กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขากฎหมายแพ่ง ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) และนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเอกชน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LLM) สาขา Innovation, Technology and the Law และนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (PhD) จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ สหราชอาณาจักร หัวข้อวิทยานิพนธ์ศึกษาเปรียบเทียบข้อความคิดว่าด้วย “คำมั่น” ในฐานะที่เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ซึ่งแตกต่างจาก “สัญญา” ซึ่งเป็นนิติกรรมสองฝ่าย เป็นอาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่ง วิชาที่สอนในหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา กฎหมายลักษณะหนี้ เอกเทศสัญญา 1 (ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ) กฎหมายลักษณะมรดก สัมมนากฎหมายแพ่ง และกฎหมายแพ่งเปรียบเทียบ (หลักสูตรภาษาไทย) Introduction to Law and Legal Systems, Specific Contracts, Private Law Seminar (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) และในระดับปริญญาโท ได้แก่ ทฤษฎีกฎหมายเอกชน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชั้นสูง คอมมอนลอว์ (หลักสูตรภาษาไทย) และ Advanced Contract and Tort Law (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรศุทธิ์ สนใจการศึกษาวิจัยในสาขาต่าง ๆ ของกฎหมายแพ่ง ผลงานวิจัย (ภาษาอังกฤษ) ที่ตีพิมพ์ได้แก่ การศึกษาวิจัยข้อความคิดว่าด้วยหลักสุจริตและระบบกฎหมายสัญญา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายของสกอตแลนด์และไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรศุทธิ์ เป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการ Principles of Asian Contract Law (PACL) ร่วมกับนักกฎหมายจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียในการร่างแนวทางร่วมกฎหมายสัญญาในเอเชีย (อยู่ในระหว่างดำเนินการ) และเป็นหนึ่งในผู้วิจัยของโครงการยกร่างกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ และโครงการทบทวนกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
การศึกษา
- ศิลปศาตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์ บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายเอกชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- LLM in Innovation, Technology and the Law, University of Edinburgh ประเทศสหราชอาณาจักร
- PhD, University of Edinburgh ประเทศสหราชอาณาจักร
หัวข้อ
วิทยานิพนธ์
- A Critical Analysis of Promise in Scots Law and Thai Law (Ph.D. Edinburgh)
- Should ISPs in Thailand Act at the Behest of the Entertainment Industry to Control P2P File Sharing? (LL.M. Edinburgh)
- กระบวนการในการเกิดสัญญา (นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ประสบการณ์
การทำงาน
- 1 พฤศจิกายน 2562-ปัจจุบัน : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
- 5 กรกฎาคม-31 ตุลาคม 2562 : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร
- พฤษภาคม 2560-กรกฎาคม 2562 : ผู้ช่วยคณบดีท่าพระจันทร์
- กันยายน 2559-ปัจจุบัน : ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์
สาขาที่สนใจ
- ทฤษฎีกฎหมายเอกชน
- กฎหมายนิติกรรม สัญญา คำมั่น
- กฎหมายลักษณะหนี้
- กฎหมายซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ
- กฎหมายลักษณะมรดก (พินัยกรรม)
- ระบบกฎหมาย
- การใช้การตีความกฎหมาย
- กฎหมายเปรียบเทียบ
หลักสูตร
ที่สอน
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย
- กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา
- กฎหมายลักษณะหนี้ : หลักทั่วไป
- เอกเทศสัญญา 1
- กฎหมายสัญญาทางพาณิชย์ 1
- กฎหมายลักษณะมรดก
- สัมมนากฎหมายแพ่ง 1
- สัมมนากฎหมายแพ่ง 2
- กฎหมายแพ่งเปรียบเทียบ
- การเขียนในเชิงกฎหมาย 1
- การเขียนในเชิงกฎหมาย 2
หลักสูตร LL.B.
- Introduction to Law and Legal Systems
- Specific Contracts
- Private Law Seminar
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- ทฤษฎีกฎหมายเอกชน
- กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชั้นสูง
- คอมมอนลอว์
- สัมมนากฎหมายเอกชน
หลักสูตร LL.M.
