย์ไทย พ.ศ. 2549
ค) หน่วยงานของฝ่ายนิติบัญญัติ
– กรรมการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. ……. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2541
– กรรมการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. …สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2541
– กรรมการในคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาสอบสวนและศึกษาการลงนาม การให้สัตยาบันและการอนุวัติกฎหมายภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ กรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา พ.ศ. 2551
-กรรมการในคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและติดตามการทำหนังสือสัญญาและการตรากฎหมายอนุวัติการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา พ.ศ. 2553
-กรรมการในคณะอนุกรรมการติดตามสถานการณ์ระหว่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2558
ง) หน่วยงานอิสระต่างๆ
– กรรมการในคณะอนุกรรมการฝ่ายวิจัย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2550
– กรรมการในอนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการส่งเสริมจริยธรรมและการพัฒนาคุณธรรม คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2554 ถึงปัจจุบัน
-กรรมการในคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) พ.ศ. 2555
– กรรมการในคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสาร สำนักงาน กสทช. พ.ศ. 2555
จ) หน่วยงานหรือองค์กรทางวิชาการระหว่างประเทศ
– อนุญาโตตุลาการด้านกฎหมายอวกาศแห่ง ศาลสถิตย์อนุญาโตตุลาการ (Permanent Court of Arbitration) พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน
– ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการวารสาร Journal of East Asia and International Law พ.ศ. 2551
– กรรมการบริหารของสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งทวีปเอเชีย (Executive Council of Asian Society of International Law (ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายระหว่างประเทศจากทวีปเอเชีย อาทิ Judge OWADA (ตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) Judge Park (ตุลาการศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ) ฯลฯ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง พ.ศ. 2550
– กรรมการในกองบรรณาธิการวารสารของสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งทวีปเอเชีย (Asian Society of International Law Journal)
– กรรมการในกองบรรณาธิการวารสาร Asia-Pacific Yearbook of International Humanitarian Law ซึ่งพิมพ์โดย Institute of International Legal Studies, University of the Philippines Law Center, โดยการสนับสนุนของ International Committee of the Red Cross พ.ศ. 2549
สาขาที่สนใจ
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
หลักสูตร
ที่สอน
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
- กฎหมายอวกาศ
- กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
ผลงาน
ทางวิชาการ
- หนังสือและตำรา
(1) กฎหมายอวกาศ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2540
(2) อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและปัญหากฎหมายในทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมระหว่างประเทศ (รางวัลดีมากของโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา), สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2541 พิมพ์แก้ไขครั้งที่ 2, พ.ศ. 2547
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2547, พิมพ์แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2558
(4) กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ, คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ, สำนักพิมพ์ วิญญูชน, พ.ศ. 2550
(5) เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชานิติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1, เล่มที่ 1 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2551
หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ (ร่วมกับ ดร.วิสูตร ตุวยานนท์)
หน่วยที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน (ร่วมกับ ดร.วิสูตร ตุวยานนท์)
หน่วยที่ 6 การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
หน่วยที่ 7 กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการใช้กำลังทางทหาร
บทความทางวิชาการ
(1) บทความแปลร่วมกับ วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ เรื่อง “อำนาจอธิปไตยกับกฎหมายระหว่างประเทศ, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2529 (หัวข้อที่ 4–5) หน้า 171-212
(2) โครงการสงครามอวกาศ (Star Wars) ปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 17, ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2530 หน้า 1-22
(3) De la personalité juridique de l’ASEAN dans l’évolution de la pratique contemporaine des Etats, สิงหาคม พ.ศ. 2534, ในหนังสืออนุสรณ์ครบรอบ 84 ปี ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 287-295
(4) องค์การระหว่างประเทศกับการสร้างกฎเกณฑ์และการประกันการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ ในรวมบทความทางวิชาการในโอกาสครบรอบ 84 ปี ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2534 หน้า 249-271
(5) Some reflections on the concepts of the right to return and voluntary repatriation, วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2534 หน้า 579-591
(6) Some reflections on the 1992 tripartite Memorandum of Understanding between the Royal Thai Government, the Cambodian SNC and the UNHCR on the repatriation of Cambodian refugees and displaced persons, วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 หน้า 220-228
(7) Some observations on AFTA, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2536 หน้า 55-64
แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นและพิมพ์โดยNihon Keizai Shimbun ใน Global Thinkers, Challenge Orthodox: Japanese Views of the World’s Economy and Political Situations, 1993, pp. 229-248.
