บทสัมภาษณ์ สรัล อร่ามรัศมีกุล และหัตถพงษ์ หิรัญรัตน์ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562 จากทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัมภาษณ์โดยผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์
คำถาม (1) : เหตุผลในการสมัครเข้าแข่งขันรอบภายใน
สรัล : “ที่มาสมัครแข่งเพราะว่าอยากหาประสบการณ์ให้ตัวเองครับว่าที่จริงนั้นเราสามารถทำอะไรได้บ้างไม่ใช่คือเราเรียนมาใน 4 ปีเราเรียนอย่างเดียว กิจกรรมอย่างอื่นส่วนตัวผมไม่ค่อยได้ทำ ยิ่งกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาการพูดในที่สาธารณะนี้น้อยมาก ผมเลยคิดในตั้งแต่รอบคัดเลือกภายในว่ามาแข่งเพื่อมาฝึกประสบการณ์และยังเป็นการเพิ่มทักษะให้ด้วย เพียงแต่ว่าตอนที่สมัครก็ไม่ได้หวังว่าจะเข้ารอบระดับประเทศอะไร เพราะ คิดว่าตัวเองก็ไม่ได้มีความสามารถขนาดนั้น”
หัตถพงษ์ :“ในส่วนของผมก็เกิดจากเป็นประสบการณ์เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ได้เจอรุ่นพี่ที่เขาเคยเป็นแชมป์มูทคอร์ทเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเขาเนี่ยก็ได้ให้ประสบการณ์กับผมว่า เออเนี่ยเขาจะต้องเผชิญกับการแข่งขันภายใต้โจทย์ที่ไม่สามารถชนะได้เลยในทางกฎหมาย ตอนแรกเขาก็ยังเครียดอยู่ว่าจะทำยังไงให้ชนะนะเนี่ย แต่สุดท้ายแล้วเนี่ย เขาก็ได้พยายามจะบอกกับผมว่าสุดท้ายแล้วการแข่งขันมูทคอร์ทไม่ได้มีแค่เรื่องของการแพ้ชนะในเรื่องเนื้อหาของกฎหมายเท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องของการที่เขาเรียกว่าจิตใจสู้หรือว่าการที่แบบพยายามที่จะช่วยเหลือ หรือให้สิทธิแก่คนที่เรากำลังต่อสู้ให้อย่างเต็มที่เพราะฉะนั้นเนี่ยต่อให้เนื้อหาของตัวบทของกฎหมายเนี่ยเราจะเป็นฝ่ายแพ้เนี่ย แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องละทิ้งหน้าที่ของการเป็นทนายความจำเลยหรือโจทก์ นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกประทับใจว่าการแข่งขันเนี่ยมันไม่ได้หมายถึงเราจะต้องชนะหรือแพ้เด็ดขาดแต่มันยังหมายถึงการทำหน้าที่ในฐานะทนายความด้วยอันนี้ก็คือเหตุผลส่วนหนึ่ง อีกเหตุผลหนึ่งก็คือว่ามันเป็นการท้าทายความสามารถของเราเองที่เราเคยที่จะอยู่กับ comfort zone หรือพื้นที่ที่สุขสบายของเรา เราเป็นคนที่ชอบเฉพาะเรื่องการแสดงออกในเชิงข้อเขียน แต่ในขณะเดียวกันการพูดซึ่งก็เป็นสิ่งที่แสดงถึงข้อมูล ซึ่งทรงพลังในทางประวัติศาสตร์ เราไม่ค่อยจะมีความสามารถในเรื่องแบบนี้เลย เพราะฉะนั้นเนี่ย การแข่งขันมูทคอร์ทมันก็คงเป็นสิ่งที่จะสามารถดึงศักยภาพในเรื่องการพูดออกมาได้อย่างดี”
คำถาม (2) : วิธีการแบ่งการทำงานในทีม
สรัล : “สำหรับวิธีการจับคู่ หรือวิธีการเลือกผู้เข้าแข่งขันว่าสมาชิกในทีมว่าจะไปอยู่ในตำแหน่งไหนพูดอะไรนะครับก็ จริง ๆ แล้วไม่ได้มีตายตัวครับ คือ ผมเชื่อว่าเพื่อนทุกคนมีศักยภาพหมดจากที่ได้รู้จักกันมา ผมเห็นตั้งแต่วันแรกที่สมัครแล้วว่าแบบทุกคนสามารถพูดได้ เพียงแต่ว่าเราจะถามความสมัครใจเท่านั้นว่าแบบใครอยากจะพูดตรงไหนตำแหน่งใด จะเห็นได้ว่าทีมของเรามีความหลากหลายทุกคนสามารถพูดได้ตำแหน่ง ดังจะเห็นแล้วว่ารอบประเทศแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้พูดจากรอบคัดเลือกภายใน ศักยภาพทีมเราไม่ได้ลดลงเลย”
