พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 92 จาก #TULAWInfographic
.
#TULAW สรุปประเด็นน่าสนใจจากบทสัมภาษณ์คุณอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ศิษย์เก่านิติศาสตร์ รุ่น 35 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการด้านกฎหมายและ
ตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในประเด็น “InsurTech 5.0 ประกันภัยยุคดิจิทัล” จากคอลัมน์ Think Forward ใน TU Law E-Magazine ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน 2567 และในฉบับนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/TULAW-E-Magazine07
หลักการ : ประกันภัยสามารถประยุกต์ใช้ AI เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาระบบประกันภัยแบบครบวงจร โดยใช้ Big Data เป็นฐานและปฏิบัติตามมาตรฐาน PDPA อย่างเคร่งครัด
1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการและความเสี่ยง
2.การคัดกรองผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขายและบันทึกข้อมูล
3.การคาดการณ์และวิเคราะห์ความเสี่ยงภัย
4.การบริหารความเสี่ยง ประเมินความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน
5.การวิเคราะห์ตลาดและการบริหารงาน
📌3 นโยบายคปภ. รองรับ Digital Transformation
1.สร้างระบบฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัยเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลใน 4 ด้านหลัก
• วิเคราะห์เชิงสถิติ
• วิเคราะห์ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
• การตรวจสอบในด้านต่าง ๆ
• วิเคราะห์เชิงลึก
2. การจัดทำฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย และนำ AI ตรวจจับการกระทำทุจริตประกันภัยที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
3. “OIC Gateway” เพื่อตรวจสอบความคุ้มครองของผู้เอาประกันภัย
📌ความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยี
• ความเข้าใจเทคโนโลยีที่ใช้
• ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล
• แผนรองรับความเสี่ยงและแผนชดเชยความเสียหายจากเทคโนโลยี
• Digital Literacy ของผู้ใช้
📌ปัญหากฎหมายกับเทคโนโลยี
เทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว > กฎหมายแก้ไขตามไม่ทัน > เมื่อกฎหมายเป็นอุปสรรคหน่วยงานรัฐต้องร่วมกันหาทางออก
คปภ.มีโครงการ Insurance Regulatory Sandbox ใช้ทดสอบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประกันภัย แก้ปัญหาอุปสรรคทางกฎหมาย
*คปภ. : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย Office of Insurance Commission (OIC)