ขอเชิญนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมอบรม “การดูแลสุขภาพจิตกับการเรียนระดับบัณฑิตศึกษา”
คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียน
หลักสูตรนี้ มีวัตถุประสงค์ในการสร้างและพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะแห่งอนาคตอย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการศึกษาที่มีการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์ด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
หลักสูตรนี้แบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา คือ แผน 1 เป็นการศึกษาวิชากฎหมาย 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต และแผน 2 เป็นการศึกษาวิชากฎหมาย 30 หน่วยกิต และวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Research) 6 หน่วยกิต
การเข้าเรียนตามหลักสูตรนี้ ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียนวิชาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักกฎหมายอาญา หลักกฎหมายมหาชน หลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงพิจารณาผลการทดสอบคะแนนภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS) และการสอบสัมภาษณ์สำหรับผู้สอบผ่านข้อเขียน
นอกจากการเรียนในชั้นเรียนแล้ว คณะนิติศาสตร์ยังสนับสนุนให้นักศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตดูงานตามหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาผ่านทางประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในสายงานหรือภาคปฏิบัติ
เป้าประสงค์ สร้างนักกฎหมายที่มีคุณลักษณะ GREATS ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมให้คิดเป็นและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลและนำไปใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและยั่งยืน
เป้าประสงค์ ผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการและการพัฒนาสังคม
เป้าประสงค์ พัฒนาการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ได้รับความรู้ ทางกฎหมายที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการอย่างเหมาะสม
เป้าประสงค์ มีระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานงานบุคคลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และบุคลากรสามารถทำงานเกิดผลสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย
กิต เนื้อหารายวิชามุ่งให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานต่อกฎหมายและนิติวิธีเบื้องต้น มีความรู้ความเข้าใจต่อเนื้อหาของกฎหมายพื้นฐานในสาขากฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ นิติวิธีที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจความแตกต่างของลักษณะเฉพาะและนิติวิธีเฉพาะของแต่ละสาขากฎหมาย โดยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบกฎหมายเดียวกันได้ สามารถพิจารณากฎหมายจากมุมมองอื่น ๆ นอกจากบนพื้นฐานของตัวบทกฎหมายหรือเอกสารทางกฎหมาย และมีทักษะพื้นฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีสาขาความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้าน 6 สาขา ดังนี้ สาขากฎหมายแพ่ง สาขากฎหมายอาญา สาขากฎหมายพาณิชย์ สาขากฎหมายมหาชน สาขากฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษาเลือกศึกษาและมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้านนั้น ๆ
คณะนิติศาสตร์รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ โดยเปิดรับสมัคร 3 รอบ ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2546 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเริ่มก่อตั้งขึ้นและเปิดการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายในระดับปริญญาตรีให้แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นมาแล้ว หรือที่เรียกว่า หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคบัณฑิต)
พ.ศ. 2552 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเริ่มจัดการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายในระดับปริญญาตรีให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือที่เรียกว่าหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ) ศูนย์ลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาหรือสนใจที่จะศึกษาในภาคเหนือของประเทศ การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนี้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต การถ่ายทอดความรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายในสาขาต่าง ๆ ทั้งที่ประจำอยู่ที่ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง
พ.ศ. 2561 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ได้เพิ่ม “สาขากฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Law and Sustainable Development)” ซึ่งเป็นสาขากฎหมายใหม่นอกเหนือจากสาขากฎหมายเดิมที่มีในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และมีการเรียนการสอน ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มาอย่างต่อเนื่อง สาขากฎหมายใหม่นี้ประกอบด้วยรายวิชา ทางด้านกฎหมายเกือบ 20 วิชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนรุ่นหลัง ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่จำกัดอย่างเห็นและตระหนักถึงคุณค่า และให้ความสำคัญแก่การรักษาสภาพเศรษฐกิจที่ดี ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำลายเศรษฐกิจของประเทศอื่น และรักษาไว้ซึ่งประโยชน์โดยส่วนใหญ่ของสังคมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการอยู่ร่วมกันบนโลกอย่างสันติสุขภายใต้การให้ความสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN)
โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ประกอบด้วยการศึกษารายวิชารวมกันไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี
คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าศึกษา ประมาณปีละ 200 คน โดยเปิดรับสมัครตามระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ทั้งหมด 2 รอบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ การเรียนการสอนที่จัด ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยังให้ความสำคัญกับความผูกพัน ความใกล้ชิด และความอบอุ่นระหว่างคณาจารย์ประจำศูนย์ลำปางและนักศึกษา และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศร่มรื่น และปราศจากความเร่งรีบจากสภาพการจราจรที่แออัดในเมืองใหญ่ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องการเรียน การทำกิจกรรม และการพักผ่อน โดยปราศจากความกังวลในเรื่องคุณภาพการศึกษาและโอกาสในการประกอบอาชีพที่ไม่แตกต่างจากศูนย์การศึกษาอื่น
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมีความมุ่งหมายจะผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้กฎหมายทั้งในภาคทฤษฎีและในภาคปฏิบัติ ให้สามารถที่จะออกไปประกอบวิชาชีพทางกฎหมายแขนงต่าง ๆ ได้ โดยฝึกฝนให้นักศึกษาสามารถใช้วิชากฎหมายให้ถูกต้องแก่กรณี รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจในตัวบทกฎหมาย ทั้งในการตีความและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ด้วยความมุ่งหมายดังกล่าวมาแล้ว คณะนิติศาสตร์ได้วางหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และความต้องการของสถาบันต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งต้องอาศัยนักกฎหมาย เช่น ตุลาการ อัยการ ทนายความ พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ นิติกร ผู้สอนในสถานศึกษา หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะรวมทั้งงานของรัฐวิสาหกิจและเอกชนด้วย โดยบัณฑิตจะเป็นผู้มีความรู้ทั้งในกฎหมายพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็น และจะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในทางลึกหรือเฉพาะด้านในกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งมากขึ้น ควบคู่ไปกับการมีความสามารถและทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับวิชาชีพกฎหมายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นอกจากผลิตนักกฎหมายให้มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายแล้ว นักกฎหมายยังจะต้องประพฤติตนอยู่ในกรอบ จรรยาบรรณ มีความหนักแน่น มั่นคง มีความสำนึกทางสังคม และรับผิดชอบในวิชาชีพนักกฎหมาย
ปรัชญาและวัตถุประสงค์
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะแห่งอนาคตอย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ โดยบูรณาการกฎหมายและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมไทยและสังคมโลกให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตมุ่งเน้นการศึกษาที่มีการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์ด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลอย่างรวดเร็วตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเป็นหลักสูตรที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาซึ่งมีความแตกต่างกันในเป้าหมายของการเรียนและการประกอบอาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วที่จะเลือกเป็นนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้านในสาขาวิชาที่คณะนิติศาสตร์เปิดสอน 8 สาขา ได้แก่
1) กฎหมายเอกชน (Private Law)
2) กฎหมายอาญา (Criminal Law)
3) กฎหมายมหาชน (Public Law)
4) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
5) กฎหมายธุรกิจ (Business Law)
6) กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Law)
7) กฎหมายภาษี (Tax Law)
8) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources and Environmental Law)
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตศึกษาตลอดหลักสูตร จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา คือ แผน 1 (แบบวิชาการ) เป็นการศึกษาวิชากฎหมาย 24 หน่วยกิต (วิชาบังคับ 15 หน่วยกิต วิชาเลือก 9 หน่วยกิต) และวิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 หน่วยกิต และแผน 2 (แบบวิชาชีพ) เป็นการศึกษาวิชากฎหมาย 33 หน่วยกิต (วิชาบังคับ 15 หน่วยกิต วิชาเลือก 12 หน่วยกิต) และวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Research) 6 หน่วยกิต และจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) จริยธรรม (Ethics) และลักษณะบุคคล (Character)
โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต PLOs ไว้ดังนี้
แผน 1 (แบบวิชาการ | แผน 2 (แบบวิชาชีพ) | |||
ความรู้ (Knowledge) | ||||
PLO 1-1 | พัฒนาความรู้ทางวิชาการที่ลึกซึ้งมากขึ้น | PLO 2-1 | พัฒนาความรู้ที่เพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติ | |
PLO 1-2 | เชื่อมโยงและใช้ความรู้ทางวิชาการไปต่อยอดเพื่อการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ | PLO 2-2 | เชื่อมโยงและใช้ความรู้ทางวิชาการไปต่อยอดเพื่อการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ | |
PLO 1-3 | ปรับใช้องค์ความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสังคม | PLO 2-3 | ปรับใช้องค์ความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสังคม | |
ทักษะ (Skills) | ||||
PLO 1-4 | แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง | PLO 2-4 | แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเองและสร้างความรู้ในการปฏิบัติได้ | |
PLO 1-5 | เลือกใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลหรือจัดการข้อมูลได้อย่างเหมาะสม | PLO 2-5 | เลือกใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลหรือจัดการข้อมูลในทางวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม | |
PLO 1-6 | ใช้ทักษะการแสดงเหตุผลในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่นำไปสู่การพัฒนาองค์กรและสังคมในยุคดิจิตัล | PLO 2-6 | ใช้ทักษะการแสดงเหตุผลในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่นำไปสุ่การพัฒนาองค์กรและสังคมในยุคดิจิตัล | |
จริยธรรม (Ethics) | ||||
