';

ศูนย์นิติศาสตร์

บทสัมภาษณ์
การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์
บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 จากการแข่งขันมูทคอร์ทรอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 15 (ปีการศึกษา 2560)
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 จากการแข่งขันมูทคอร์ทรอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 15 (ปีการศึกษา 2560)

บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์บรรเจิด ภาคาพันธุ์ หนึ่งในสมาชิกทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ รอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2559 สัมภาษณ์โดยผศ. ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์บรรเจิด ภาคาพันธุ์ หนึ่งในสมาชิกทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ รอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2559 สัมภาษณ์โดยผศ. ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์

ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : ช่...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 จากการแข่งขันมูทคอร์ทรอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 16 (ปีการศึกษา 2561)
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 จากการแข่งขันมูทคอร์ทรอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 16 (ปีการศึกษา 2561)

บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ สรัล อร่ามรัศมีกุล และหัตถพงษ์ หิรัญรัตน์ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์ สรัล อร่ามรัศมีกุล และหัตถพงษ์ หิรัญรัตน์ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562

บทสัมภาษณ์ สรัล อร่า...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ เมย์ ทับไทร และธนวัฒน์ ภัทรธีรชัยเจริญ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์ เมย์ ทับไทร และธนวัฒน์ ภัทรธีรชัยเจริญ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562

บทสัมภาษณ์ เมย์ ทับไ...
รายละเอียด
เตรียมพบกับ บทสัมภาษณ์ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศ การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562 เร็ว ๆ นี้
การแข่งขัน

เตรียมพบกับ บทสัมภาษณ์ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศ การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2562 เร็ว ๆ นี้

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์อานนท์ มาเม้า กับประสบการณ์เข้าแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2551
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์อานนท์ มาเม้า กับประสบการณ์เข้าแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2551

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์กิตติภัฏ จุฑาวรพงศ์ และพรรษสลิล รีพรหม ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์กิตติภัฏ จุฑาวรพงศ์ และพรรษสลิล รีพรหม ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์สรัล อร่ามรัศมีกุล หัตถพงษ์ หิรัญรัตน์ และนวพล ขำสง่า ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นอุทธรณ์ รอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 17 ประจำปีการศึกษา 2562 (Moot Court Competition 2019)
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์สรัล อร่ามรัศมีกุล หัตถพงษ์ หิรัญรัตน์ และนวพล ขำสง่า ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นอุทธรณ์ รอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 17 ประจำปีการศึกษา 2562 (Moot Court Competition 2019)

บทสัมภาษณ์สรัล อร่าม...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์พลภวิษย์ พันธุ์คำเกิด และวรัญญา ตรงพิสุทธิ์ศักดิ์ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายใน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์พลภวิษย์ พันธุ์คำเกิด และวรัญญา ตรงพิสุทธิ์ศักดิ์ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายใน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ปราการ สมบุญยิ่ง ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายใน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551
การแข่งขัน

บทสัมภาษณ์ปราการ สมบุญยิ่ง ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายใน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551

บทสัมภาษณ์ ปราการ สม...
รายละเอียด
เตรียมพบกับบทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 จากการแข่งขันมูทคอร์ทรอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 15 (ปีการศึกษา 2560) และครั้งที่ 16 (ปีการศึกษา 2561)
การแข่งขัน

เตรียมพบกับบทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 จากการแข่งขันมูทคอร์ทรอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 15 (ปีการศึกษา 2560) และครั้งที่ 16 (ปีการศึกษา 2561)

ศูนย์นิติศาสตร์ คณะน...
รายละเอียด
โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย (Legal Practice Workshop)
บทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การตีความสัญญา”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การตีความสัญญา”

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์อาจารย์ ดร.พนัญญา ลาภประเสริฐพร อำนวยการศูนย์ Law TU Health & Wellness คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การจัดการความเครียดในการฝึกงาน”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์อาจารย์ ดร.พนัญญา ลาภประเสริฐพร อำนวยการศูนย์ Law TU Health & Wellness คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การจัดการความเครียดในการฝึกงาน”

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์อาจารย์เพียรรัตน์ ลีลาพงศธร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การฝึกงานและการทำงานรูปแบบ Work From Home”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์อาจารย์เพียรรัตน์ ลีลาพงศธร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การฝึกงานและการทำงานรูปแบบ Work From Home”

