นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อันดับที่ 4 ของการแข่งขันจากการจัดอันดับคะแนนรวมในรอบการยื่นคำแถลงการณ์ (written memoranda) ของฝ่ายผู้เรียกร้อง (applicant) และฝ่ายผู้คัดค้าน (defendant) ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดตั้งแต่ส่งทีมเข้าแข่งขันมา รวมทั้งได้อันดับที่ 10 ในการจัดอันดับรวมหลังจากรอบการแถลงการณ์ด้วยวาจา (oral pleading) จากการแข่งขันแถลงการณ์ศาลจําลองด้านภาษีอากรระหว่างประเทศและสหภาพยุโรปปี 2024 จัดโดย IBFD และ KU Leuven เมื่อวันที่ 24 ถึง 29 มีนาคม 2567 ณ เมืองเลอเวิน ประเทศเบลเยียม
สมาชิกของทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย
1. นายภูมิ วรรณคำ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ปีที่ 3
2. นายสิทธา หาญวิชิตชัย นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรไทย ปีที่ 3
3. นางสาวพลอยรุ้ง ไกรทอง นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ปีที่ 3
4. นายปิ่นปรมี หัสดินทร ณ อยุธยา นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ปีที่ 4
ในการแข่งขันครั้งนี้ อ.ดร. กีระเกียรติ พระทัย ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและได้ฝึกซ้อมสมาชิกทีม และผศ. สหรัฐ อกนิษฐศาสตร์ และ ผศ. ธนภูมิ จันทร์สว่างที่ได้ร่วมเดินทางไปฝึกซ้อมที่ประเทศเบลเยียมในช่วงการแข่งขัน
นอกจากนี้ ขอขอบคุณ อ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ที่สละเวลามาฝึกซ้อมแถลงการณ์ด้วยวาจา โดยการเดินทางไปแข่งขันครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนหลักจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งสปอนเซอร์เพิ่มเติมจาก Kudun & Partners, Baker McKenzie และ One Law Office
ขอแสดงความยินดีกับทีมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม และความทุ่มเทที่ทางทีมได้มีให้แก่การแข่งขันในครั้งนี้
………………….
The Thammasat Tax Moot team has achieved the fourth highest score for the written memoranda for the Applicant and Defendant, which is the best result ever made by Thammasat teams.The team also acquired an overall 10th place after the pleading sessions from the International and European Tax Moot Court 2024, co-organized by the International Bureau of Fiscal Documentation (IBFD) and KU Leuven held in Leuven, Belgium from 24th to the 29th of March, 2024.
The team consists of four students: Poom Wannakum (third year, international LLB student), Pinparamee Hastindra Na Ayudhaya (fourth year, international LLB student), Sittha Harnvichitchai (third year, Thai LLB student), and Ployrung Kraitong (third year, international LLB student).
The Tax Moot team was supervised and firmly supported by Ajarn Dr. Keerakiat Pratai, along with Assistant Prof. Saharat Augnistasat and Assistant Prof. Tanapoom Chansawang who accompanied the team to Leuven, Belgium during the period of the competition.
Special thanks also go to Ajarn Thitirat Thipsamritkul for pleading practices. This competition is financially supported by Faculty of Law, Thammasat University as well as further sponsorship from Kudun & Partners, Baker McKenzie, and One Law Office.
Fantastic job to the Thammasat Tax Moot team and much obliged for their commitment to this moot!
………………………………………………………..
