สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ หัวข้อ “สิทธิมนุษยชน สิทธิในสุขภาพ และโควิด-19” จัดโดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลร่วมกับศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และถ่ายทอดสดทาง Facebook Page : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวต้อนรับโดย
- Mr Giuseppe Busini รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
- ศ.ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวเปิดงานเสวนาโดย ดร.เสรี นนทสูติ สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
นำเสนอรายงานไอซีเจโดย คุณ Timothy Fish Hodgson ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
วิทยากรโดย
- คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
- ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คุณนัยนา ธนวัฑโฒ ผู้อำนวยการ Asylum Access Thailand
- ดร.ศิวนุช สร้อยทอง นักกฎหมายบางกอกคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คุณนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา
- คุณสืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ดำเนินรายการโดย คุณชลธาร ทรัพย์ไพบูลย์เลิศ
สรุปความ (ภาษาไทย) โดย นายวัฒนกร อุทัยวิวัฒน์กุล นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สรุปความ (ภาษาอังกฤษ) โดย นายกรณัฐ จันทร์วีระเสถียร นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคปกติ ศูนย์รังสิต
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Mr Giuseppe Busini รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (กล่าวต้อนรับ) :
Mr Busini recalled that the EU has a strong commitment to promote and protect human rights, democratic governance and rule of laws everywhere in the world. He stressed that, even with the COVID-19 pandemic, civil rights, social rights and individual freedoms must be guaranteed. The European commitment to promoting human rights is backed up by the EU instruments for democracy and human rights programme since 2007. The EU has been working with the International Commission of Jurists (ICJ) since 2015 to build capacities of key government agencies including law enforcement to prepare them to effectively implement Thailand’s human rights’ obligations. Now, Thailand has been working quite well in handling Covid-19, in public health point of view. However, there are some social and economic implications as a consequence of this. For instance, there is a prediction of decreasing Thai’s GDP. Additionally, it would be difficult for those in vulnerable groups and those who affected by the lock-down and so-called new normal.
Mr Busini summarised the three main projects that the EU have done for Thailand. Firstly, the EU has rearranged some of its programmes to provide access to information and PPE equipment, especially in the Southern part of Thailand. Secondly, the EU has been strengthening research and systems. For instance, the EU is about to start the project on funding the WHO focusing on the migrant workers in the healthcare systems. Thirdly, the EU is addressing the social and economic consequences of the crisis. The EU is supporting social and economic recovered process through ongoing new projects such as the project on safeguarding rights of women migrant workers. To conclude, the EU is promoting human rights, good governance, the rule of laws, gender quality and non-discrimination, decent working conditions and fundamental values for all.
ศ.ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กล่าวต้อนรับ) :
Professor Thirawat provided the keynote for the seminar. He said that the COVID-19 outbreak leads to lasting impacts on all aspects of society and livelihood. Specifically, the governments around the world have been challenged to keep their people protected in light of an unprecedented crisis including implementing several measures to mitigate and combat the effects emerging from this global pandemic. He also addressed that human rights and the right to health need to be recognised and Thailand must try in its utmost capacity to ensure the respect of these fundamental rights of all individuals.
ดร.เสรี นนทสูติ สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (กล่าวเปิดงานเสวนา) :
His speech began with the relationship between the pandemic and human rights. He recalled the rights enshrined in the International Covenant on Economic Social and Cultural Rights (ICESCR). He noted that seven out of ten ASEAN member states including Thailand are the parties of this covenant and all ASEAN member states adopted the ASEAN Human Rights Declaration which mirrors the provisions of the covenant. Therefore, all ASEAN member states are obliged to make these rights real.
Dr Nonthasoot focuses on the three main rights specified in the ICESCR, namely the right to health, the right to food and the right to work.
In terms of the right to health, he referred to Article 12 of the ICESCR which stated that everyone is entitled to the highest attainable standard of physical and mental health including the control and prevention of epidemic, pandemic, occupational and other diseases. He said that the right to health includes a wide range of economic and social conditions in which people can lead to a healthy life and extended to the underline determinants of health such as food and nutrition, housing, access to safe and potable water, safe and healthy working conditions and a healthy environment. There is also the pronouncement of the co-obligations of Article 12 which mandate states; (i) To ensure the rights of access to health facilities, goods and services on a non-discriminatory basis, to ensure access to minimum essential and nutritionally food, and to ensure the freedom from hunger for everyone, ensure access to basic shelter, housing and sanitation, (iv) To provide essential drugs, (v) To ensure equitable distribution of health facilities, goods and services, and (vi) To adopt and implement a national health strategy and plan of action. Economic, social and political rights differ from political and civil rights. They depend on progressive realisation based on available resources. However, if the resources rendered impossible for the state to comply fully with these obligations, it has the burden to show that every effort has been made to use all available resources to satisfy the core obligations above. In his view, mental health received much less attention during this pandemic than it deserves. Unlike other impairments, mental health issues are not adequately manifested. There is no comprehensive data on how many people have suffered from mental health issues. It is certain that the social isolation, abrupted unemployment, anxiety and distancing are the fertile grounds for mental anguish.
In terms of the right to food, he referred to Article 11 of the ICESCR related to the right to an adequate standard of living for all. According to General Comment No.12 published in 1999. Committee announces that the right to adequate food obliges every state to ensure that everyone under its jurisdiction has the access to minimum essential food and free from hunger. He stressed that access to food is the prerequisite of good health and wellbeing of everyone. He recalled the warnings from the secretary-general of the UN in June 2020 regarding the food emergency and from the Food and Agriculture Organization regarding the shortage of global supply as a result of COVID-19. He also pointed out that severe food shortages can also lead to social unrest.