(8) Non-extraditability on the ground of the political nature of the offenses from the perspective of Thailand”, บทความใน Thammasat Review, Vol.1, No.1, 1996 pp. 29-44
(9) การส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย: เน้นปัญหากฎหมายในระดับระหว่างประเทศ, วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2539 หน้า 142-167
(10) กระบวนการทำสนธิสัญญาและการปรับใช้สนธิสัญญาในทางปฏิบัติของประเทศไทย, วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2539 หน้า 608-630
(11) “การบังคับรัฐและตัวแทนรัฐอันเป็นเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของสนธิสัญญา” ใน หนังสือรวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ธรรมศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2541 หน้า 103-115
(12) Practical Problems Related to Money laundering” พิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2541 หน้า 754-765
(13) การศึกษากฎหมายในประเทศฝรั่งเศส ในหนังสือรวมบทความทางวิชาการเพื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาสครบรอบ 100 ปี เนติบัณฑิตยสภา, เนติบัณฑิตยสภา, พ.ศ. 2541 หน้า 200-206
(14) ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางอวกาศที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาอวกาศของประเทศไทย ในหนังสือรวมบทความในโอกาสครบรอบ 72 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2543 หน้า 125-151
(15) ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court- ICC) เอกสารประกอบการอภิปราย (Executive Summary) ของกลุ่มกฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสำหรับการประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2543 , 14-15 กันยายน พ.ศ. 2543 12 หน้า
(16) The Stakes of Third World Countries in the on-going Development of the Space Law and Activities, Proceedings of the 1st Asian Space Conference, 22-25 November 2004, Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA), Bangkok, pp. 248-253
(17) WTO and Regional Co-operation, in The Development of Law in Asia: Convergence versus Divergence, The 3rd Asian Law Institute Conference, May 2006, Shanghai, China, pp. 793-796.
(18) Asian Prosperity under Contemporary International Law”, country paper of Thailand in the Asian Society of International Law Symposium, organized by Saranrom Institute of Foreign Affairs and Thailand Association of International Law , July 2006, Bangkok, Thailand, p.15
(19) To join or not to join the International Criminal Court: The Thai Dilemma, Asia-Pacific Yearbook of International Humanitarian Law,Vol.1, 2005, pp.168-178 (เผยแพร่เมื่อปลายปี พ.ศ. 2549)
(20) ผลกระทบจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีอวกาศต่อกฎหมายอวกาศในปัจจุบัน, อาจาริยบูชา ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ ภาณุพงศ์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2550 หน้า 409-432
(21) เขตการค้าเสรี จากมุมมองทางนิติศาสตร์ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 17 ฉบับที่ 196 กันยายน พ.ศ.2550 หน้า 1-3
(22) Roles of Parliament in Treaty Making Process under the Thai Constitution, เอกสารประกอบโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ” รัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า และสหภาพรัฐสภา พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 หน้า 1-11
(23) วิวัฒนาการของกฎหมายทะเลกับผลกระทบต่อการกำหนดเขตทางทะเลของประเทศไทย, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2554 หน้า 485-507
(24) กฎหมายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศไทย, วารสารพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (มีนาคม พ.ศ. 2555) ปีที่ 14 เล่มที่ 1 หน้า 33-61
(25) การต่อต้านการทุจริตในระดับระหว่างประเทศตามอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) และความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคี, บริษัทปราชญ์เพื่อความเป็นธรรม เมธี ครองแก้ว, เอเชียแปซิฟิค ออฟเซ๊ท จำกัด สิงหาคม พ.ศ. 2555 หน้า 255-268
(26) การปราบปรามโจรสลัด: ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557 หน้า 97-119
(27) ข้อพิจารณาทางกฎหมายสำหรับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมายังประเทศไทย, วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2556 หน้า 1-16 (ออกเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2558)
(28) การต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตามอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ. 2000, วารสารกฎหมายมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2558
(29) การช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเล, วารสารราชบัณฑิตยสภา, ปีที่ 40 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 หน้า 1-22 (ออกเผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560)
(30) ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)และมาตรการทางกฎหมายในการรับมือ ในหนังสือรวมบทความเรื่อง ประเทศไทยในความคิดของเมธีวิจัยอาวุโส เล่ม 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สำนักพิมพ์คมบาง พ.ศ. 2562 หน้า 179-201
งานวิจัย
(1) งานวิจัยเรื่อง “สงครามในอวกาศกับกฎหมายระหว่างประเทศ” โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2530
(2) งานวิจัยเสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “ประเด็นข้อกฎหมายเรื่องการปรับใช้หลักสิทธิที่จะกลับ และหลักการส่งกลับถิ่นฐานเดิมโดยสมัครใจในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศไทย (Legal Issue on the Application of the Principles of the Right to Return and Voluntary Repatriation in regard of Refugees in Thailand) เป็นภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2535