ความรู้สึกของผู้เข้าแข่งขัน (Reflections from the team members)
Poom Wannakum
ศาลจำลองภาษีทำให้ผมมีความรู้พื้นฐานด้านกฎหมายภาษีระหว่างประเทศมากขึ้น ในเชิงวิชาการ ผมได้รู้ถึงข้อกำหนดต่างๆ ในโมเดล OECD/UN ว่าด้วยอนุสัญญาภาษีซ้อน และการนำไปประยุกต์ใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาสมัยใหม่ของการเก็บภาษีซ้อนและการไม่เก็บภาษี นี่เป็นข้อกังวลอย่างมากที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมโลกที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ข้ามพรมแดนได้รับความสนใจมากขึ้น ในส่วนของทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ผมได้เรียนรู้วิธีการประสานงานกับทีมและเพื่อนร่วมงานที่หลากหลาย ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารอย่างมืออาชีพ และฝึกฝนทักษะการนำเสนอต่อสาธารณะต่อหน้าผู้พิพากษา โดยรวมแล้ว ผมได้เติบโตทั้งในฐานะบุคคลและในฐานะนักกฎหมาย ผมอยากจะขอบคุณทีมงาน อาจารย์ เพื่อน พ่อแม่ มหาวิทยาลัย และตัวผมเอง ที่ให้โอกาสผมได้ยกระดับทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพ วิชาชีพด้านกฎหมายเป็นสิ่งที่ท้าทาย อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ากิจกรรมประเภทนี้จะพัฒนานักเรียนให้มีทั้ง soft และ hard skills ซึ่งจำเป็นไม่เพียงแต่เพื่อความอยู่รอดในสายอาชีพนี้แต่ทำให้เติบโตอย่างมีคุณภาพในสายอาชีพด้วย
Tax moot courts have equipped me with ample foundational knowledge to further my legal career in the area of international taxation. In regards to academics, I was exposed to various provisions in the OECD/UN Model on Double Tax Convention and its applications which are used to solve the modern issues of double taxation and non taxation. This is a huge concern that shall be addressed especially in a global setting where cross border commercial activities have gained more traction. In regards to interpersonal skills, I learned how to coordinate with a diverse team and colleagues, realized the importance of professional communication, and hone my public presentation skills in front of an adjudicator. Overall, I grew both as a person, and as a legal professional. I would like to thank my team, my professors, my friends, my parents, the university, and myself, for providing me with this opportunity to elevate my academic and professional skills. Legal professions are challenging, however activities similar to this will develop students with both the soft and hard skills necessary to not only survive but thrive in the industry.
Sittha Harnvichitchai
การแข่งขันศาลจำลองกฎหมายภาษี เป็นความท้าทายที่ทำให้ผมกล้าออกจากเซฟโซนของตัวเอง ประสบการณ์ครั้งนี้ได้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญให้กับชีวิตของผม เริ่มจากการได้ความรู้ทางด้านกฎหมายภาษีระหว่างประเทศ ผ่านอนุสัญญาภาษีซ้อน ซึ่งเป็นกฎหมายสาขาใหม่ที่ผมไม่เคยศึกษา จึงต้องอาศัยความพยายามในการทำความเข้าใจเรียนรู้สิ่งใหม่ อีกส่วนสำคัญที่ได้ จากการแบ่งเวลาระหว่างเรียนและการแข่ง คือการได้พัฒนา วินัย และทักษะในการบริหารเวลา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานสายอาชีพกฎหมาย ท้ายที่สุดคือการได้ทำงานกับเพื่อนร่วมทีมที่มีความสามารถมาก ทำให้พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม รวมถึงสร้างความเป็นมืออาชีพ และยังได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ ประสบการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นบนเรียนที่มีคุณค่าและพัฒนาชีวิตผมไปอีกระดับ การได้เข้าร่วมการแข่งขันนี้จึงเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ากับผมมาก
My experience in this moot court competition has been one of great challenges and even greater growth to my character and professional career. The most direct opportunity is through the task of having to learn and then debate critically on the topic of double tax convention, an area of law that I found incredibly intriguing yet have not had the opportunity to study it in depth until now. This not only gave me the legal and technical understanding revolving around this subject, but it also nurtured my ability to learn and comprehend complex tasks. Upon further reflection, it fostered both my ability to work in a professional legal setting and also fundamental soft skills that will forever stick with me. Such skills include the ability to efficiently manage my time and discipline as I juggled both my studies and my preparations for the competition. Aside from my personal development, I was also able to work on my intrapersonal relationship skills through working with talented, like-minded individuals from all over the globe. This was instrumentally valuable in nurturing my teamwork and professionalism but also intrinsically valuable in the friendship and collective experience that myself and my peers have overcome together. All in all, I am thankful for the moot competition in giving me precious memories and fruitful opportunities to advance both my career and personal development, something that will never cease to be utilized, nor will it ever be forgotten, in the future.