หัตถพงษ์ : “ในส่วนของผมเนี่ยการจัดวางตำแหน่งว่าใครจะพูดใครจะเป็นคนค้นหาข้อมูลเนี่ย ก็ต้องบอกไว้ก่อนว่าแบบมันเป็นสิ่งที่ตอบได้ยากเพราะว่าในตอนแรกเนี่ยเราเคยมีอยู่ 3 คนแต่ว่าในภายหลังนี้เราก็มีอยู่ 2 คนซึ่งผมก็อยู่ในฐานะ researcher หรือว่านักวิจัยด้วยในตอนแรก ไม่ใช่คนที่ออกมาพูดตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นเนี่ยมันก็เลยทำให้แบบผมจะต้องเป็นคนมาพูดโดยปริยาย ที่เนี้ยถามว่าเรามีเรื่องของแบบวิธีการที่จะเลือกคนมาพูดอะไรแบบนี้ไหม ภายใต้สถานการณ์แบบนี้เนี่ยก็ต้องพูดแล้วมันไม่มีอยู่แล้ว เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำโดยไม่มีเงื่อนไข แต่อย่างไรก็ตามเนี้ยอย่างที่บอกก็คือว่าเหตุผลที่เราเข้ามาแข่งขันในครั้งนี้เพราะว่าเราต้องการจะดึงศักยภาพของเราออกมาให้มันเต็มที่เพราะฉะนั้นแล้วเนี่ยถ้าในเมื่อมันไม่มีทางที่เราจะ ไม่สามารถปฏิเสธในการที่จะมาแข่งขันในทางการพูดได้เนี่ย อะไรเกิดมันก็ต้องเกิดเพราะฉะนั้นไอ้เนี่ยก็เลยทำให้แบบ ต่อให้เราไม่เคยพูดมาก่อนเลยในการแข่งขันที่ผ่านมาเนี่ยเราก็ต้องพยายามดิ้นรน พยายามที่จะฝึกฝนตัวเองให้พร้อมที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้”
สรัล : “ขอเสริมหัตถพงษ์นิดนึงครับที่ว่าให้มันชัดเจนยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็คือวิธีการเลือกว่าใครจะพูดฝ่ายไหนฝ่ายโต้แย้งหรือฝ่ายอุทธรณ์ จริง ๆ เราคุยกันอยู่แล้วตลอดนะครับว่าใครจะเป็นคนพูดฝ่ายไหนส่วนใหญ่เนี่ยคืออย่างผมคุยกับ หัตถพงษ์ อยู่แล้วว่า ดูเขาเป็นคนที่แบบว่าพูดแบบพูดจาชัดถ้อยชัดคำแต่ว่าอาจจะไม่ดุดันอาจจะเป็นคนพูดเนิบ ๆ เรื่อย ๆ แต่ว่าหนักแน่นก็เลยน่าจะเป็นคนฝ่ายอุทธรณ์ไม่ได้ฝากโต้แย้งอะไรนะครับส่วน หัตถพงษ์ ก็บอกว่าผมพูดเร็วแล้วก็พูดแบบว่าดูไหลลื่นอะไรเงี้ยผมก็เลยจะได้เป็นฝ่ายโต้แย้ง”
คำถาม (3) : การเตรียมตัวก่อนเข้าแข่งขันทำอย่างไรบ้าง
หัตถพงษ์ : “อย่างแรกเลยมันก็ต้องมาตั้งแต่ตอนทำคำแถลงการณ์นั่นแหละว่าคำแถลงการณ์นี้ต่อให้มีการทำแค่ครั้งเดียวเนี่ยเราก็ต้องทำให้เต็มที่ เพราะว่าทุก ๆ อย่างที่เราจะสามารถนำไปใช้ในครั้งต่อ ๆ ไปมันขึ้นอยู่กับแถลงการณ์ทั้งสิ้น ที่เน้นในเรื่องการเตรียมตัวนี้อย่างแรกเลยก็คือว่าเราให้ความรู้ให้ความสำคัญมากกับการอ่านข้อเท็จจริง เพราะว่าข้อเท็จจริงย่อมนำไปสู่การใช้กฎหมายในแต่ละอย่างที่มันอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละข้อเท็จจริง พออ่านข้อเท็จจริงให้มันตกผลึกและต่อมาเราก็มาดูข้อกฎหมายเอามาเรียงกันว่าฝ่ายโจทก์เนี่ยจะมีอะไรบ้างที่เป็นประเด็นที่สำคัญ ฝ่ายจำเลยมีอะไรบ้างที่สำคัญแล้วก็ค่อยมาดูว่าแต่ละฝ่าย เขามีข้อต่อสู้มีข้อกฎหมายอะไรที่ต้องที่ต้องใช้ ซึ่งตรงนี้ก็คงต้องระวังมาก ๆ เพราะว่าในแต่ละครั้งที่เราคิดเนี่ยมันจะก่อให้เกิดความสับสนมากเลยบางครั้งเราก็คิดจากจำเลยต่อมาโจทก์ โจทก์ไปจำเลยและทีนี้ทำให้การคิดข้อต่อสู่แต่ละครั้งเนี่ยมันสับสนทำให้บางครั้งการที่เราคิดถึงโจทก์ ก็กลายเป็นว่าเราไปสับสนไปเอาข้อความคิดเห็นของจำเลยมาใช้บ้างเนี่ยเราก็ต้องระวังในจุดนี้”
