พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 64 จาก #TULAWInfographic
.
ในปัจจุบันมนุษย์สำรวจทะเลได้เพียงแค่ 5% เท่านั้น ในขณะที่สามารถสำรวจพื้นที่บนพื้นดินได้เกือบทั้งหมดแล้ว ดังนั้นในท้องทะเลจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรต่าง ๆ ที่น่าสนใจและปริศนาอีกมากมาย
.
แต่เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น การสำรวจโลกใต้ทะเลจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากอีกต่อไป ดังนั้นหลากหลายประเทศจึงเริ่มพูดคุยถึงการสำรวจทะเลมากขึ้น รวมถึงในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตของตัวเองด้วยเช่นกัน นำไปสู่การร่างอนุสัญญา BBNJ ขึ้น
.
อนุสัญญา BBNJ คืออะไร? จุดน่าสนใจคืออะไร? #TULAW สรุปประเด็นน่าสนใจจากสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “UN Ocean Treaty : ถอดบทเรียนกระบวนการยกร่างสนธิสัญญาพหุภาคี”
.
งานชิ้นนี้เป็นการหยิบยกตัวอย่างประเด็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจมานำเสนอ ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3TTypCR
.
อนุสัญญา BBNJ
อนุสัญญาฯ เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้อย่างยั่งยืนซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ (the Agreement under the United Nations Convention on the Law of the Sea on the conservation and sustainable use of marine biological diversity of areas beyond national jurisdiction – BBNJ) คือร่างตราสารระหว่างประเทศที่กำลังจะเปิดให้ลงนามในเวทีระหว่างประเทศ3
.
โดยกฎหมายฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองและวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตที่อยู่ในบริเวณพื้นที่นอกเหนือเขตอำนาจรัฐ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากขึ้น ทำให้หลากหลายประเทศได้ค้นพบทรัพยากรใต้ทะเลที่น่าสนใจและหลากหลายมากขึ้นจนนำมาสู่การพูดคุยเรื่องข้อตกลงที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเขตทะเลที่อยู่นอกเหนือจากอำนาจของรัฐต่าง ๆ นั่นเอง
.
4 ประเด็นน่าสนใจใน BBNJ
อนุสัญญา BBNJ มีจุดที่แตกต่างจากอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในทะเล และน่าสนใจอยู่ด้วยกัน 4 ข้อคือ
.
- ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลอย่างชัดเจน
ในบทเกริ่นนำของอนุสัญญาไ้ด้มีการกล่าวถึงการที่ประเทศที่จะเข้าร่วมนั้นต้องยอมรับความจำเป็นในการจัดการเรื่องความเสี่อมโทรมของความหลากหลายทางด้านชีวภาพทางทะเลที่มีผลมาจากเรื่อง climate change และภัยทางทะเลรูปแบบอื่น
.
โดยภัยทางทะเลรูปแบบอื่นนั้นอาจหมายถึงเรื่อง plastic pollution หรือ unsustainable use ด้วย ซึ่งการที่อนุสัญญาได้กล่าวถึงเรื่อง sustainable use นั้นแสดงให้เห็นถึงแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่หลายประเทศมองเห็นร่วมกันว่าควรให้ความสำคัญ ทั้งยังมีการให้คำนิยามอย่างชัดเจนภายในอนุสัญญาอีกด้วย
.
- การกำหนดห้ามขัดกับกฎหมายอื่น
อนุสัญญานี้ได้กำหนดให้ตนเองอยู่ภายใต้ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea: UNCLOS) และต้องตีความกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
.
การที่บัญญัติเอาไว้เช่นนี้นั้นหมายความว่า ผู้ร่างอนุสัญญา BBNJ นั้นไม่ต้องการให้เกิดสภาวะที่หน้าที่ของสนธิสัญญานี้ไปขัดกับกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเลย ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ความสำคัญเป็นอย่างมากและไม่ค่อยปรากฎในอดีตว่ามีอนุสัญญาใดที่เขียนเอาไว้อย่างชัดเจนเช่นนี้ แต่ก็อาจทำให้เกิดความยากในการใช้บังคับในอนาคตได้เช่นกัน เพราะเมื่อจะบังคับใช้ BBNJ นั้นก็ต้องมีการพิจารณากฎหมายอื่นร่วมด้วย
- ขอบเขตการบังคับในด้านพื้นที่
โดยปกติแล้ว อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องทะเลจะแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ The High Sea (ทะเลหลวง) และ The Area (เขตพื้นที่ท้องทะเลลึก) ซึ่งการกำกับควบคุมดูแลจะแตกต่างกันไปใน 2 พื้นที่นี้ แต่สำหรับอนุสัญญา BBNJ นั้นจะควบคุมทั้ง 2 พื้นที่นี้ด้วยมาตรการเดียวกัน
.
- มาตรการการคุ้มครองทรัพยากร
ตามอนุสัญญา BBNJ นั้นหากมีประเทศใดที่ต้องการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติในทะเลหลวงนั้นจะต้องแจ้งเพื่อขอรับ Badge Identify โดยต้องแจ้งรายละเอียด อาทิ รายละเอียดโครงการ ต้องการใช้พื้นที่ตรงไหน ระยะเวลาเท่าใด เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่สร้างความโปร่งใสต่อประชาคมระหว่างประเทศในระดับหนึ่ง
.
นอกจากนี้ต้องเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์จากทุกรัฐสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ และเมื่อทำการสำรวจเสร็จแล้วต้องทำการเปิดเผยผลโดยเร็ว หรืออย่างน้อยภายใน 1 ปีอีกด้วย
.
3 ความท้าทายสำหรับประเทศไทย
หากประเทศไทยคิดจะลงนามในอนุสัญญา BBNJ นั้น จะมีความท้าทายที่น่าสนใจอยู่ 3 ด้านคือ
.
- ด้านกฎหมาย
ประเทศไทยนั้นไม่คุ้นเคยกับเขตอำนาจของทะเลหลวงซึ่งมีระยะไกลมากถึง 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง รวมทั้งกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้นกำหนดมาตรการหรือมีเนื้อหาที่จำกัดอยู่เพียง 12 ไมล์ทะเลหรือเขตน่านน้ำของตัวเองเท่านั้น หรือหากเกินไปกว่านั้นก็ยังไม่ถึง 200 ไมล์ทะเลอยู่ดี
.
- ด้านหน่วยงานราชการ
การเข้าร่วมกับ BBNJ จะเปรียบเสมือนการบังคับให้หน่วยงานราชการบางหน่วยถูกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่หน่วยงานราชการนั้นอาจไม่เคยเกี่ยวข้องกับพื้นที่ด้านนี้เลย อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น
.
- ด้านข้อมูล
ในปัจจุบัน database ของประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรทางทะเลนั้นอาจเทียบไม่ได้กับต่างชาติหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นหากเข้าร่วมในอนุสัญญา BBNJ อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่อง knowledge gap ระหว่างประเทศไทยกับต่างชาติได้เช่นกัน
.
ที่มา: สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “UN Ocean Treaty : ถอดบทเรียนกระบวนการยกร่างสนธิสัญญาพหุภาคี”, https://bit.ly/3TTypCR, https://me-qr.com/sXF9l0xd