In terms of the right to work, he referred to Article 6 and Article 7 of the ICESCR on the right to and the right to just and favourable working conditions. He also referred to a closely related right which is the right to social security prescribed in Article 9. These rights were mentioned in General Comments No.13, 19, and 23. He pointed out the negative results from the lockdown and social distancing measures. In order to prevent infection, closure of physical offices has become necessary. This resulted in massive unemployment and the shift in the pattern of work. A digital workplace which was expected to take place in the next ten years is now common reality. COVID-19 has accelerated systematic deployment of artificial intelligence and data analytic which replaced low-skilled workers. The human rights standard for this issue is highly dynamic. The interrelation between the right to employment and access to social security has become evident more than ever. The lockdown that prevents further spread of the virus has led to the collapse of employment in many sectors particularly hotel and tourism.
Dr Nonthasoot also presented the lessons that can be unpacked from Thailand. As Thailand is internationally recognised in managing the epidemic successfully, He stressed that this success of Thailand stems from initial mistakes and agile adjustments. In his view, the strength of the Thai system can be attributed to several factors.
The first factor is policy coherence and coordination. The Thai government has listened to advice from medical experts since the beginning of the outbreak when there were more than 1,600 people infected with COVID-19 in the country. The government set up the Centre for COVID-19 Situation Administration (CCSA) to take full command of pandemic control including health screening of inbound and outbound travellers, risk assessments, and social distancing guidelines in public spaces. CCSA also streamlines information and curve fake news on the disease.
The second factor is the conducive healthcare system. Thailand has benefited from its investment in the healthcare system. Specifically, the universal health coverage has been instituted since 2002 has provided access to the reliable healthcare system to Thai people. Additionally, there is a robust network of frontline professionals in Thailand. In addition, to doctors and nurses, there are one million health volunteers in every province of Thailand. Further, Thailand non-discrimination policy against migrant workers allows them to access healthcare and the treatment programme. Furthermore, Thailand adopted multiple measures aims to sustain the livelihood of people including a monthly allowance for the affected individuals, programme for the SMEs and allowance for people with disabilities. Lastly, the private sectors participate in many ways such as adjusting their production line to produce medical or face masks, and the PPEs. Many private companies have also donated general supply to hospitals and the public.
Then, Dr Nonthasoot summarised with the way forward. He mentioned that there is a need for cooperation in order to produce the COVID-19 vaccine for the global common good. The issues of measures to protect life and health must be planned and implemented. Safeness should be rethought to put it in place in advance, instead of an afterthought. Additionally, he added that the root cause of the pandemic should be addressed and concerned. In his view, the issue of hygiene and satiation that prevent infections should be taken more seriously. Further, partnership and innovation with the private sectors should be fostered to help ease the public burden of governments around the world. Furthermore, international and regional cooperation to address COVID-19 is also necessary.
Mr Timothy Fish Hodgson ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (นำเสนอรายงานไอซีเจ) :
Mr Hodgson provided information about impacts of the COVID-19 pandemic on human rights, as presented in the ICJ Report titled “Living Like People Who Die Slowly: The Need for Right to Health Compliant COVID-19 Responses.” He stressed that the governments’ measures such as national lockdown and emergency measures which aim to protect public health have to realise the obligations of states in terms of the right to health. These measures have to respect human rights such as the right to freedom of movement, the right to equality and the right to live. Before getting to the points where the restrictions limit other rights, these measures must comply with the international public health and realisation of the right to health.
Mr Hodgson points out that there are systemic challenges that not enough measures have been taken to handle the right to health before COVID-19. It is important in the context of Thailand, more measures need to be taken to protect the right to health because the system of healthcare is not adequate for everyone, especially for the vulnerable and marginalised group of people. The UN committee also made that point that the state emergency measures have impacted on the full enjoyment of economic, social and rights in the context of Thailand.
He said that civil and social rights cannot be separated from economic, social and rights. If there is no right to protest or freedom of expression (if the complaint of rights is impossible), it is not easy to enjoy other rights in the country. From the report, there is a violation of one type of right in the economic and social ambits in the interconnection with the right to health.
He examined the issue of vaccines through the lens of private-sector obligations. Many countries around the world are increasing privatisation of services such as private supermarket, school and hospitals. These entities have delivered services on economic and social rights. Thus, they have to comply with certain obligations and responsibilities in term of these rights. The report reveals that there has been a struggle for the state to get private healthcare entities to comply with human rights obligations. When it comes to the vaccine, the government has supported private health companies to produce and develop the vaccine. Then, the companies might sell the vaccine at an unaffordable price. The UN rapporteurs on health called the private companies to ensure that their production of the vaccine does not harm human rights and they called on states to make use of mechanisms including WTO trade obligations to allow for the distribution of vaccines. The distribution of vaccines is also important for marginalized people including indigenous persons, women, persons with disabilities, older persons, minority people, persons in detention, homeless persons, migrant workers, refugees, and LGBT persons. They are going to be vulnerable to access vaccine when they have a marginal identity and belongs to the marginal group.
He also presented an overview of the ICJ report. The ICJ report did detailed research around the world. This report highlights and explains the trends that cause problems and also the human rights principle that applies to the problems. In many places of the world, people are not used to be treated with equal human rights. He also summarised the common problems among different countries from the reports.
For the non-citizens, refugees and migrants, there has already been unequal access to healthcare for this group of persons. One of the main reasons is that people do not have regularised or relevant documents required to produce to access medical services. There might also be an explicit policy that prevents them to get services. This is obviously a violation of rights. With COVID-19, the situation is becoming worse because healthcare services are more limited. Sometimes, there might be limited access to certain facilities. Additionally, this group of persons has limited access to equal information. They cannot receive information as quickly and accurately as the nationals because they are not speaking the local language. Moreover, they lack access to other measures such as social assistants or funding.
For the older persons (over sixty-year-old), they tend to have already had previous concerning health problems. Additionally, they are more vulnerable to the virus. In many countries issued the lockdown measures to protect the older people. There are rules for older people when it comes to going outside, working and exercising. These rules can affect their physical and mental health.