สรัล : “ก็คือจะพูดเสริมในส่วนของหัตถพงษ์นะครับ ผมจะพูดในเรื่องการเตรียมตัวแถลงการณ์ที่เป็นการพูดนะครับ โดยส่วนตัวผมเป็นคนไม่ค่อยพูดต่อหน้าสาธารณะครับ ก็คือ พูดไม่เก่งไม่มีทักษะการพูดเลยออกไปทางพูดไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำนะครับ ก็คือจริง ๆ แล้วเนี่ย ผมไปโดยพื้นฐานแล้วนะผมเป็นคนที่ขี้อายครับ การเตรียมตัวของผมเองผมเองได้มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่สำนักงานกฎหมายจะได้เห็นรุ่นพี่ที่ได้ไปว่าความในศาลจริง ๆ ว่าเขามีท่วงท่าลีลาน้ำเสียงการออกเสียงต้องออกยังไงต้องแบบมีท่วงท่าลีลายังไงนะครับ อีกทั้งผมก็ยังไปศึกษาเพิ่มเติมจากการที่ผมเป็นคนชอบการเมือง ผมชอบดูประชุมสภา วิธีการพูดในที่ประชุมสภากับแถลงการณ์ ผมว่ามันคล้ายกันเลยครับก็คือพูดต่อหน้าประธาน ถ้าในสภานะครับพูดต่อประธานสภา ถ้าแถลงการณ์ก็พูดต่อหน้าศาล ก็คือเราสามารถใช้วิธีการพูดที่คล้ายกันได้เลยครับ โดยผมเวลาดูก็จะเก็บพวกทักษะการลงน้ำเสียงว่าต้องลงตรงนี้ตรงนี้เป็นคำสำคัญเลยต้องลงน้ำหนักตรงนี้ แล้วก็มีการเว้นวรรคให้คนฟังได้คิดก่อนประมาณ 2-3 วิให้เขานึกออกก่อนอะไรเนี้ย มันก็จะแบบเป็นทักษะที่ผมได้มาจากการที่ผมไปเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการแบบดูทีวีฟังเขาพูดอะไรเนี่ยนะครับ”
หัตถพงษ์ : “แล้วก็ทีนี้อีกส่วนหนึ่งที่จะขอเพิ่มเติมก็คือในส่วนการพูดเนี่ยอันนี้คุณสรัลเขาก็ตอบไปแล้ว แต่ว่าที่นี่ส่วนที่ผมจะเพิ่มเติมในฐานะคนที่พึ่งมาพูดได้เลยคือว่าสุดท้ายแล้วเนี่ยเวลาจะเตรียมในส่วนการพูดได้เลย คือใจมันต้องมาก่อนคือใจมันจะต้องมาในลักษณะที่ คือเราไม่สามารถที่จะหลีกหนีในเรื่องแบบนี้ได้อยู่แล้วเพราะฉะนั้นเนี่ยเราต้องทำให้มันให้มันเต็มที่ไหนๆก็จะก็เจอสิ่งแบบนี้แล้วเนี่ยอย่าได้กลัว เพราะว่ามันจะทำให้เราเนี่ยเกิดความไม่มั่นใจในระหว่างที่เราพูดได้แล้วก็อีกเรื่องนึงก็คือว่าถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้พูดต่อหน้ากระจกมองสายตาตัวเองเวลาพูดแบบนี้มันก็จะทำให้แบบเหมือนเขาเรียกว่า Simulator หรือว่าเป็นเหตุการณ์สมมุติว่าแบบเวลาคนอื่นเขามองใส่หน้าเราอย่างนี้ มองสายตาเราอย่างนี้ เราจะมีปฏิกิริยายังไงในเวลาที่พูด”
คำถาม (4) : วิธีการเตรียมการเขียน memo ทำอย่างไร
หัตถพงษ์ : “คำแถลงการณ์ของเราเนี่ยเราจะมีสูตรคือว่าเวลาเราเขียนแถลงการณ์นี้นอกจากจะต้องมีเหตุผลในเรื่องทางข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตราหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเราจะมีสามอย่างเวลาเราใช้ยืนยันในความเห็นของเรา หนึ่งนั่นคือบทกฎหมายซึ่งทุกคนรู้อยู่แล้ว สองคือเรื่องเหตุผล ซึ่งก็ต้องเป็นเหตุผลที่คนเขาเข้าใจได้ด้วยเพราะว่าถ้ามันใช้แต่ข้อกฎหมายไปหมดเนี่ยมันก็จะทำให้เกิดสิ่งที่แบบมันเฝือ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนก็ทำกันได้หมด แต่ว่าสิ่งที่แต่ละทีมก็จะมีความแตกต่างกันก็คือว่าความสามารถในการอธิบายว่าทำไมมันต้องเป็นเช่นนั้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้แค่ตัวบทข้อกฎหมายและส่วนที่ สามแล้วก็คือซึ่งมันจะขาดไม่ได้ก็คือส่วนทางด้านวิชาการเพื่อไม่ให้คำอธิบายของเราในส่วนที่สองด้วยเหตุผลเนี่ยมันเป็นสิ่งที่เลื่อนลอยนามธรรมเกินไป แล้วก็ทีนี้อีกส่วนหนึ่งที่จะขอเพิ่มเติมก็คือในส่วนการพูดเนี่ยอันนี้คุณสรัลเขาก็ตอบไปแล้ว แต่ว่าที่นี่ส่วนที่ผมจะเพิ่มเติมในฐานะคนที่พึ่งมาพูดได้เลยในช่วงของการแข่งขันระดับประเทศเนี่ยก็คือว่าสุดท้ายแล้วเนี่ยเวลาจะเตรียมในส่วนการพูดได้เลย คือใจมันต้องมาก่อนคือใจมันจะต้องมาในลักษณะที่ คือเราไม่สามารถที่จะหลีกหนีในเรื่องแบบนี้ได้อยู่แล้วเพราะฉะนั้นเนี่ยเราต้องทำให้มันให้มันเต็มที่ไหนๆก็จะก็เจอสิ่งแบบนี้แล้วเนี่ยอย่าได้กลัว เพราะว่ามันจะทำให้เราเนี่ยเกิดความไม่มั่นใจในระหว่างที่เราพูดได้แล้วก็อีกเรื่องนึงก็คือว่าถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้พูดต่อหน้ากระจกมองสายตาตัวเองเวลาพูดแบบนี้มันก็จะทำให้แบบเหมือนเขาเรียกว่า Simulator หรือว่าเป็นเหตุการณ์สมมุติว่าแบบเวลาคนอื่นเขามองใส่หน้าเราอย่างนี้ มองสายตาเราอย่างนี้ เราจะมีปฏิกิริยายังไงในเวลาที่พูด”
สรัล : “ขอเพิ่มเติมอีกนิดเดียวครับนิดเดียวเท่านั้นนะครับ จริง ๆ แล้วอย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าในการทำคำแถลงการณ์มันมีบางประเด็นที่มันไม่ตรงกับสิ่งที่เราเรียนสิ่งที่เรารู้มาตั้งแต่ต้นนะครับ คือการที่เราจะต้องไปพูดในสิ่งเหล่านั้นที่เราไม่เห็นด้วยในใจอยู่แล้วเนี่ย มันเป็นเรื่องที่ยากนะครับที่จะปฏิเสธสิ่งที่เราเรียนมา แต่ว่าแต่เมื่อการแข่งขันมันมาถึงนะครับมันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องไปแถลงการณ์เรื่องเหล่านี้ ส่วนตัวผมนะครับที่จะทำให้เกิดความมั่นใจในการพูดเนี่ยเราต้องคิดไว้ก่อนครับว่าสิ่งที่เราพูดไปเนี่ยมันเป็นสิ่งที่จริง สิ่งที่เราหามันใช่ มันจะก่อให้เกิดความมั่นใจในการพูดของเราว่าเราพูดไปแล้วเนี่ยเราก็จะมั่นใจ เพราะเราพูดด้วยความมั่นใจ และคนฟังอ่ะครับยังไงเขาก็ต้องเงี่ยหูฟังเขาก็ต้องรับฟังบ้างแล้วอาจจะเกิดความคล้อยตาม แม้ว่ามันจะเป็นความเห็นที่แปลกประหลาดหรือว่าไม่ตรงกับทางหลักวิชาที่เราได้เรียนมาครับ”
คำถาม (5) : ปัญหาในการแข่งขันมีอะไรบ้าง
สรัล : “ปัญหาอย่างแรกก็คือเรื่องกฎกติกาครับ ผมคิดว่าการชี้แจงบางข้อก็ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่อย่างในเรื่องการอ้างเอกสารต่าง ๆ นะครับ ใน memo ว่าแบบมันขอบเขตแค่ไหน ถ้าแบบขอบเขตของการโต้แย้งเนี่ย ไม่ต้องอ้างมาเลยใน memo ใช่ไหมหรือว่าจะเอาเฉพาะเอกสารสำเนาอุทธรณ์หรือว่าต้องใส่มาทั้งหมด อีกเรื่องหนึ่งตัวกติกาเนี่ยเวลามีผู้เข้าแข่งขันโต้แย้งในขณะแถลงการณ์ ในความเป็นจริงเท่าที่ผมเคยมีประสบการณ์มานะครับที่จริงแล้วศาลเองก็ต้องหยุดการแถลงการณ์ด้วยแล้วก็ต้องมีการถามเสียก่อน ถ้าเป็นในศาลจริงก็จะบอกว่าขัดวิแพ่งในข้อไหนอ่ะนะครับ มาตราไหนจริงมันจะต้องมีอย่างนี้ครับ เพราะว่าจริงๆ แล้วแม้เราแข่งขันแถลงการณ์ในเรื่องปัญหาข้อกฎหมายก็จริง แต่ว่าแถลงการปัญหาข้อกฎหมายเนี่ยมันยังต้องเชื่อมโยงไปถึงข้อเท็จจริงบางอย่างที่มันยังไม่ชัดเจนอยู่ในข้อสอบก็ต้องสามารถโต้แย้งได้ รวมถึงในส่วนของกฎกติกาที่เราก็ต้องสามารถแย้งได้ด้วยว่าอีกฝ่ายแถลงผิดกติกา เพราะว่าไม่งั้นเนี่ยมันจะทำให้การแข่งขันหมดความสนุกไปเลยครับเพราะว่าบางครั้งเนี่ยไม่ได้เขียนใน memo แต่เลือกที่จะต่อสู้ทำให้อีกฝ่ายนึงเนี่ยไม่สามารถที่จะรับมือได้ทัน ตรงนี้จริง ๆ แล้วเป็นปัญหามาก ๆ เลยครับก็คืออยากจะฝากต่อไปให้มีการแก้ไขในส่วนนี้นะครับ”