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์คุณพรปวีณ์ อุดมรัตนะศิลป์ ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การจับประเด็นและให้ความเห็นทางกฎหมาย”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์คุณพรปวีณ์ อุดมรัตนะศิลป์ ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การจับประเด็นและให้ความเห็นทางกฎหมาย”

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์คุณณัฐ จินตพิทักษ์กุล ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การเขียนเอกสารทางกฎหมาย”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์คุณณัฐ จินตพิทักษ์กุล ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การเขียนเอกสารทางกฎหมาย”

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์คุณณัฐพงศ์ รงค์ทอง ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การเขียนเอกสารทางกฎหมาย”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์คุณณัฐพงศ์ รงค์ทอง ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ เกี่ยวกับ “โครงการอบรมทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมาย” ประจำปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 2 หัวข้อ “การเขียนเอกสารทางกฎหมาย”

รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ อาจารย์ศุภวิช สิริกาญจน เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การนำเสนอผลงานทางกฎหมาย”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์ อาจารย์ศุภวิช สิริกาญจน เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การนำเสนอผลงานทางกฎหมาย”

อาจารย์ศุภวิช สิริกา...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ อาจารย์กิตติภพ วังคำ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “กระบวนการบังคับคดีแพ่ง”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์ อาจารย์กิตติภพ วังคำ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “กระบวนการบังคับคดีแพ่ง”

อาจารย์กิตติภพ วังคำ...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์ อาจารย์ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจัดทำเอกสารแนะนำตัวเพื่อการศึกษาต่อและสมัครงาน” และ “การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในชั้นสอบสวน”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์ อาจารย์ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจัดทำเอกสารแนะนำตัวเพื่อการศึกษาต่อและสมัครงาน” และ “การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในชั้นสอบสวน”

อาจารย์ดิศรณ์ ลิขิตว...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์อาจารย์ศุภวิช สิริกาญจน เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจดทะเบียนบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด” และ “การค้นคว้าและการให้ความเห็นทางกฎหมาย”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์อาจารย์ศุภวิช สิริกาญจน เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจดทะเบียนบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด” และ “การค้นคว้าและการให้ความเห็นทางกฎหมาย”

บทสัมภาษณ์อาจารย์ศุภ...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์อาจารย์กิตติภพ วังคำ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจัดการมรดกและการทำพินัยกรรม”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์อาจารย์กิตติภพ วังคำ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจัดการมรดกและการทำพินัยกรรม”

บทสัมภาษณ์อาจารย์กิต...
รายละเอียด
บทสัมภาษณ์อาจารย์ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจัดทำเอกสารแนะนำตัวเพื่อการศึกษาต่อและสมัครงาน”
โครงการอบรม

บทสัมภาษณ์อาจารย์ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ เกี่ยวกับการอบรมหัวข้อ “การจัดทำเอกสารแนะนำตัวเพื่อการศึกษาต่อและสมัครงาน”