For the persons in the facilities including prisoners, non-citizens in camps, persons in old age facilities, they are more vulnerable to the virus. They also lack access to proper treatments and screening measures. There might be discriminatory treatments towards these vulnerable groups of persons when the hospital nearly reaches its full capacities. The perception is the hospital would rather help the persons with younger age, the persons without disabilities. In some countries, there is an increased risk of infection in the facilities.
For the LGBT persons, it is quite hard to look at the full impacts on them. They might find it harder to access healthcare and other services. The legal framework of certain countries limited them to step forward to get healthcare. There are many healthcare services that the LGBT persons might need more such as gender transitioning and reproductive services.
For persons with disabilities, they are more likely to be infected by COVID-19. They have already got a high risk of serious illness and death than normal persons. Also, the rights of persons with mental health problems are violated. The officials tend not to provide special assistants to this group of persons on the issue of COVID-19. There is discrimination in access to treatments and to information such as in alternative means of translation. The support measures often involve the support workers such as the interpreters. This makes social-distancing adjustment harder for them. Most of the social lockdown measures did not concern such special needs.
For healthcare workers, they might not be able to get enough protection equipment. They also at high risk to be infected because they are working closely with the persons who had COVID-19.
For the sex workers, they are at risk of violation of right, as they did not get enough protection and care. It is difficult for them to make their living. In a country like Thailand, they are at a greater risk to get arrested.
For women and girls, it links to the discriminations against women and girls. With the lockdown measures, they are more likely to face gender-based violence by other members in the same household. It is also hard for them to get access to healthcare services. Additionally, they also get problems related to education right.
Mr Hodgson summarised that of the report looks through the human rights lens to examine the disproportionate impacts of COVID-19 on certain vulnerable and marginalised groups of persons around the world. He said that the laws, the legal systems and the protections that are put in place must be capable of preventing problems that exist in other places. Thailand is successful in controlling the infection of the disease. However, there might be another outbreak and it might be a lack of preparation. It is important for all country to continue to pay attention to human rights standards and all of the risks to prevent human rights violations, especially to vulnerable and marginalised groups of persons all around the world. He asserted that the full realisation of economic and social rights as important in democracy around the world is essential for the future that this human rights crisis like this will have less severe impacts.
คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (วิทยากร) :
กล่าวว่า เดิมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2559 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักอัยการสูงสุด แต่ในปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2542 และมีผลใช้บังคับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีประเทศทั่วโลกเข้าเป็นภาคีทั้งหมด 171 ประเทศ
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลได้ช่วยเหลือประชาชนในเรื่องการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ โดยภาพรวมสามารถแบ่งออกเป็น 5 สิทธิ ดังนี้
(1) สิทธิการทำงาน กระทรวงแรงงานได้ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว แรงงานไทยที่อยู่ในประเทศ แรงงานไทยที่อยู่นอกประเทศ เช่น การขยายระยะเวลาให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราว การอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานต่างด้าวในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยเฉพาะการตรวจหาเชื้อโควิด-19 การอำนวยความสะดวกให้แรงงานไทยในต่างประเทศสามารถกลับประเทศไทยได้ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักแรงงานต่างประเทศกับกระทรางต่างประเทศ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือนายจ้างหรือสถานประกอบการด้วย เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม การยกเว้นค่าเช่าที่ราชพัสดุสำหรับผู้เช่าที่เช่าเพื่อดำเนินธุรกิจ การผ่อนปรนดอกเบี้ยเงินกู้ การลดหรือยกเว้นภาษีให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังช่วยจัดหางานให้แก่ลูกจ้างที่ตกงาน และช่วยพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงาน เช่น พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะการซื้อขายและการค้าขายทางออนไลน์