หัตถพงษ์ : “คือเราอยากจะให้มีการเพิ่มการประสานงานระหว่างผู้จัดการแข่งขันกับคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันที่มีการอัพเดตข้อมูลมากยิ่งขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะว่ายกตัวอย่างเช่น ทีมของธรรมศาสตร์เนี่ยตอนแรกเริ่มแล้วได้กติกาใหม่เกี่ยวกับเรื่องการแต่งกายว่า ชุดนักศึกษาก็ได้ ซึ่งในทางกฎเกณฑ์มันก็ทำได้แต่ในขณะเดียวกันคณะกรรมการที่เขาไม่รู้มาก่อน ในใจเขาก็ต้องมีการรู้สึกนึกคิดไปแล้วว่าเนี่ย มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนะกับการที่ใส่ชุดนักศึกษาเฉย ๆ มาแถลงการณ์อะไรแบบนี้ต่อให้ในภายหลังนี้จะมีการชี้แจงเพิ่มเติมจากผู้จัดงานไงเราก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าเรื่องการแต่งกายเนี่ย มันจะกลายเป็นปัจจัยที่เขาจะชี้นำไปสู่การหักคะแนนในส่วนอื่นหรือไม่ แล้วก็อีกข้อนึงก็คือว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องเชิงเป็นปัญหา ในเชิงปัญหาในลักษณะที่แบบจะต้องแก้โดย คณะผู้จัดงานแต่ว่าเป็นปัญหาที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องเผชิญก็คือว่าในบางครั้งเนี่ยโจทย์ที่พวกคุณจะได้รับในการแข่งขันเนี่ยบางครั้งเนี่ยมันอาจจะต้องบีบบังคับให้พวกคุณเนี่ยเจอกับปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องแก้ไขด้วยการหักหลักการต่าง ๆ ที่คุณเคยได้ศึกษามาอย่างที่ สรัลได้บอกคุณก็จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจมาสักเล็กน้อยเพื่อที่จะปะทะกับมัน แล้วก็ต้องหาโซลูชั่นหรือว่าต้องหาทางแก้ไขที่มันอาจจะเรียกว่า สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่คำตอบที่เราสามารถที่จะให้คำตอบได้ในลักษณะที่ไม่ได้หักกับหลักการอย่างเต็มที่หรือเด็ดขาด”
คำถาม (6) : สิ่งที่ได้รับจากการแข่งขัน
สรัล : “ได้รับมาก ๆ เลยครับไม่ว่าจะเป็นในเรื่องทักษะการพูดหรือการความกล้าแสดงออกในการพูดนะครับ คือสมัยก่อนเดี๋ยวผมกลัวมากนะครับในการในการพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ เนี่ยอย่างตอนไปสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ฝึกงานหรืออะไรอย่างนี้ครับ ก็สัมภาษณ์กันที 5-6 คนไปจนถึง 10 คนเนี่ยผมก็จะเริ่มกลัวแล้วด้วยสายตาที่จ้องมา แต่พอผ่านการแข่งขันครั้งนี้ผมรู้สึกปลดล็อคเลยครับว่าแบบการพูดต่อหน้าคนอื่นมันไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวต่อไป ถ้าเรามั่นใจในสิ่งที่เราพูดว่าสิ่งที่เราพูดนั้นใช่เราเราก็จะพูดด้วยความมั่นใจว่าสิ่งที่เราพูดเนี่ยมันใช่ คนฟังเขาจะเห็นความมั่นใจตรงนี้ของเราว่า คนที่มันพูดด้วยความมั่นใจในสิ่งที่เขาพูดไปมันก็น่าจะจริงนะ”