Pinparamee Hastindra Na Ayudhaya
การแข่งขันศาลจำลองภาษีอากรเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในชีวิตของผมเนื่องจากเป็นการแข่งศาลจำลองครั้งแรกของผม และเป็นครั้งแรกที่ผมได้พบกับประเด็นทางกฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ค่อนข้างใหม่สำหรับผม ถึงแม้ว่าผมเคยมีโอกาสได้ศึกษาด้านกฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศอยู่บ้าง แต่กฎหมายสาขานี้มีความท้าทายและซับซ้อนเป็นอย่างมาก การแข่งขันครั้งนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้และเข้าใจกฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศในเชิงลึก ผ่านบทบัญญัติอนุสัญญาภาษีซ้อนและการปรับใช้กฎหมาย ทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงปฏิบัติ
นอกจากความรู้ทางด้านภาษีอากรระหว่างประเทศแล้ว การแข่งขันศาลจำลองทำให้ผมได้เสริมสร้างประสบการณ์และเรียนรู้หลาย ๆ สิ่ง ทั้งการใช้ชีวิต การได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมทีมที่มีความสามารถ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการค้นคว้า การทำงานร่วมกันเป็นทีม การบริหารจัดการเวลา วินัย และการสื่อสาร ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานในวิชาชีพกฎหมาย สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณเพื่อนร่วมทีม คณาจารย์ และบุคคลทุกท่านที่เกี่ยวข้องที่มอบโอกาสครั้งนี้ให้ผมได้พัฒนาตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงานต่อไป
The European and International Tax Moot Court was one of the biggest challenges in my life since I had never participated in a moot court competition before and never gained exposure to this complex international tax legal issues. Although I may have had a brief idea of international taxation, the tax moot court granted me the opportunity to study this challenging and complex area of law in depth through the provisions and the application of Double Tax Conventions both academically and practically.
In addition to the legal knowledge gained, this moot court competition was a great opportunity for me to enhance both my soft skills and hard skills such as legal research, teamwork, time management, and communication. Lastly, I am very grateful for my teammates, my professors, and everyone involved in making this precious opportunity possible for me to develop as a person and as a legal professional.
Ployrung Kraitong
สวัสดีค่ะ หนูอยากจะบอกนักศึกษาคนอื่นๆว่าถ้าสนใจให้ลองดู โครงการนี่จะให้คุณมากกว่าประสบการณ์การฝึกทักษะเชิงวิชาการ ไม่ว่าทางด้านการเขียน การค้นคว้า และการพูด แต่คุณจะได้รับความรู้เรื่องการทำเอกสารราชการและได้รับคำแนะนำดีๆด้านการใช้ชีวิตจากคณาจารย์
การแข่งศาลจำลองภาษีนั้นมีความแตกต่างจากการแข่งขันอื่นๆที่ทางธรรมศาสตร์ส่งเข้าแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างด้านสาขาวิชาที่ชัดเจน แต่มันยังเป็นการแข่งเดียวที่ในปัจจุบันทางธรรมศาสตร์ได้ส่งเข้าแข่งขันที่ยุโรปและการคัดเลือกทีมจากความสามารถปัจจุบันการความสามารถแฝงในตัวคุณ ผู้ที่สนใจควรที่จะเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพยายามทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมทีมมากๆ สิ่งนี้จะช่วยคุณทำผลงานให้ออกมาให้ดีที่สุด และอย่าเกรงใจในการขอความช่วยเหลือจากคณาจารย์เพราะพวกท่านสามารถที่จะช่วยและให้คำแนะนำดีๆได้ ขอบคุณมากสำหรับประสบการณ์ค่ะ
It may not be believable, but what I learned the most is not academic knowledge; it is the comprehension of the administrative processes and my flaw in soft management skills. Even if tax is a complicated and detailed subject, which, in my opinion, should be learned through a teacher who, through experience, knows how to digest such knowledge more efficiently for the students, it is still possible to learn through self-taught and interest. We did our best in those circumstances, even if the outcome was not as we hoped for. I am thankful for this year’s selection process to aim at individual specialties that complete the missing parts of each other. I would not have met these beautiful new friends without these new criteria.
Moreover, please note that experience dealing with the paperwork would not be given to you unless you enter this tax moot competition. What I find fascinating is the care one’s teacher would give their students even if they are unaware of their mistakes. The lessons my teammates and I learned, firstly is to be more cautious, whether in work assessments or communication with specific persons, and secondly when it is to let go, ask for help and barge ahead. This is the real privilege we gained throughout this experience, not just the statement we put in our portfolio.