(2) สิทธิด้านสุขภาพ รัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถตรวจโรคได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงยารักษาโรคทั่ว ๆ ไปได้ เช่น คนที่อยู่ต่างจังหวัดไม่ต้องเดินทางมารับยาในเมือง เพราะรัฐออกมาตราการให้สามารถรับยาในท้องที่ที่ตนเองอยู่อาศัยได้
(3) สิทธิด้านการศึกษา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้โรงเรียนต้องหยุดทำการเรียนการสอน โรงเรียนหลาย ๆ แห่งจึงปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นทางออนไลน์ หรือหากมีการสอนที่โรงเรียนก็ต้องให้นักเรียนสลับวันกันไปเรียนและต้องจัดโต๊ะตามมาตราการ Social Distancing นอกจากนี้ รัฐบาลได้ช่วยเหลืออุปกรณ์ด้านการศึกษาและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดแทรกความรู้เรื่องโควิด-19 เข้าไปในบทเรียน
(4) สิทธิในครอบครัว เช่น รัฐบาลออกมาตราการช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภคโดยการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ การคืนเงินประกันค่าน้ำ-ค่าไฟ การลดค่าเช่าในที่ราชพัสดุเพื่อการอยู่อาศัย การเพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น
(5) สิทธิทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ รัฐบาลมีการออกมาตราการต่าง ๆ เช่น มาตราการคัดกรองสุขภาพในที่สาธารณะโดยต้องตรวจวัดอุณหภูมิและลงทะเบียนตามจุดต่าง ๆ ก่อนเข้าอาคาร มาตราการช่วยเหลือศาสนสถานโดยการบริจาคสิ่งของจำเป็นและอาหารให้แก่วัด มาตราการเยียวยาเครือข่ายทางวัฒนธรรมช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ มาตราการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาชุดตรวจและวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 เป็นต้น
ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยากร) :
กล่าวว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับหนึ่ง เพื่อป้องกันสิทธิและการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยสังคมต้องออกแบบให้คนพิการใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและมีสิทธิเลือกใช้ชีวิตได้ตามเจตจำนงของตนเอง ซึ่งองค์การระหว่างประเทศมีการกล่าวถึงสิทธิของคนพิการอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าคนพิการต้องไม่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง อย่างไรก็ดีจากสถานการณ์โควิด-19 พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแก่กลุ่มคนพิการ ดังนี้
ปัญหาแรก โดยปกติคนพิการมีสิทธิได้รับโควต้าในการทำงาน แต่คนพิการบางกลุ่มเลือกประกอบอาชีพที่อิสระ เช่น ทำอาชีพนวดแผนไทย เป็นนักร้องนักดนตรีอิสระ ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 สถานประกอบกิจการนวดแผนไทยถูกปิด คนพิการที่ทำอาชีพนวดแผนไทยไม่สามารถไปทำงานได้ ทำให้ขาดรายได้ในการใช้ชีวิต หรือกรณีนักร้องนักดนตรีอิสระ คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้านทำให้ไม่มีประชาชนมาฟังการแสดงดนตรี ส่งผลให้ขาดรายได้ หรือกรณีคนพิการที่ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเลื่อนการประกาศผลสลากกินแบ่งออกไป 3 งวดหรือเป็นระยะเวลา 1 เดือนครึ่งทำให้คนพิการขาดรายได้ แม้ว่ารัฐบาลจะออกโครงการเราจะไม่ทิ้งกัน แต่กลุ่มคนพิการบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงมาตราการเยียวยานี้ได้เพราะไม่สามารถกรอกข้อมูลได้ด้วยตนเอง ดังนั้น สมาคมสำหรับคนพิการจึงต้องเข้ามาช่วยเหลือผู้พิการเพื่อให้สามารถกรอกข้อมูลต่าง ๆ ได้
ปัญหาที่สอง จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รัฐบาลต้องปรับเบี้ยเพิ่มขึ้นให้แก่คนพิการจาก 800 บาท เป็น 1,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้เฉพาะคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและต้องผ่านคุณสมบัติการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ คือ มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ส่งผลให้คนพิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการปรับเบี้ยเพิ่มขึ้น จึงเกิดคำถามว่านโยบายที่เอาเกณฑ์เรื่องอายุมาใช้เป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็เป็นคนพิการเหมือนกัน ภายหลังจากที่รัฐบาลตรวจสอบแล้วพบว่านโยบายนี้ทำให้คนพิการร้อยละ 45 ของคนพิการทั้งหมดจะไม่ได้รับเบี้ยเพิ่ม จึงเปลี่ยนนโยบายใหม่ให้เงินช่วยเหลือคนพิการ 1,000 บาท 1 ครั้ง และปรับเบี้ยจาก 800 บาทเป็น 1,000 บาทต่อเดือนให้แก่คนพิการทุกคนที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่านโยบายเดิม รัฐขาดความรอบคอบและไม่ศึกษาข้อมูลให้เพียงพอก่อนออกนโยบาย
ปัญหาที่สาม เรื่องการจ่ายเงินให้แก่คนพิการ คือ คนพิการที่จะรับเงินจากรัฐต้องมีสมุดบัญชีธนาคาร แต่หลาย ๆ ธนาคารไม่ให้คนพิการเปิดบัญชีด้วยตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนพิการ ทำให้การขอเปิดสมุดบัญชีธนาคารต้องมีคนอื่นเปิดบัญชีให้ หรือกรณีคนพิการที่มีบัตร ATM แต่ตู้กดเงินไม่เอื้ออำนวยแก่คนพิการ เช่น บางตู้มีขั้นบันได ทำให้คนพิการที่นั่งรถเข็นไม่สามารถกดเงินได้ หรือบางตู้เปลี่ยนจากปุ่มกดเป็นระบบหน้าจอสัมผัส ทำให้ผู้พิการทางสายตาไม่สามารถคลำปุ่มกดได้แบบเดิม จึงไม่สามารถกดเงินได้
ปัญหาที่สี่ เรื่องสิทธิด้านสุขภาพ คือ รัฐกำหนดให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่สำหรับคนพิการที่บกพร่องทางการได้ยิน บางคนต้องอ่านรูปปากของคนที่คุยด้วย ซึ่งการใส่หน้ากากเป็นการปิดบังปากทำให้คนพิการบางคนอ่านรูปปากไม่ได้ จึงขาดความสะดวกในการสื่อสาร ทั้งนี้ ในต่างประเทศมีการออกแบบหน้ากากอนามัยให้โปร่งใส่ตรงบริเวณริมฝีปากเพื่อให้ความสะดวกในการสื่อสารกับคนพิการ แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ค่อยเห็นการใช้หน้ากากโปร่งใส่มากนัก นอกจากนี้คนพิการบางกลุ่มไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ เช่น คนออทิสติก คนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง คนกลัวการอยู่ในที่แคบซึ่งต่างประเทศจัดเป็นคนพิการ เป็นต้น