“ข้อสำคัญที่สุด ก็คือสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยเนี่ยเราเรียนมา 4 ปีเราเรียนกฎหมายเป็นวิชาๆใช่ไหมครับ ก็คือเวลาเราเรียนเนี่ยแล้ว แม้มันเป็นป็นข้อสอบวินิจฉัย แต่ก็เป็นข้อสอบที่เป็นปัญหาในเรื่องหนึ่งในวิชานั้นๆไม่ได้เชื่อมโยงกับวิชาอื่น อย่างเช่น เรียนกฎหมายหนี้อย่างนี้เราก็จะถูกจำกัดว่าเราจะต้องเอามาตราหนี้มาตอบเท่านั้น เต็มที่ก็เอามาตรานิติกรรมมาตอบ เราไม่ได้ทำข้อสอบที่เอากฎหมายหลายๆฉบับมาปรับใช้กับข้อเท็จจริง เพราะ ในความเป็นจริงข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งจริง ๆ มันอาจจะปรับใช้กฎหมายได้ในหลายเรื่องอ่ะครับ ผมคิดว่าการที่เราเรียนปริญญาตรีตอนที่เราเรียนน่ะมันทำให้เหมือนเรา ไม่ได้อยู่กับพื้นนะครับเราลอยอยู่ แต่พอการแข่งขันครั้งนี้เราได้ข้อเท็จจริงมาซึ่งยาวมาก เราจะต้องปรับใช้กฎหมายโดยที่โจทย์ยังไม่ได้ชี้นำด้วยว่า เราจะต้องไปปรับใช้กฎหมายในเรื่องใด เรื่องนี้เราก็ต้องคิดเองทำให้เราเอาความรู้ที่เราเรียนมาเนี่ย 4 ปี มาเชื่อมโยงทั้งกฎหมายแพ่งกฎหมายอาญาหรือหลักกฎหมายมหาชนเองก็ตามนะครับ มาเชื่อมโยงกันเพื่อจะแก้ไขปัญหาเรื่องหนึ่งในข้อเท็จจริงหนึ่ง ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่าในโลกความเป็นจริงแล้วอ่ะปัญหาในเรื่องนึงอ่ะ มันไม่ได้ใช้แค่กฎหมายฉบับเดียวในการแก้ไขนะครับมันต้องเชื่อมโยงหลาย ๆ ฉบับไม่ว่าจะเป็นหลักกฎหมายเอกชนมหาชน หรือแม้แต่กฎหมายระหว่างประเทศก็ตามก็อาจจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในข้อเท็จจริง ตรงนี้ครับอันนี้เป็นเรื่องที่ผมได้รับอย่างมาก ๆ”
หัตถพงษ์ : “จะเสริมจากส่วนที่สรัลว่ามา ส่วนแรกที่ผมได้เลยก็คือว่า มันทำให้เราได้กลับมาตรวจสอบตัวเองว่าความสามารถของเรามันมีอยู่แค่ไหน ถ้าในเรื่องความรู้ซึ่งมันอาจจะไม่เคยชัดเจนมาก่อน เราก็ได้กลับมามีโอกาสทบทวนมาให้มันมีความชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ มันทำให้เราได้กลับมาตรวจสอบว่าสิ่งที่เราเข้าใจว่าเราสามารถที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจด้วยได้หรือเปล่า หรือตลอดมาเนี่ยเราหลงเข้าใจผิดคิดว่าเข้าใจดีแล้วแต่กลับไม่สามารถที่จะอธิบายคนอื่นให้สามารถเห็นภาพตามได้เลย อันเนี้ยการแข่งขันนี่เองก็จะได้ทำให้เราเนี่ยกลับมาทำให้เราเนี่ยกลับมาพูดในภาษามนุษย์หรือพูดในภาษาที่ประชาชนจะสามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะว่าคณะกรรมการก็จะคอยติดตามมาตลอดว่าเวลาเราพูดเนี่ย เราพูดในลักษณะที่ทำให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้ด้วยหรือไม่ หรือว่าเราเข้าใจเพียงคนเดียว ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่อันตรายมากสำหรับนักกฎหมายที่คุณจะต้องคอยให้ความกระจ่างกับสังคม ส่วนแรกก็คือเรื่องของการกลับมาตรวจสอบเอง ส่วนที่สองก็คือว่ามันทำให้เรา กลับมาพิจารณาว่าปัญหาในทางข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เราเคยได้ศึกษามาเนี่ย มันมีประเด็นไหนที่เรายังไม่เคยได้คิดให้ลึกซึ้งในสมัยตอนที่เราศึกษาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะว่าไม่เคยตั้งคำถามเลยว่าอะไรที่จะทำให้คนๆ หนึ่งมีความเสียหายในทางกฎหมายอันหนึ่งอะไรที่ทำให้รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย ทั้ง ๆ ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเลย อันนี้มันก็ทำให้เราได้มีโอกาสศึกษาอีกครั้งหนึ่งผมเลยคิดว่าถ้าไม่มีการแข่งขันนี้ขึ้นมาเนี่ย 2 เรื่องที่ผมกล่าวมานี้เราจะไม่มีโอกาสได้ตระหนักเลยครับ”