บทสัมภาษณ์อาจารย์ดิศ...
รายละเอียด
บุคลากรศูนย์นิติศาสตร์

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทั่วไป

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1

สร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ GREATS

เป้าประสงค์ สร้างนักกฎหมายที่มีคุณลักษณะ GREATS ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมให้คิดเป็นและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทัศนคติและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในโลกยุคใหม่ เช่น การคิดวิเคราะห์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การปรับตัว การเรียนรู้ตลอดชีวิต การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการเวลา เป็นต้น โดยจัดในรูปกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในวิธีการเรียนการสอนและการวัดผลทางการศึกษา หรือจัดในรูปกิจกรรมนอกห้องเรียน
  2. ผลักดันและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการปรับปรุงวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของวิชานิติศาสตร์และช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาและประกอบวิชาชีพกฎหมายอย่างแท้จริง
  3. แก้ไขปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคบัณฑิต) เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของการศึกษากฎหมายสำหรับผู้ที่เคยผ่านการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน
  4. จัดทำหลักสูตรเตรียมความพร้อม (pre-law) สำหรับนักศึกษาใหม่ในระดับชั้นปริญญาตรีอย่างจริงจังเพื่อให้นักศึกษาใหม่เกิดความคุ้นเคยกับการศึกษากฎหมาย และเกิดความตระหนักรู้ถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการศึกษา สามารถรับมือความเครียดและความกดดันอันเกิดจากการศึกษาและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
  5.  จัดทำหลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบวิชาชีพและการทำงานกฎหมายในภาคปฏิบัติ (workshop on legal practice) เพื่อให้นักศึกษาที่ใกล้สำเร็จการศึกษามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นประกอบวิชาชีพกฎหมาย และเกิดความตระหนักรู้ถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการทำงานหรือการศึกษาต่อ รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้กฎหมายไปปฏิบัติจริงให้มากขึ้น ผ่านโครงการฝึกงาน โครงการช่วยเหลือสังคม และกิจกรรมอื่น ๆ
  6.  ศึกษาความเป็นไปได้และส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรร่วมข้ามสาขาวิชาในระดับชั้นปริญญาตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขานิติศาสตร์ กับสาขาการบัญชีหรือสาขาการบริหารธุรกิจ เพื่อผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ หรือผลิตนักบัญชีหรือบริหารธุรกิจที่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมาย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษากฎหมายในระดับชั้นปริญญาตรีได้ศึกษาวิชาเลือกที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี การบริหารธุรกิจ หรือเศรษฐศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
  7.  ส่งเสริมการเปิดหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโทกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ โดยที่นักศึกษาจะศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลา 3 ปีและศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทในมหาวิทยาลัยต่างประเทศอีก 1 ปี โดยจะได้รับทั้งปริญญาตรีและโททางกฎหมายเมื่อสอบผ่านหลังจากที่ศึกษามาครบ 4 ปี โดยแก้ไขหรือปรับปรุงหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาปริญญาตรีในหลักสูตรภาษาไทยสามารถเข้าร่วมโครงการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  8. ส่งเสริมการเปิดหลักสูตรปริญญาโทร่วม (Double LLMs) โดยสอนเป็นภาษาอังกฤษกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
  9. ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรปริญญาโทที่คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
  10. ส่งเสริมให้นักศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้มีโอกาสพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้นโดยการเปิดสอนวิชาเลือกทางนิติศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ และการจัดอบรมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
  11. จัดตั้งหน่วยงานหรือกลไกในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) และดูแลสุขภาพจิต (mental health) ของนักศึกษาอย่างจริงจัง ตั้งแต่เริ่มต้นเข้าศึกษา ระหว่างการศึกษา และก่อนสำเร็จการศึกษา
  12. ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรมวิชาการและกิจกรรมทางสังคมกับนักศึกษาต่างชาติ และได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในระดับชั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างชาติที่เป็นคู่สัญญาเพื่อเปิดโลกทัศน์และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทั้งนี้จะมีการแก้ไขหรือปรับปรุงหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยสามารถเข้าร่วมโครงการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  13. จัดทำโครงการ mentoring เพื่อให้ศิษย์เก่าที่มีประสบการณ์และเป็นแบบอย่างที่ดีมีส่วนร่วมในการดูแลและให้คำแนะนำนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบวิชาชีพ
  14. ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์
  15. ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ การศึกษาและวิจัยเพิ่มมากขึ้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2

สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในเชิงพัฒนาต่อสังคมไทยและสังคมโลก

เป้าประสงค์ ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลและนำไปใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและยั่งยืน 