ปัญหาที่ห้า เรื่องสิทธิในการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือการจัดสอบวัดระดับ บางครั้งสร้างความไม่สะดวกให้แก่กลุ่มคนพิการ สถานศึกษาหรือรัฐบาลควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องมือโปรแกรมต่าง ๆ ให้แก่คนพิการเป็นการเฉพาะ
คุณนัยนา ธนวัฑโฒ ผู้อำนวยการ Asylum Access Thailand (วิทยากร) :
กล่าวว่า กลุ่มผู้ลี้ภัยมีคำจำกัดความอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ซึ่งต้องเป็นผู้ทิ้งประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองมาเพราะถูกคุกคามหรือมีความหวาดกลัวว่าจะได้รับอันตรายแก่ชีวิต อันเป็นผลมาจากเชื้อชาติที่แตกต่างกับคนส่วนใหญ่ในประเทศ ศาสนาที่นับถือแตกต่างกับศาสนาหลักของประเทศ การเป็นสมาชิกของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่ม LGBT ที่บางประเทศถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เป็นต้น เมื่อมีความแตกต่างและรัฐบาลไม่ได้ให้ความคุ้มครอง จึงทำให้กลุ่มผู้ลี้ภัยต้องหนีออกมาจากประเทศที่ตนอาศัยอยู่เพื่อหาที่ที่ปลอดภัย การเป็นผู้ลี้ภัยจึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ลี้ภัยเอง แต่เป็นการถูกบังคับให้ต้องหนีออกมาเพื่อเอาชีวิตรอด
สำหรับประเทศไทย มีองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ลี้ภัย คือ UNHCR ซึ่งผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยมีประมาณ 97,000 คน กระจายตัวอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนและในกรุงเทพหรือเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยในเมืองส่วนใหญ่จะมาจาก 40 ประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศปากีสถาน ประเทศเวียดนาม ประเทศโซมาเลีย ประเทศอิรัก ประเทศซีเรีย ประเทศจีน ประเทศมองโกเลีย เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนกับองค์กร UNHCR ในปัจจุบันมีจำนวน 5,000 คน ซึ่งการลงทะเบียนกับ UNHCR ไม่ได้หมายความว่าจะได้เป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมาย กล่าวคือ การลงทะเบียนจะทำให้อยู่ในฐานะผู้แสวงหาที่พักพิงอาศัยเท่านั้น แล้วต้องทำการติดต่อขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัยอีกที เพราะประเทศไทยไม่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ในทางปฏิบัติการลงทะเบียนกับ UNHCR ไม่ค่อยส่งผลต่อสถานะผู้ลี้ภัยเท่าไหร่นัก ผู้ลี้ภัยจึงมีสถานะไม่ต่างอะไรกับผู้เข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกตรวจจับจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอยู่เสมอ ดังนั้น ความเปราะบางของกลุ่มผู้ลี้ภัย คือ การไม่มีสถานภาพทางกฎหมาย จึงเสี่ยงต่อการถูกจับและการถูกคุมขัง ทำให้ต้องแอบลักลอบทำงานเป็นลูกจ้างผู้ถูกใช้แรงงาน ทั้ง ๆ ที่ผู้ลี้ภัยบางคนมีความรู้และมีความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างอื่น เช่น เป็นครู เป็นนักกฎหมาย เป็นต้น
เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ปัญหาของกลุ่มผู้ลี้ภัย คือ ผู้ลี้ภัยที่ต้องการตรวจเชื้อโควิด-19 สามารถขอตรวจเชื้อได้ แต่ต้องออกค่าใช้จ่ายเองตามปกติ ซึ่งการตรวจก็มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ลี้ภัยจำนวนมากไม่ได้มีทุนทรัพย์มากพอที่จะตรวจได้ เว้นแต่หากพบว่าติดเชื้อโควิด-19 จริง รัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้ หรือผู้ลี้ภัยบางคนมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่ไปตรวจเพราะกลัวว่าจะถูกจับ
ปัญหาต่อมา คือ เรื่องการเข้าถึงสื่อหรือข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการป้องกันเชื้อโควิด-19 ข้อมูลเรื่องมาตราการ Social Distancing เพราะผู้ลี้ภัยมีข้อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลภาษาไทย หน่วยงานภาคเอกชนจึงต้องเข้ามาช่วยเหลือผู้ลี้ภัยให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ WHO มาทำเป็นสื่อให้แก่กลุ่มผู้ลี้ภัยตามภาษาของผู้ลี้ภัยเอง
จากการสำรวจผู้ลี้ภัยจำนวน 47 คนของ Asylum Access Thailand เมื่อเดือนพฤษภาคม พบว่า (1) 85% ของผู้ลี้ภัยตกงานเพราะสถานประกอบกิจการปิด ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร สถานที่ก่อสร้าง ทำให้ผู้ลี้ภัยขาดรายได้ หน่วยงานภาคเอกชนจึงต้องเข้ามาช่วยแจกสิ่งของและเงินสดให้ (2) 47% ของผู้ลี้ภัยต้องไปกู้ยืมเงินเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว (3) 92% ของผู้ลี้ภัยมีภาวะความเครียดเพราะคิดว่าเป็นโควิด-19 แล้ว จะต้องตาย หรือเครียดเพราะไม่ทราบวิธีในการป้องกันและกระบวนการรักษาโรค (4) 62% ของผู้ลี้ภัยต้องลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวลง ต้องใช้ของให้น้อยลงและใช้ของซ้ำมากขึ้น ไม่ซื้ออาหารที่มีราคาแพง บางครอบครัวผู้ใหญ่ต้องลดจำนวนมื้ออาหารเพื่อให้เด็กในครอบครัวสามารถกินอาหารได้ครบมื้อตามปกติ
ดร.ศิวนุช สร้อยทอง นักกฎหมายบางกอกคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยากร) :
กล่าวว่า กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม (Indigenous People) เช่น มานิ(ซาไก) ชาวเล มลาบรี เป็นกลุ่มคนเหมือนคนทั่วไปที่ต้องการมีสิทธิในสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยประเทศไทยมีกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 70 และมีพ.ร.บ.คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 รับรองหลักการดังกล่าวไว้