คำถาม (7) : ฝากถึงผู้จัดการแข่งขัน
สรัล : “ขอบคุณผู้จัดการแข่งขันครั้งนี้ขึ้นมาครับเพราะว่าผมรู้สึกว่าการแข่งขันครั้งนี้การแข่งขันมูทคอร์ทมันเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับนักกฎหมายที่จะออกไปประกอบวิชาชีพจริง ๆ ทั้งการทำงานเป็นทีม ซึ่งอย่างที่ทราบฮะว่าการทำงานใหญ่ๆอย่างการแข่งขันครั้งนี้ถ้าหากไม่มีการช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมทีม ผมคิดว่าการแข่งขันก็อาจจจะไม่เกิดผลเช่นนี้ การแข่งขันตรงนี้ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ในทีมได้ดีมาก อีกเรื่องหนึ่งน่าจะเป็นทักษะการสื่อสารครับ ซึ่งตรงนี้ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ดีมากครับที่ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดการแข่งขันนี้ขึ้นมาเพื่อเสริมทักษะในเรื่องนี้ในการประกอบวิชาชีพในอนาคต”
หัตถพงษ์: “ในส่วนของผมก็เหมือนกับที่ได้สรัลกล่าว เราอยากจะขอบคุณผู้จัดการแข่งขันครั้งนี้เพราะว่าการแข่งขันครั้งนี้เนี่ย ต้องยอมรับเลยว่ามันเป็นสิ่งที่ได้สร้างโอกาสในการปลดล็อค เพิ่มความสามารถหรือการที่ได้เห็นความสามารถของตัวเองที่อาจจะไม่เคยได้ใช้มาก่อนให้มันมีส่วนเติมเต็มเราให้สูงยิ่งขึ้น ไม่ให้เราอยู่กับพื้นที่เดิม และทำให้เราไม่มีความสามารถอื่นๆ ไป อันนี้ก็เป็นสิ่งที่การแข่งขันได้ให้กับเรา แล้วก็อย่างที่บอกนะการแข่งขันนี้มันทำให้เรามีโอกาสกลับไปตรวจสอบตัวเองได้อีกครั้งหนึ่งซึ่งถ้าหากไม่มีการแข่งขันนี้ขึ้นมาโอกาศเหล่านั้นเนี่ยก็คงไม่อาจจะเกิดขึ้นอันนี้คือในส่วนที่อยากจะขอบคุณก่อนที่นี่
“ในส่วนของผมที่อยากจะเพิ่มเติมให้กับทางผู้จัดการแข่งขัน ว่าอย่างแรกเลยเนี่ยเป็นไปได้อยากจะให้ทางผู้จัดการแข่งขันลองเพิ่มความเป็นไปได้ในการจะทำให้การแข่งขันมีความน่าตื่นเต้นหรือเร้าใจได้มากยิ่งขึ้นโดยดูจากการจัดการแข่งขันของมูทคอร์ทในต่างประเทศซึ่งผมเคยได้รับประสบการณ์จากเพื่อนที่เขาเคยไปร่วมการแข่งขันในการแข่งขันจริงเนี่ย ในส่วนที่เราได้เตรียมแถลงการณ์มาเนี่ยเขาจะให้เราพูดเพียงประมาณครึ่งนึงหรืออาจจะไม่ถึงครึ่ง แต่ว่าสิ่งที่เขาจะต้องประสบกับคือคำถามสดจากคนที่เป็นตุลาการซึ่งผมก็เข้าใจว่าในประเทศไทยเราก็คงทำได้น้อยเพราะว่าเราใช้ระบบกล่าวหาไม่ใช่ระบบไต่สวนที่ศาลก็จะมีอำนาจในการที่จะสอบถามได้เองแต่ในขณะเดียวกันเนี่ยเราก็ต้องเราก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าการแข่งขันของต่างประเทศมันทำให้เราสามารถเพิ่มความสามารถในการที่จะตอบปัญหาที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดีกว่า และมันทำให้เราต้องเตรียมตัวมาอย่างยิ่งยวดมากเสียยิ่งกว่าการที่แบบเราเขียนแถลงการณ์แล้วเราค่อยมาแถลงการณ์ไปตามนั้นอัน”
