ถาม-ตอบ
โครงการฝึกอบรมกฎหมายภาคปฏิบัติ (ฝึกงานภาคฤดูร้อน) ปีการศึกษา 2563
โดยคณะกรรมการฝึกงานภาคปฏิบัติ
คำถาม (1) : ในการสมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ สามารถเลือกสถานที่ฝึกงานได้กี่อันดับ
คำตอบ : การสมัครงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ นักศึกษาสามารถเลือกสถานที่ฝึกงานได้ตั้งแต่ 1-3 อันดับ
คำถาม (2) : ในการสมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์จะมีการสัมภาษณ์ผ่านช่องทางใด
คำตอบ : ในปีการศึกษา 2563 ไม่มีการสัมภาษณ์ การคัดเลือก คณะกรรมการฯจะพิจารณาจากใบสมัครและเอกสารที่นักศึกษาส่งมา
คำถาม (3) : ในกรณีสมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ซึ่งมีกำหนดให้ต้องเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 แต่นักศึกษายังสอบ ไม่เสร็จจะแก้ไขอย่างไร
คำตอบ : ระยะเวลาในการฝึกงาน คือ 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2564 แต่หากหลังเดือนพฤษภาคม นักศึกษายังสอบไม่เสร็จ ขอให้นักศึกษาแจ้งศูนย์นิติศาสตร์ และทางศูนย์นิติศาสตร์จะมีหนังสือแจ้งให้แต่ละหน่วยงานทราบว่านักศึกษาจะเริ่มไปฝึกงานได้ตั้งแต่วันที่เท่าไร ทั้งนี้ กรณีไปฝึกงานหลังจากวันที่ 1 มิถุนายน ระยะเวลาฝึกงานอาจไม่ครบ 2 เดือน
คำถาม (4) : กรณีที่สมัครผ่านศูนย์นิติศาสตร์ ทางศูนย์นิติศาสตร์จะส่งเอกสารการสมัครไปพร้อมกันภายหลังวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 หรือทยอยส่งไปยังหน่วยงาน หากทยอยส่งจะมีผลอย่างไร / การยื่นใบสมัครก่อนหรือหลังมีผลต่อการได้ที่ฝึกงาน
คำตอบ : ทางศูนย์นิติศาสตร์จะส่งเอกสารครั้งเดียว ทั้งนี้ นักศึกษาไม่ต้องส่งใบสมัครหรือเอกสารใด ๆ ไปยังหน่วยงาน ทางศูนย์นิติศาสตร์จะเป็นผู้ดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานเองทั้งหมด / การยื่นใบสมัครก่อนหรือหลังไม่มีผลต่อการได้ที่ฝึกงาน / ทั้งนี้ ในการคัดเลือก คณะกรรมการฯ จะพิจารณาจากคุณสมบัติของนักศึกษาและเอกสารที่กำหนดให้ส่งทั้งหมด รวมถึงอันดับที่นักศึกษาเลือกประกอบการพิจารณา
คำถาม (5) : Resume จากผู้สมัครควรเป็นภาษาใด
คำตอบ : ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
คำถาม (6) : ใบแสดงผลการศึกษาที่ผู้สมัครต้องใช้ เป็นผลการศึกษาถึงภาคการเรียนใด
คำตอบ : ใช้ผลการศึกษาถึงภาค 1/2563 กรณีคะแนนยังปรากฏในในระบบของสำนักทะเบียนไม่ครบ แต่คะแนนออกในบล็อกคณะฯแล้ว ให้ปรินท์ผลคะแนนที่ประกาศในบล็อกคณะฯแนบมาด้วย
คำถาม (7) : Statement of Purpose (ภาษาไทย) ควรเขียนอย่างไร และต้องเขียนเฉพาะเจาะจงหน่วยงานที่ต้องการฝึกแยกกันหรือเขียนแบบภาพรวมเพียง 1 แผ่น
คำตอบ : Statement of Purpose (ภาษาไทย) ที่กำหนดให้ส่งไม่มีรูปแบบในการเขียน และเขียนเป็นภาพรวมเพียง 1 แผ่น นักศึกษาสามารถดูตัวอย่างได้ตามเว็บไซต์ทั่วไป เช่น http://www.statementofpurpose.com/whatis.html
คำถาม (8) : ในกรณีที่ไม่ได้สมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ ต้องขอเอกสารใดจากคณะนิติศาสตร์บ้างและขอผ่านช่องทางใดได้บ้าง
คำตอบ : กรณีที่ไม่ได้สมัครผ่านศูนย์นิติศาสตร์ นักศึกษาต้องติดต่อผ่านงานบริการการศึกษา (Facebook Page : งานบริการการศึกษา คณะนิติศาสตร์) ทางปฏิบัติโดยทั่วไปคือนักศึกษาต้องกรอกแบบฟอร์มของคณะนิติศาสตร์ เพื่อขอหนังสือส่งตัวหรือขอความอนุเคราะห์ โดยติดต่อได้ที่งานบริการการศึกษา ชั้น 2 คณะนิติศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือตามช่องทางออนไลน์ที่งานบริการการศึกษากำหนด