PLO 1-7 | แสดงออกถึงทักษะการจัดการปัญหาในบริบทของสังคมโดยคำนึงถึงคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณเพื่อประโยชน์ส่วนรวม | PLO 2-7 | แสดงออกถึงทักษะการจัดการปัญหาในบริบทของสังคมโดยคำนึงถึงคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณเพื่อประโยชน์ส่วนรวม | |
PLO 1-8 | แสดงออกถึงความคิดริเริ่มหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของกฎระเบียบและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อทบทวนและแก้ไขโดยสะท้อนถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณ | PLO 2-8 | แสดงออกถึงความคิดริเริ่มหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของกฎระเบียบและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อทบทวนและแก้ไขถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณ | |
PLO 1-9 | แสดงออกถึงภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณ | PLO 2-9 | แสดงออกถึงภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณ | |
ลักษณะบุคคล (Character) | ||||
PLO 1-10 | รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ | PLO 2-10 | ใช้ความรู้ทางกฎหมายเพื่อประกอบวิชาชีพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน | |
PLO 1-11 | ปรับตัวการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั่งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่ม | PLO 2-11 | ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลและเป็นระบบในฐานะผู้ใช้กฎหมาย | |
PLO 1-12 | วางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในวิชาชีพกฎหมาย | PLO 2-12 | แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้คำปรึกษากำหมายและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน |
การรับเข้าศึกษา
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตกำหนดการรับเข้าศึกษา 3 ช่องทาง คือ 1) กรณีทั่วไป ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียนวิชาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักกฎหมายอาญา หลักกฎหมายมหาชน หลักกฎหมายระหว่างประเทศ และการสอบสัมภาษณ์ 2) กรณีส่งเสริมผู้มีประสบการณ์ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ในสาขาที่ตนสมัคร 3) กรณีส่งเสริมผู้มีความโดดเด่นทางวิชาการ ผู้สมัครต้องได้รับเกียรตินิยมในอันดับ 1 ถึง 5 และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ในสาขาที่ตนสมัคร นอกจากนี้ผู้สมัครทั้ง 3 ช่องทางจะต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS) ไม่เกิน 2 ปี
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 คณะนิติศาสตร์ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ (นานาชาติ) หรือที่เรียกว่า International LL.B. Program in Business Law โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การสอนนิติศาสตร์ในระดับชาติไปสู่มาตรฐานสากล
คณะนิติศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมเพื่อผลิตนักกฎหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านวิชาชีพกับนักกฎหมายต่างชาติที่กำลังจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย และจำต้องผลิตนิติศาสตรบัณฑิตที่มีความสามารถเพื่อเข้าไปแข่งขันในตลาดแรงงานด้านกฎหมายในประเทศอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บัณฑิตเหล่านี้ควรมีความรู้ทั้งกฎหมายและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนจะเข้าไปแข่งขันในตลาดแรงงาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตให้สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าว
วัตถุประสงค์หนึ่งของหลักสูตรนี้คือการสร้างบัณฑิตให้สามารถรู้และใช้กฎหมายเป็นโดยมีจริยธรรม คุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานในวิชาชีพกฎหมายได้เป็นอย่างดี
การศึกษาเป็นแบบระบบทวิภาคคือ 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา และอาจเปิดภาคฤดูร้อน ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคืออ4 ปี
คณะนิติศาสตร์เปิดรับผู้สนใจเข้าศึกษาตั้งแต่เดือนของทุกปี ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://interprograms.law.tu.ac.th/ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/tuinterllb/?ti=as
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มีเป้าหมายเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์กฎหมายด้วยตนเอง มีความรู้และทักษะด้านกฎหมายธุรกิจและภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานและอยู่ในระดับสากลเพื่อการประกอบวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและภาครัฐ หลักสูตรนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายและประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในหลักสูตรที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษา และสามารถประกอบอาชีพได้ในขณะเดียวกัน เนื่องจากเป็นหลักสูตรการศึกษานอกเวลาราชการ
นอกจากนี้คณะนิติศาสตร์ยังมีความร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยไลเด้น ประเทศเนเธอร์แลนด์, มหาวิทยาลัยแคว้นบอร์โดซ์ ประเทศฝรั่งเศส, มหาวิทยาลัยเคโอะ ประเทศญี่ปุ่น ฯลฯ
คณะนิติศาสตร์คัดเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร ประกอบด้วย วุฒิการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตหรือเทียบเท่า ผลการทดสอบคะแนนภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS) พร้อมกับการสอบสัมภาษณ์ โดยเปิดรับนักศึกษาศึกษา 30 คน ต่อปีการศึกษา
ปรัชญาและวัตถุประสงค์