คำถาม (8) : ฝากถึงผู้เข้าแข่งขันในปีนี้
สรัล : “ก็คืออย่าพลาดกิจกรรมนี้นะครับเป็นไปได้นะครับว่าก่อนก่อนที่จะเรียนจบเนี่ยควรจะผ่านกิจกรรมนี้ด้วย เพราะว่า ต้องอย่าลืมคำว่าการเรียนนิติศาสตร์ เราควรจะมี 4 ทักษะที่ดีนะครับก็คือ ฟังพูดอ่านเขียน นะครับ ซึ่งการเรียนนิติศาสตร์เนี่ยอาจจะเรียนในห้องเรียนปกติจะทำให้เรามีการสกิลการอ่านที่ดีในการอ่านหนังสือจับใจความต่าง ๆ นะครับ อีกอันหนึ่งที่อาจจะได้จากห้องเรียนคือสกิลการเขียน เขียนข้อสอบนะครับฝึกการเรียบเรียงประเด็นต่าง ๆ ในการที่จะเขียนตอบข้อสอบนะครับ อีกข้อคือการฟังนะครับ ถ้าเกิดเราเข้าเรียนฟังอาจารย์พูดแล้วเรามาสรุปประเด็นของเราเองในหัวนะครับแล้วก็ออกมาเป็นความรู้อย่างนี้ แต่ว่าอย่างนึงที่ห้องเรียนอาจจะให้ได้ไม่เต็มที่ก็คือด้านการพูดครับก็คือในห้องเรียนปกติในคณะนิติศาสตร์ จะเป็นการบรรยายคือนักศึกษาเองก็จะไม่มีโอกาสจะได้พูดตอบโต้กับอาจารย์นะเท่าไหร่นะครับก็คือส่วนใหญ่ก็จะฟังอาจารย์พูดอย่างเดียวตรงนี้ผมว่าการแข่งขันมู้ดคอร์ดมันฝึกเราด้านนี้ด้วยที่สำคัญก็คือการพูดโดยเฉพาะการพูดในที่สาธารณะเพราะว่าในอนาคตเราเป็นเราจะไปประกอบวิชาชีพกฎหมายเนี่ยเราหลีกหนีไม่พ้นการที่เราจะต้องพูดอ่ะครับไม่ว่าจะเป็นการพูดที่ไหนก็ตามแม้กระทั่งเป็นศาลเองก็ต้องอาจจะต้องพูดแต่อาจจะพูดในฐานะศาลหรือว่ายังไงก็ตามนั้นครับหากจะเป็นทนายความหรืออัยการก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เราจะไม่พูดเราต้องพูดแน่นอนอย่างเดียวเลยครับ คือผมก็อยากจะเชิญชวนน้อง ๆ นะครับ ก่อนจะเรียนจบนะครับต้องอย่าพลาดเลยครับกิจกรรมนี้ต้องมาสมัครกันนะครับ อย่าคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถครับ เพราะ สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ผลแพ้ชนะครับ แต่เป็นสิ่งที่ได้มาระหว่างทางครับ”
หัตถพงษ์: “สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับรุ่นน้องหรือว่าคนอื่นก็คือว่า เป็นไปได้อย่าพลาดกิจกรรมนี้นะครับเพราะว่าอย่างที่ได้กล่าวมาตลอดนั่นแหละครับ ต่อให้กิจกรรมนี่อาจจะมีข้อครหาเกี่ยวกับว่าเออเนี่ย มันจะมีการได้ใช้จริงเหรอ หรือมันไม่ในทางปฏิบัติเนี่ย แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ากิจกรรมเนี้ย อย่างน้อยที่สุด มันก็ได้มอบเครื่องมือให้กับเราในเวลานั้นปฏิบัติงานจริง ก็คือว่าเราก็มีโอกาสที่จะมีความสามารถเหนือกว่าคนอื่นแล้วในการถ่ายทอด และโน้มน้าวผู้อื่น เรื่องที่สอง กิจกรรมนี้มันทำให้เราได้ตรวจสอบของตัวเองมากยิ่งขึ้นซึ่งมันไม่สามารถจะเกิดขึ้นบ่อยนะกับการที่เราจะได้ทำอะไรกับนั้น เรื่องที่สาม มันทำให้เราก้าวข้ามความสามารถเดิมที่เราเคยกลัวเคยที่จะไม่ยอมปลดปล่อยตัวเองออก ผมคิดว่าไม่มีกิจกรรมอะไรที่มันจะทำให้คุณอยู่กับที่เดิมนะ แต่ว่ามันจะทำให้คุณแข็งแกร่งและก็ทำให้คุณได้พบเห็นอะไรใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเนี่ยอย่าได้เก็บตัวเองแค่อยู่ในห้องสี่เหลี่ยม แต่ว่ามาสัมผัสอะไรกับกิจกรรมเหล่านี้ดีกว่านะครับ”
ถ่ายภาพ Pump
แต่งภาพ ST
เรียบเรียง ผศ.ดร.กรศุทธิ์