คำถาม (9) : ในกรณีที่ไม่ได้สมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ ต้องขอเอกสารใดจากสถานที่ฝึกงานมายื่นกับคณะนิติศาสตร์บ้างและยื่นผ่านช่องทางใดได้บ้าง
คำตอบ : เช่นเดียวกับข้อ 8 นักศึกษาต้องติดต่อผ่านงานบริการการศึกษา ทางปฏิบัติโดยทั่วไปคือนักศึกษาต้องขอหนังสือตอบรับหรือยันยันจากหน่วยงานว่ารับนักศึกษาเข้าฝึกงานกับหน่วยงานแล้ว โดยที่ผ่านมากรณีที่นักศึกษาหาสถานที่ฝึกงานเอง โดยมากหน่วยงานจะให้ทางคณะนิติศาสตร์ออกหนังสือส่งตัวหรือหนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกงาน และเมื่อหน่วยงานได้รับหนังสือจากคณะฯแล้วทางหน่วยงานจะมีหนังสือตอบกลับมายังคณะฯเพื่อยืนยันว่าหน่วยงานได้รับนักศึกษาแล้ว
คำถาม (10) : การกรอกเอกสารคำร้องขอหนังสืออนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกงาน ต้องกรอกระยะเวลาที่จะฝึกงานจริง หรือระยะเวลาตามที่ ศูนย์นิติศาสตร์กำหนด (1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2564)
คำตอบ : นักศึกษาสามารถระบุวันที่จะไปฝึกงานจริงได้เลย เช่น หากนักศึกษาทราบว่าจะสอบเสร็จวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ก็สามารถระบุวันเริ่มฝึกงานเป็น 7 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2564
คำถาม (11) : หากไม่ได้สถานที่ฝึกงานไม่ว่าจะเป็นกรณีที่สมัครผ่านศูนย์นิติศาสตร์หรือไม่ จะสามารถจัดการอย่างไรได้บ้าง
คำตอบ : ทางศูนย์นิติศาสตร์จะหาสถานที่ฝึกงานให้นักศึกษาที่สมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ทุกคน
คำถาม (12) : กรณีสมัครสถานที่ฝึกงานเอง จะยังสามารถสมัครฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์อีกได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้
คำถาม (13) : สามารถฝึกงานในสถานที่ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานทางกฎหมายโดยตรงได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
คำตอบ : หากงานที่ฝึกเป็นงานที่ “เกี่ยวข้อง” กับกฎหมาย สามารถฝึกได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรด้านกฎหมายโดยตรง กรณีที่ไม่แน่ใจว่างานที่จะไปฝึกเกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือไม่ สามารถสอบถามได้จากอาจารย์ผู้ประสานงานวิชา น.471 การฝึกปฏิบัติงานทางกฎหมาย 1
คำถาม (14) : หากฝึกงานแล้วจะสอบแก้ตัวได้หรือไม่
คำตอบ : สามารถสอบซ่อมได้ แต่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่หน่วยงานกำหนดไว้ทุกครั้ง
คำถาม (15) : ลักษณะการฝึกงานของ Pro Bono เป็นอย่างไร หากลงทะเบียนวิชา น. 471 แล้วภายหลังต้องการเปลี่ยนเป็น น. 472 ได้หรือไม่
คำตอบ : การฝึกงานของ Pro Bono เป็นการฝึกงานในองค์กรที่มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เช่น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือศูนย์นิติศาสตร์ การลงทะเบียน สามารถเปลี่ยนวิชาได้เฉพาะโดยการเพิ่มถอน ในช่วงเพิ่มถอนเท่านั้น
คำถาม (16) : คณะนิติศาสตร์มีเอกสารที่ต้องให้หน่วยงานที่ไปฝึกงานเซ็นรับรองว่าผ่านการฝึกงานแล้วหรือไม่ หากมีจะสามารถรับเอกสาร ได้จากช่องทางใด
คำตอบ : กรณีฝึกงานผ่านศูนย์นิติศาสตร์ ศูนย์นิติศาสตร์จะส่งแบบประเมินให้หน่วยงานที่นักศึกษาไปฝึก / กรณีนักศึกษาหาสถานที่ฝึกเอง ให้ขอรับเอกสารแบบประเมินได้ที่งานบริการการศึกษา
หมายเหตุ :
หากมีคำถามเกี่ยวกับการฝึกงานเพิ่มเติม ขอให้ติดต่อที่อีเมล lawcenter@tu.ac.th
คำถามบางส่วนรวบรวมโดย โครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.) ศูนย์รังสิต