(3) Promotion and Protection of Foreign Investments in Thailand : with Special Emphasis on Legal Problems of International Levels. 1996. งานวิจัยสำหรับโครงการบัณฑิตศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(4) Treaty – Making Process and Application of Treaties in the Practice of Thailand. 1996. งานวิจัยสำหรับโครงการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(5) งานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและปัญหากฎหมายในทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมระหว่างประเทศ” พ.ศ. 2539 ต่อมาได้รับการพัฒนาจัดพิมพ์เป็นหนังสือเรื่อง “อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและปัญหากฎหมายในทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมระหว่างประเทศ” รางวัลดีมากของโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา, สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2541 329 หน้า, พิมพ์แก้ไขครั้งที่ 2, พ.ศ. 2547
(6) “Application of International Law in Thailand”, งานวิจัยเสนอในงานสัมมนาทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิวชู, คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พิมพ์ใน Prachoom Chomchai (editor), Development of Legal Systems in Asia: Experiences of Japan and Thailand, Proceedings of the International Symposium, Faculty of law, Kyushu and Thammasat Universities,1998, Bangkok
(7) “Salient Aspects and Issues concerning AFTA”, Thammasat Review, Vol. 7, No. 1, December, 2002
(8) โครงการศึกษาผลกระทบและการกำหนดท่าทีไทยต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี ผู้วิจัยร่วมในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับสำนักเอเชียตะวันออก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2548
(9) การศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคีสมาชิกใน OCDE ผู้วิจัยร่วมในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2549
(10) โครงการศึกษาผลกระทบจากการจัดทำ FTA ของไทยที่มีต่อสาขาเกษตร ผู้วิจัยร่วมในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2550
(11) โครงการวิจัยทางวิชาการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “ปัญหาหลักของเขตการค้าเสรีทั้งในระดับภูมิภาคและทวิภาคีที่ประเทศไทยร่วมเป็นรัฐสมาชิก” พ.ศ. 2550
(12) โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง ความเป็นไปได้ในแง่กฏหมายสำหรับประเทศไทยในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หัวหน้าโครงการวิจัยในฐานะเมธีวิจัยอาวุโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ.2551-2555 รายงานสังเคราะห์ฉบับสมบูรณ์จัดทำโดยหัวหน้าโครงการ เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2556
(13) โครงการศึกษาการจัดตั้งองค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศไทย หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ สำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.2552
(14) โครงการ การศึกษากลไกการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี ผู้วิจัยร่วมในนามของศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับสำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2553
(15) โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาองค์กรและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในอนาคต หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2554
(16) โครงการยกร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ผู้วิจัยร่วมในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับสำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กระทรวงพลังงาน พ.ศ.2554
(17) โครงการศึกษาแนวการเจรจาและผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยร่วมในนามของบริษัท ไบรอัน เคฟ (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2555
(18) โครงการจัดจ้างผู้วิเคราะห์ รวบรวม เพื่อจัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบเรื่องที่สำคัญและอยู่ในความสนใจ (ด้านกิจการโทรคมนาคม) ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในหัวข้อการศึกษาระบบกฎหมายเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ กสทช. พ.ศ.2558
(19) โครงการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย (Research Reactor) พ. ศ. …. หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ เสนอต่อสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. พ.ศ.2558 25หน้า
(20) โครงการจัดทำกรอบแนวคิดแผนการปรับปรุงการจัดองค์กรกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของประเทศ หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ เสนอต่อ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พ.ศ. 2558
(21) โครงการวิจัยเรื่องปัญหาเขตแดนบริเวณช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวกและแนวทางแก้ไข หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ เสนอต่อ กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, พ.ศ. 2559
(22) โครงการศึกษาผลกระทบของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศต่อพระมหากษัตริย์ไทย หัวหน้าโครงการวิจัยในนามของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับ เสนอต่อ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, พ.ศ. 2560
(23) โครงการวิจัยเรื่องการควบคุมการค้าและการแพร่ขยายอาวุธโดยองค์การสหประชาชาติและผลกระทบทางกฎหมายต่อประเทศไทย เสนอต่อ คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2563
รางวัล
- รางวัลดีมากจากโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับหนังสือเรื่อง “อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยและปัญหากฎหมายในทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมระหว่างประเทศ”, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2541
- รางวัลนักวิจัยดีเด่นสาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2542
- รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย-สกว. พ.ศ. 2551
- รับพระราชทาน (จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ) ประกาศนียบัตรและเข็มนภยาธิปัตย์กิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพอากาศ พ.ศ. 2544
- รับพระราชทาน (จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ) ประกาศนียบัตรและเข็มนภาธิปัตย์กิตติมศักดิ์ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ พ.ศ. 2545