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะแห่งอนาคตอย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ โดยบูรณาการกฎหมายและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมไทยและสังคมโลกให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตมุ่งเน้นการศึกษาที่มีการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์ด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลอย่างรวดเร็วตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนำความรู้ระดับสูงในเชิงวิชาการไปใช้ในการประกอบอาชีพทางวิชาการและวิชาชีพทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของต่างประเทศ และแสวงหาความรู้ใหม่และทันสมัยเพื่อนำไปช่วยแก้ไขปัญหากฎหมายและพัฒนากฎหมายให้กับสังคมและประเทศชาติ
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต เป็นการสร้างโครงการวิจัยและการดำเนินการวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชานิติศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) จริยธรรม (Ethics) และลักษณะบุคคล (Character)
โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต PLOs ไว้ดังนี้
ความรู้ (Knowledge) | |
PLO 1 | อธิบายความรู้ที่สำคัญต่อการนำไปปฏิบัติ |
PLO 2 | ใช้ความรู้นำไปต่อยอดและเชื่อมโยงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ |
PLO 3 | ใช้องค์ความรู้ใหม่นำไปสู่การแก้ปัญหาแบบองค์รวมเป็นที่ยอมรับอ้างอิงได้หรือปรับใช้ในบริบทของสังคม |
ทักษะ (Skills) | |
PLO 4 | พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างความรู้ในการปฏิบัติโดยเลือกใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลหรือจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม |
PLO 5 | พัฒนาความสามารถในการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เชิงวิชาการและวิชาชีพในระดับที่อ้างอิงหรือปรับใช้ในบริบทอื่นได้ |
PLO 6 | พัฒนาทักษะในการแสดงเหตุผลร่วมกับผู้อื่นที่นำไปสู่การพัฒนาองค์กรและสังคมในยุคดิจิตัล |
จริยธรรม (Ethics) | |
PLO 7 | แสดงทักษะการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนในบริบทของสังคมโดยคำนึงถึงคุณธรรม ศีลธรรมและจรรยาบรรณเพื่อประโยชน์ส่วนรวม |
PLO 8 | แสดงความคิดริเริ่มหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของกฎระเบียบและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อทบทวนและแก้ไขโดยสะท้อนถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม ศีลธรรมและจรรยาบรรณ |
PLO 9 | แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ศีลธรรมและจรรยาบรรณ |
ลักษณะบุคคล (Character) | |
PLO 10 | รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ |
PLO 11 | ปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่ม |
PLO 12 | แสดงความสามารถ วางแผนต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองในวิชาชีพกฎหมาย |
การรับเข้าศึกษา
การเข้าศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ผู้สมัครสอบความรู้เกี่ยวกับข้อเสนอวิทยานิพนธ์ที่ผู้สมัครประสงค์จะศึกษาในระดับปริญญาเอก และนอกจากนี้ผู้สมัครจะต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS) เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม เป็นหลักสูตรที่คณะนิติศาสตร์ได้พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการบริหารกระบวนการยุติธรรม เป็นการสร้างฐานในการผลักดันการพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศที่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ในด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งให้เกิดกระบวนการยุติธรรมที่เคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาคนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่ออํานวยความยุติธรรมให้เป็นไปอย่างโปร่งใส แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำ
โดยหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม เป็นการศึกษาวิชากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 15 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต และจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปีการศึกษา
การเข้าศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ และนอกจากนี้ผู้สมัครจะต้องมีผลการทดสอบคะแนนภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS)
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนได้จัดการศึกษาครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2542 ครั้นถึงปี พ.ศ.2546 โดยมีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนมีเนื้อหาที่ทันสมัย และสามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและความต้องการของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ต่อมาในปี พ.ศ.2555 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ภายในและภายนอกประเทศซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ที่ได้รับรองให้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เทียบเท่ากับหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ระดับกลาง ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถใช้เป็นคุณสมบัติในการขอรับการคัดเลือกเพื่อรับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2556 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาและทบทวนความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติอีกครั้ง และต่อมาในปี พ.ศ.2560 ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาวิชาของหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธิพิจารณาคดีปกครองที่คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ให้การรับรองมากยิ่งขึ้น
โดยหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน เป็นการศึกษาวิชากฎหมายมหาชน กฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ 30 หน่วยกิต และจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ภาคการศึกษา
การเข้าศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี และต้องผ่านการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายมหาชนและการสอบสัมภาษณ์ 2) สำหรับบุคคลทั่วไป ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และการสอบสัมภาษณ์