- Advanced Contracts and Torts Law
ผลงาน
ทางวิชาการ
วิทยานิพนธ์
- A Critical Analysis of Promise in Scots Law and Thai Law, PhD Thesis, The University of Edinburgh, 2016, available at https://www.era.lib.ed.ac.uk/handle/1842/22831
- กระบวนการในการเกิดสัญญา, วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552
บทความ
- ‘Unilateral Promise: Some Practical Advantages’ Edinburgh Student Law Review 2013, Vol. 2, Issue 1, 42-53
- ‘อิทธิพลของคำมั่นสัญญาในคำเสนอบ่งเวลา’, 60 ปีดาราพร, รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี รองศาสตราจารย์ ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มกราคม 2555 สืบค้นได้ที่ อิทธิพลของคำมั่นสัญญาในคำเสนอบ่งเวลา
- ‘Should ISPs in Thailand act at the behest of the entertainment industry to control P2P file-sharing?’ European Intellectual Property Review 2011, Vol. 33, Issue 10, 632-640.
- ‘ระบบกฎหมายสก็อต’, วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2552), 198-215.
- ‘ระบบกฎหมายผสม’ , วารสารนิติศาสตร์ปี ที่ 36 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2550), 568-589.
- ‘กระบวนการในการเกิดสัญญา’, วารสารบัณฑิตศึกษา 3, 3 (กรกฎาคม 2552), 189-198
ผลงานวิจัย
- นักวิจัยร่วม “โครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ” สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
- นักวิจัย “Theoretical Framework of Thai and Scots Contract Law: Comparative Perspectives” โครงการวิจัยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560
- นักวิจัย “The Doctrine of Good Faith in Scots and Thai Law: Comparative Perspectives” โครงการวิจัยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559
- นักวิจัยร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการทำงาน” สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม
- ฝ่ายค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล “โครงการวิจัยเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมกัน” สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
การเข้าร่วมสัมมนาและประชุมทางวิชาการ
- Conference on Law and Equity: Approaches in Roman Law and Common Law, School of Law, University of Leiden, The Netherlands, 16th December 2011.
- Can we apply Stair’s Theory of Contract to modern contract law?, Glasgow Forum for Scots Law, University of Glasgow,1st December 2011.
- Reforming Private Law, Glasgow Forum for Scots Law, University of Glasgow, 3rd November 2011.
- UK Codification of Commercial Law: The Funds-Attached Rule in comparative perspective, Glasgow Forum for Scots Law, University of Glasgow, 27th October 2011.
- Round-table discussion on The Future of Comparative Law in Scotland, Scottish Association for Comparative Law, University of Glasgow, 29th September 2011.
- Scottish Legal History Conference, Civil Law Centre, University of Aberdeen, 29th July 2011.
- Workshop on Promises and Contract Law, Edinburgh Centre for Private law, The University of Edinburgh, 21st March 2011.
- Workshop on “The Role of Consent in Contract Law: Principles and Practice”, Centre for Commercial Law, The University of Edinburgh, 7th December 2009.
- Principles of European Contract Law (PACL) Forum, Keio University, Tokyo, 26-29 May 2016
- Principles of European Contract Law (PACL) Forum, Seoul, 10-12 November 2017
- Principles of European Contract Law (PACL) Forum, Keio University, Tokyo, 26-28 March 2018
- Principles of European Contract Law (PACL) Forum, Seoul, 13-15 January 2019
- Principles of European Contract Law (PACL) Forum, Cyberjaya, Malaysia, 1-3 November 2019
การนำเสนอผลงานทางวิชาการ
- Gratuitousness of Scots unilateral promise, Scots Law Research Conference 2012, School of Law, The University of Edinburgh, 8th June 2012.
- An overlap between offer and promise as explained by Stair, Scots Law Discussion Group Spring 2012, School of Law, The University of Edinburgh, 27th March 2012.
- A comparative study of promise in Thai law, Scots law and the Draft Common Frame of Reference (DCFR), 3rd Year PhD Presentation, School of Law, The University of Edinburgh, 20th January 2012.
- Promise as distinct from contract: An example of Scottish contract theory, Doctoral Colloquium, School of Law, The University of Edinburgh, 13th January 2012
รางวัล
- Highly Commended, The Anglo-Thai Society Educational Award 2013 (Humanities and Social Science)