สำหรับกลุ่มชนพื้นเมืองมานิ (ซาไก) มีรูปแบบการอยู่อาศัย 3 แบบ ได้แก่ แบบที่หนึ่งกลุ่มที่อยู่ในป่าลึกและมีวิถีชีวิตตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการอยู่อาศัยรูปแบบนี้มีจำนวนน้อยลง เพราะความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ค่อย ๆ ลดลง แบบที่สองกลุ่มที่มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งป่า คือ อยู่ติดกับธรรมชาติ แต่ก็มีการเรียนรู้หรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนเมือง และแบบที่สามกลุ่มแบบเมือง กลุ่มนี้จะไม่คอยเห็นวัฒนธรรมการอาศัยอยู่กับป่าแล้ว เพราะเป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตเหมือนกับคนเมือง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้มีการสอบถามปัญหาของกลุ่มชนพื้นเมืองมานิ (ซาไก) พบว่า (1) มีกลุ่มคนบางส่วนหนีเข้าป่าไปเพื่อให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด-19 (2) คนจำนวนหนึ่งไม่มีอาหารกิน เพราะเดินทางไปไหนไม่ได้และป่าขาดความอุดมสมบูรณ์ (3) ไม่สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิตามมาตราการเยียวยาของรัฐได้ เพราะข้อมูลมีจำนวนมากและต้องลงทะเบียนหลายขั้นตอน (4) คนบางส่วนตกงาน เพราะธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศซบเซา ทำให้ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว
ส่วนกลุ่มชาวเล เมื่อเดือนสิงหาคมได้ทำการสำรวจปัญหาของกลุ่มชาวเล พบว่า (1) ขาดอาหารหรือข้าวสำหรับการยังชีพ (2) ขาดแคลนน้ำและน้ำมีความสกปรก (3) ไฟฟ้ามีราคาสูง (4) ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ที่อยู่อาศัย (5) บ้านพุผังจนอยู่อาศัยไม่ได้ (6) ตกหล่นจากบัตรสวัสดิการรัฐ (7) ไม่มีสุสานฝังศพของบรรพาบุรุษ (8) ไม่มีค่าเดินทางไปรักษาพยาบาล (9) มีคนป่วยและคนพิการ (10) ออกจากการเรียนกลางคัน (11) พบคนข้ามเพศ (12) พบคนเสมือนไร้สัญชาติจากเมียนมา ซึ่งปัญหาทั้งหมดมีความซับซ้อน โดยเฉพาะมาตราการช่วยเหลือให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ต้องกรอกข้อมูลเยอะ ชาวเลไม่สามารถลงทะเบียนใช้สิทธิได้ด้วยตนเอง หากคนกลุ่มนี้ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดเข้าไปดูแลช่วยเหลือ ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิตามที่ตนเองมีได้เลย ในปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ อยู่ในขั้นของการเจรจากับกระทรวงพัฒนาสังคมว่าควรจัดการปัญหาและเยียวยาในเบื้องต้นอย่างไร
คุณนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (วิทยากร) :
เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทางศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลามีฝ่ายงาน 2 ส่วนที่ช่วยเหลือกลุ่มผู้มีความเปราะบาง คือ (1) ฝ่ายงานด้านการส่งเสริมสิทธิสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ และ (2) ฝ่ายงานด้านสิทธิแรงงานและการต่อต้านการใช้แรงงานบังคับและต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยมีการทำงานวิจัยซึ่งเน้นศึกษากลุ่มแรงงานประมงและแปรรูปสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ทางศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลายังช่วยประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาทจากรัฐบาล
จากงานวิจัยทำให้พบปัญหาว่ากลุ่มแรงงานประมงไม่สามารถเข้าถึงสื่อข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโควิด-19 ได้ เพราะไม่เข้าใจภาษาไทย ทางศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลาจึงนำข้อมูลจาก WHO ที่เป็นสื่อหลากหลายภาษามาช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือกลุ่มชาวประมง และส่งเสริมให้กลุ่มแรงงานสร้างสื่อเฉพาะไว้สำหรับการสื่อสารให้กับเพื่อนแรงงานด้วยกันเอง
ปัญหาต่อมาที่พบ คือ ปัญหาความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนที่เกิดปัญหาการกักตุนหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ ทำให้กลุ่มแรงงานขาดแคลนอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ โดยกลุ่มแรงงานต้องทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ แต่สถานประกอบการกลับให้หน้ากากอนามัยแค่คนละชื้น ทำให้วันอื่น ๆ กลุ่มแรงงานต้องออกค่าใช้จ่ายเพื่อหาอุปกรณ์มาป้องกันเอง ดังนั้น สถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ จึงควรมีมาตราการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้มากกว่านี้ เพื่อให้กลุ่มแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทยหรือแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาสุดท้าย ปัญหามาตราการการคัดกรอง คือ มีแรงงานบางส่วนเดินทางเข้ามาในประเทศ ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้วต้องถูกกักตัว แต่สถานประกอบการไม่มีความพร้อมในการจัดหาสถานที่สำหรับการกักตัวของกลุ่มแรงงาน ทางศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลาจึงต้องเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่ารัฐไม่ควรใช้มาตราการ Lock Down เป็นเวลานาน ๆ จนเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐจึงต้องชั่งน้ำหนักหาความสัมพันธ์ระหว่างมาตราการต่าง ๆ กับสิทธิของประชาชนและไม่ควรใช้ข้ออ้างเรื่องสุขภาพมาเป็นตัวกีดกันสิทธิขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ที่ประชาชนพึ่งมี
คุณสืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วิทยากร) :
กล่าวถึง กลุ่มผู้เปราะบางที่เป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงราย 7 หัวข้อ ได้แก่
