กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส
รองศาสตราจารย์ ดร.
กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส
รองศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส เริ่มต้นเข้าสู่วงวิชาการนิติศาสตร์ ด้วยการเข้าเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2551 โดยสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) และนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จหลักสูตรเนติบัณฑิตไทยและหลักสูตรการเป็นทนายความ จากนั้นได้รับทุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักร กระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศจาก London School of Economics และระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจาก Durham University รวมทั้งได้รับทุนในปี ค.ศ. 2012 เพื่อเข้าร่วมการอบรมสัมมนากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ของสถาบัน The Hague Academy of International Law ณ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
สาขาวิชาที่ทำการสอน ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ กฎหมายซื้อขาย และกฎหมายอาเซียน ซึ่งนอกเหนือจากการศึกษาและการวิจัยทางด้านกฎหมายโดยเฉพาะในสาขาดังกล่าวแล้ว อาจารย์กิตติวัฒน์ ยังได้ให้ความสนใจและเข้าร่วมในโครงการศึกษาวิจัยในเชิงสหวิทยาการอีกด้วย เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการและการอำนวยความสะดวกทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน
ตัวอย่างเอกสารตีพิมพ์ของ อาจารย์กิตติวัฒน์ ได้แก่ หนังสือกฎหมายขัดกันฉบับแปลจากภาษาไทยของศาสตราจารย์คนึง ฦาไชย เป็นภาษาอังกฤษ (Kanung Lachai on Thai Conflict of Laws, 2018) บทความในหนังสือภาษาอังกฤษว่าด้วยกฎหมายขัดกันในบริบทของ China’s One Belt One Road Initiative เชื่อมโยงกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียน (Routledge, 2018) และหนังสือเรื่องการประสานกฎหมายพาณิชย์ระหว่างประเทศ (ธรรมศาสตร์, 2562) และหนังสือคำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1: การขัดกันแห่งกฎหมาย (ธรรมศาสตร์ 2564)
ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส ยังได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งทางบริหารของคณะนิติศาสตร์และของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยคณบดีรับผิดชอบงานด้านกิจการนักศึกษา และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ
ตำแหน่งปัจจุบัน:
- อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ และศูนย์กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ) - ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การศึกษา
- Doctor of Philosophy in Law, Durham University, UK (2015)
- LL.M. (International Business Law) with Merit, London School of Economics and Political Science (LSE), UK (2011/2012)
- Certificate in Private International Law, The Hague Academy of International Law (2012)
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2551)
- เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 59 (2549/2550)
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2548/2549)
หัวข้อ
วิทยานิพนธ์
- Conflict of Laws for the Assignment of Receivables: From a Property-contract Approach to a Rights-based Approach (Ph.D. Thesis, Durham)
- เขตอำนาจศาลคดีแพ่งและพาณิชย์ในไซเบอร์สเปซ: ศึกษาในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ประสบการณ์
การทำงาน
- อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2551-ปัจจุบัน)
- ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564-2567)
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2562-2564)
- ผู้ช่วยคณบดีศูนย์รังสิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2559-2562)
- ผู้ช่วยโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรมการโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการเงินการธนาคาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรมการโครงการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนกฎหมายระดับมัธยมศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม (2550)
สาขาที่สนใจ
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
- กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ
- กฎหมายอาเซียน
- การประสานกฎหมาย
หลักสูตร
ที่สอน
- เอกเทศสัญญา
- สัญญาทางพาณิชย์
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
- กฎหมายเกี่ยวกับการเงินในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ
- กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ
- กฎหมายอาเซียน
ผลงาน
ทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการ ภาษาไทย
- คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 2: วิธีพิจารณาความระหว่างประเทศ (มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ 2567)
- คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1: การขัดกันแห่งกฎหมาย (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564)
- “แนวทางในการพิจารณาและเตรียมความพร้อมทางด้านกฎหมายของประเทศไทยสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยข้อตกลงเลือกศาล ค.ศ. 2005: ศึกษาวิเคราะห์มาตราในเชิงเนื้อหาเป็นรายมาตรา (มาตรา 1-15)”, วารสารนิติศาสตร์ 49, 2 (2563) 213-250
- ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยการประสานกฎหมาย: ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวด้วยกฎหมายพาณิชย์ระหว่างประเทศ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562)
- “การยกเลิกหลักการย้อนส่งในการขัดกันแห่งกฎหมาย”, วารสารนิติศาสตร์ 46, 1 (2560) 69-115
- “ข้อตกลงเลือกศาลตามอนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 2005: ส่วนศึกษาทั่วไป”, วารสารนิติศาสตร์ 45, 4 (2559) 960-989
- “ข้อสังเกตบางประการในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล”, วารสารนิติศาสตร์ 42, 4 (2556) (ร่วมกับ ดามร คำไตรย์) 1044-1062
- “บันทึกกระแสการศึกษาพัฒนากฎเกณฑ์ทางกฎหมายในสังคมเปิดกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล” โครงการวิชาการรำลึก TU Law Conference ชุด ศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย, 12 มกราคม 2556
- “สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก: The UNIDROIT Principles of International Commercial Contracts 2004 กับกฎหมายไทย”, วารสารนิติศาสตร์ 39, 2 (2553)
- เขตอำนาจศาลคดีแพ่งและพาณิชย์ในไซเบอร์สเปซ: ศึกษาในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ, 2552
- “ความเบื้องต้นว่าด้วยการประสานกฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย”, วารสารรพี (2551)
ผลงานทางวิชาการ ภาษาต่างประเทศ
- “Legal considerations and challenges involved in bringing the 2005 Hague Convention on Choice of Court Agreements into force within an internal legal system: A case study of Thailand” (2021) 17, 1 Journal of Private International Law 147-170
- Kanung Luchai on Thai Conflict of Laws (English translated version, Duen Tula – Thammasat University 2018)
- “Thai conflict of law rules, China’s One Belt One Road initiative and ASEAN trade facilitation: one common path with many exit routes” in P Sooksripaisarnkit and SR Garimella (eds), China’s One Belt One Road Initiative and Private International Law (Routledge 2018) 164
- Conflict of Laws for the Assignment of Receivables: From a Property-contract Approach to a Rights-based Approach, Ph.D. Thesis, Durham University, 2015
ผลงานวิจัย
- โครงการวิจัย เรื่อง “ความสัมพันธ์และผลกระทบของกฎระเบียบสหภาพยุโรปที่ 1215/2012 ต่อรัฐที่สาม” โครงการวิจัยทางวิชาการนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2567
- โครงการวิจัย เรื่อง “แนวทางในการพิจารณาและเตรียมความพร้อมทางด้านกฎหมายของประเทศไทย สำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยข้อตกลงเลือกศาล ค.ศ. 2005: ศึกษาวิเคราะห์มาตราในเชิงเนื้อหาเป็นรายมาตรา (มาตรา 1-15)” โครงการวิจัยทางวิชาการนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563
- โครงการวิจัยร่วม เรื่อง “นโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาเยาวชนตามกรอบนโยบายความเป็นผู้ประกอบการของ UNCTAD” (Policies and Strategies for Youth Development under UNCTAD Entrepreneurship Policy Framework), สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) – International Institute for Trade and Development (Public Organization), มกราคม 2563
- โครงการวิจัยร่วม เรื่อง “การวิเคราะห์ผลกระทบและการใช้ประโยชน์ความตกลงและกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC)”, สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) – International Institute for Trade and Development (Public Organization), สิงหาคม 2561
- โครงการวิจัยร่วม เรื่อง “การจัดทำรายละเอียดทางเทคนิคเพื่อเป็นแนวทางในการออกกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559”, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, 2560
- โครงการวิจัย เรื่อง “การยกเลิกหลักการย้อนส่งในการขัดกันแห่งกฎหมาย: ความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี และในทางปฏิบัติ”, โครงการวิจัยทางวิชาการนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559