(1) ภาพรวมของแรงงานข้ามชาติ กล่าวคือ ในจังหวัดเชียงรายมีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ลงทะเบียนไว้ 24,623 คน ทั้งนี้ ไม่รวมเด็ก ผู้สูงอายุ และแรงงานที่ไม่มีเอกสาร โดยกลุ่มแรงงานข้ามชาตินี้เป็นแรงงานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย เพราะเป็นผู้ที่แทรกซึมอยู่ในสายงานทุกด้าน เช่น คนรับจ้างทำงานบ้าน คนงานก่อสร้าง คนประกอบการเกษตร เป็นต้น
(2) การให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ กล่าวคือ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงราย โดยเป็นการทำงานร่วมกันของฝ่ายวิชาการ NGOs และชุมชนแรงงานข้ามชาติ ซึ่งให้ความช่วยเหลือกลุ่มคน 4 รุ่น ได้แก่ (1) เด็กแรกเกิด (2) คนวัยทำงาน (3) เด็กนักเรียน (4) ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังมีการแจกอาหาร ถุงยังชีพเบื้องต้น เจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนการคัดกรองคนและการวัดไข้ในเบื้องต้นแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่กลุ่มคนในชุมชนและกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ อย่างไรก็ดี ภายหลังภาครัฐได้ให้ความร่วมมือและช่วยสนับสนุนงานดังกล่าวแล้ว
(3) มาตราการของรัฐกับการจัดการปัญหาโควิด-19 มีความลักลั่นและเหลื่อมล้ำ กล่าวคือ รัฐพยายามควบคุมโรคโดยการห้ามคนออกจากบ้าน ห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของในเวลาที่กำหนด จำกัดสิทธิในการเคลื่อนไหวร่างกายของคน เช่น ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม เข้มงวดคนไทย-คนต่างชาติในการเข้าประเทศ ล็อกดาวน์เมือง ออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดพรหมแดนทั่วประเทศ ห้ามเครื่องบินบินเข้า-ออกประเทศ เป็นต้น มาตราการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกิดการตั้งคำถามจากประชาชนได้ว่า รัฐบาลออกนโยบายเพื่อป้องกันการชุมนุมหรือไม่ และการออกมาตราการต่าง ๆ เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนไทย คนต่างชาติ กลุ่มคนVIP หรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติหรือไม่
(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้สถานประกอบการหลายแห่งเลิกจ้างลูกจ้าง ให้ลูกจ้างหยุดงาน ลดเวลาการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของลูกจ้าง โดยหลักการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องทำสัญญาตกลงกันใหม่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หากลูกจ้างไม่ยินยอมตกลงตามสภาพการจ้างใหม่ ก็จะเกิดความบาดหมางกับนายจ้าง หรือหากตกลงยินยอมตามสภาพการจ้างใหม่ ก็ทำให้ลูกจ้างขาดรายได้บางส่วน ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าส่งเงินกลับบ้าน
อย่างไรก็ดี รัฐได้ออกมาตราการเยียวยาต่าง ๆ เช่น มาตราการแรงงานที่ตกงานและมีประกันสังคมสามารถยื่นขอเงินชดเชยการว่างงานได้ แต่ในทางปฏิบัติกลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติบางส่วนไม่มีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยทำให้ไม่สามารถกรอกข้อมูลเพื่อใช้สิทธิเยียวยาได้ หรือมาตราการลดค่าน้ำ-ค่าไฟของรัฐ เจ้าของหอพักของแรงงานข้ามชาติไม่ได้ให้ความสนใจและไม่ลดค่าน้ำ-ค่าไฟให้ ทำให้แรงงานข้ามชาติบางส่วนไม่ได้รับประโยชน์จากมาตราการนี้
(5) ผลกระทบด้านสุขภาพ คือ มีช่องว่างของการให้บริการด้านสาธารณสุข เช่น ด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาษาไทยทำให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เพราะไม่เข้าใจภาษาไทย หรือรัฐไม่แจกหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพราะมองว่าพวกแรงงานข้ามชาติไม่ใช่คนไทย หรือการดูแลของกลุ่มอาสาสมัครจะดูแลสุขภาพให้เฉพาะคนไทยเท่านั้น ส่วนกลุ่มแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการดูแลอย่างที่ควรจะเป็น
(6) ผลกระทบด้านการข้ามพรหมแดน กล่าวคือ เมื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดในประเทศไทยและพม่า รัฐมีการปิดกั้นพรหมแดนระหว่างประเทศ ทำให้แรงงานข้ามชาติที่อยากเข้ามาทำงานในประเทศไทยไม่สามารถเข้ามาได้ และในขณะเดียวกันแรงงานข้ามชาติที่อยากกลับประเทศพม่าของตนก็ไม่สามารถกลับไปได้ จนกระทั่งรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าต้องร่วมมือกันเจรจาและยอมผ่อนผันให้
(7) วิธีคิดของรัฐและสังคมไทย คือ จากการกระทำของรัฐบาลไทยที่ไม่แจกหน้ากากอนามัย ไม่แจกเจลแอลกอฮอล์ ไม่แจกอาหารให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐมองว่ากลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นคนอื่น ซึ่งประเทศไทยต้องการใช้แรงงานของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ แต่เมื่อเกิดปัญหากลับทอดทิ้งและไม่ดูแลกลุ่มแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ โดยรัฐบาลมองว่ากลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นภัยต่อความมั่นคงและเป็นกลุ่มคนที่แพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 สังเกตได้จากการประกาศจำนวนผู้ป่วยของศบค. เช่น ในวันที่ 4 พฤษภาคม ประกาศว่า “ประเทศไทยไม่มีคนไทยติดเชื้อโควิด แต่มีผู้ป่วยรายใหม่ 18 รายที่เป็นคนต่างด้าวทั้งหมด” หรือในวันที่ 28 กันยายน ประกาศว่า “เมียนมา วิกฤต!! พบผู้ป่วยโควิดกว่า 10,000 ราย ศบค. ย้ำ ประชาชน 10 จังหวัดชายแดนเฝ้าระวังการลักลอบเข้าพรหมแดนไทย” การประกาศเช่นนี้เป็นการตีตราว่าคนต่างเป็นคนแพร่เชื้อไวรัส ทำให้คนไทยกลัวและมองว่าแรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มบุคคลอันตราย
ช่วงสุดท้าย ข้อเสนอแนะ
ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยากร) :
กล่าวถึง ข้อเสนอแนะสำหรับกลุ่มผู้พิการ ดังนี้
(1) การออกแบบนโยบายที่เป็นนโยบายกลางของรัฐบาล บางครั้งไม่ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้เปราะบางหลาย ๆ กลุ่ม จึงควรให้กลุ่มผู้เปราะบางเข้าร่วมออกแบบนโยบายของรัฐบาลด้วย
(2) เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 อันเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพ รัฐควรให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายเพราะการเข้าถึงข้อมูลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง
(3) รัฐควรมีมาตราการเยียวยาผลกระทบด้านสุขภาพจากโรคโควิด-19 เช่น เยียวยาปอดของผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย หรือให้ข้อมูลแก่ประชาชนว่าไม่ควรตีตราคนที่เคยติดโควิด-19 และหายแล้วว่าเป็นผู้แพร่เชื้อไวรัส เป็นต้น เพื่อให้คนกลุ่มนี้ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันกับคนในสังคมได้
คุณนัยนา ธนวัฑโฒ ผู้อำนวยการ Asylum Access Thailand (วิทยากร) :
กล่าวว่า อยากให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนมองว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยเป็นคนที่ต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็น กลุ่มผู้ลี้ภัยควรได้รับสิทธิในการอยู่อาศัยในประเทศไทยและมีโอกาสที่จะได้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ ควรให้โอกาสกลุ่มผู้ลี้ภัยสามารถเข้าถึงระบบการสาธารณสุข หลักประกันสุขภาพ ตลอดจนระบบการศึกษาของประเทศไทยด้วย
ดร.ศิวนุช สร้อยทอง นักกฎหมายบางกอกคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยากร) :
กล่าวถึง ข้อเสนอแนะสำหรับกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ภาครัฐบาลไทย ควรทำการสำรวจและทำฐานข้อมูลของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ไม่ว่ากลุ่มชนพื้นมืองจะไร้รัฐหรือไร้สัญชาติหรือไม่ได้ถือบัตรประชาชนของประเทศใดก็ตาม ซึ่งกรมการปกครองกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการควรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเพราะมีหน้าที่โดยตรงตามพ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร และพ.ร.บ.คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
(2) ภาคประชาชน ควรจัดตั้งกองทุนชุมชน เพราะถ้ารอความช่วยเหลือจากภาครัฐฝ่ายเดียว จะไม่สามารถเยียวยาแก้ไขปัญหาได้ทัน หากมีกองทุนของชุมชนจะช่วยลดปัญหาการตกงานได้
(3) ภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ ควรสนับสนุนทุนโดยตรงให้แก่กลุ่มคนที่มีความเปราะบางเพื่อให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ รวมถึงสนับสนุนการสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็งสามารถจัดการปัญหาในสภาวะที่ยากลำบากได้
(4) ภาครัฐระหว่างประเทศโดยเฉพาะอาเซียน ควรมีความตกลงอาเซียนที่ดูแลกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม เพราะกลุ่มคนบางกลุ่มมีความคาบเกี่ยวระหว่างประเทศสองประเทศ เช่น มานิ (ซาไก) บางส่วนเป็นคนมาเลเซียและบางส่วนเป็นคนไทย มีวิถีชีวิตข้ามไปข้ามมาบนเทือกเขาสันกาลาคีรีระหว่าง 2 ประเทศ เป็นต้น
คุณนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (วิทยากร) :
กล่าวถึง ข้อเสนอแนะทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่
(1) รัฐควรจัดบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีความสามารถในการสื่อสารได้หลายภาษากระจายไปตามชุมชนต่าง ๆ เพราะแต่ละเมืองหรือแต่ละชุมชนมีกลุ่มแรงงานข้ามชาติกระจายตัวอยู่ หากมีบุคลากรที่สามารถสื่อสารกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติได้ จะช่วยแบ่งเบางานด้านสาธารณสุขได้มาก อันเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพให้แก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติและประชาชนคนไทยที่อยู่ตามแต่ละชุมชน
(2) รัฐต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจด้านบวกให้แก่ประชาชนว่าไม่ควรตีตราผู้อื่นในด้านลบ
(3) รัฐต้องออกนโยบายให้สถานประกอบการมีความปลอดภัยเพื่อให้กลุ่มคนงานสามารถทำงานได้ และต้องออกนโยบายเกี่ยวกับมาตราฐานของการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกันได้ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่าง จะทำอย่างไรให้คนงานไม่ถูกทอดทิ้ง
(4) รัฐต้องสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร กล่าวคือ จากสถานการณ์โควิด-19 ราคาผักมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านการเกษตร รัฐจึงควรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มแรงงานข้ามชาติสามารถเพาะปลูกใช้รับประทานเลี้ยงดูตนเองได้
คุณสืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วิทยากร) :
กล่าวถึง ข้อเสนอแนะ 5 ข้อ คือ
(1) รัฐต้องให้ข้อมูลข่าวสารของโรคโควิด-19 แก่ประชาชนอย่างครอบคลุมและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย บนพื้นฐานความแตกต่างด้านภาษาของกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทย
(2) รัฐต้องเพิ่มช่องทางให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงมาตราการเยียวยาได้โดยสะดวก ง่ายดาย รวดเร็ว เช่น เรื่องแบบฟอร์มการกรอกข้อมูลประกันสังคมควรให้มีแบบฟอร์มหลาย ๆ ภาษา
(3) รัฐต้องสร้างกลไกหรือกระบวนการทำงานระหว่างชุมชนแรงงานข้ามชาติกับชุมชนไทยในแต่ละพื้นที่
(4) รัฐต้องให้ความช่วยเหลือในภาวะโรคระบาดบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ
(5) รัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย กล่าวคือ กลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงควรยอมรับพวกเขาในฐานะที่เป็นพลเมืองของสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้โดยไม่ถูกตีตราว่าเป็นพวกแรงงานข้ามชาติหรือพวกแรงงานต่างด้าว