  1. จัดทำโครงการ Young Scholar Workshop หรือ Young Researcher Workshop เป็นภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ เป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยตามมาตรฐานสากลให้กับอาจารย์ประจำและนักวิจัยทางนิติศาสตร์รุ่นใหม่ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเปิดโอกาสให้นักวิชาการในสถาบันอื่น ๆ ของไทยและประเทศเพื่อนบ้านเข้าร่วมโครงการ
  2. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำเข้าร่วมโครงการ visiting research/scholar fellowship ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศชั้นนำเพื่อเรียนรู้การทำงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
  3. ส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของอาจารย์ประจำในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้น โดยการเพิ่มแรงจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ
  4. ส่งเสริมให้มีการทำวิจัยร่วมกันระหว่างอาจารย์ประจำและอาจารย์หรือนักวิจัยของสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
  5. ส่งเสริมให้มีการนำผลของการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนหรือการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น มีการเผยแพร่งานวิจัยเพื่อให้ความรู้แก่สังคมในรูปแบบที่น่าสนใจและเข้าถึงได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ และพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อการสืบค้นและการเผยแพร่
  6. ส่งเสริมให้มีการวางรากฐานทักษะในการทำวิจัยแก่นักศึกษาปริญญาตรี เพื่อให้สามารถพัฒนาต่อยอดได้ภายหลังสำเร็จการศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาตรีมีส่วนร่วมและฝึกทักษะการวิจัยในฐานะผู้ช่วยวิจัย
  7. จัดทำวารสาร Thammasat Journal of Thai Legal Studies เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไทยเพื่อให้เป็นที่รับรู้ในระดับสากล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ

เป้าประสงค์ ผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการและการพัฒนาสังคม 

  1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ และผลักดันให้เกิดการทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกันอย่างจริงจังและสม่ำเสมอภายใต้กรอบความร่วมมือ
  2. การจัดการหลักสูตรอบรมระยะสั้น เช่น Young Scholar Workshop หรือ Young Researcher Workshop โดยให้นักวิชาการจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วม เช่น ลาว พม่า กัมพูชา เพื่อให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้นแบบและเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการในระดับภูมิภาคเอเชียเพื่อเชื่อมและรักษาความสัมพันธ์ และเพื่อเรียนรู้และติดตามพัฒนาการทางกฎหมายและการศึกษากฎหมายในประเทศเพื่อนบ้าน
  4. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายศิษย์เก่าที่เข้มแข็งเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของคณะนิติศาสตร์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของนักศึกษากฎหมาย และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะนิติศาสตร์ผ่านการระดมทุน
  5. เพิ่มจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้งรับเข้ามาศึกษาและส่งออกไปศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4

มุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการวิชาการที่ได้มาตรฐานสากล

เป้าประสงค์ พัฒนาการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ได้รับความรู้ ทางกฎหมายที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการอย่างเหมาะสม 

  1. ให้ความรู้และตอบปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างทันท่วงทีผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและสะดวกในการเข้าถึง เช่น การเผยแพร่และให้ความรู้ทางกฎหมายผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือตอบคำถามกฎหมายปัจจุบันที่สังคมสงสัยโดยใช้รูปแบบที่น่าสนใจ เช่น การใช้ infographic
  2. เผยแพร่งานวิจัยเพื่อตอบโจทย์สังคมในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจ
  3. จัดทำวารสาร Thammasat Journal of Thai Legal Studies เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไทยในเวทีสากล
  4. จัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ และศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่ตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจในพื้นที่ภาคเหนือ
  5. ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายให้เป็นหน่วยที่สามารถให้บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษแก่องค์กรของรัฐและองค์กรเอกชนโดยมีมาตรฐานในระดับทัดเทียมกับสำนักงานกฎหมาย เพื่อให้บริการทางกฎหมายแก่สังคมและเปิดโอกาสให้อาจารย์ประจำมีประสบการณ์การปรับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ
  6. เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่สนใจสามารถเข้าฟังการบรรยายตามหลักสูตรในบางเรื่อง หรือการอบรมหรือการเผยแพร่ความรู้บนระบบออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกขึ้น
  7. ส่งเสริมให้นักศึกษากฎหมายมีส่วนร่วมให้การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายทั้งที่เป็นภาษาไทยและเป็นภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงกระบวนยุติธรรมอย่างเท่าเทียม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5

มุ่งสู่ความมั่นคง ยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการที่ทันสมัย

เป้าประสงค์ มีระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานงานบุคคลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และบุคลากรสามารถทำงานเกิดผลสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย 

  1. พัฒนาให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น smart law school โดยมีเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และสมบูรณ์มากที่สุด และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การบริหารงานบุคคล การจัดการเงินและงบประมาณ งานธุรการอื่น ๆ และการให้บริการแก่นักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความซับซ้อนของระบบการทำงาน เพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณ ซึ่งจะสอดรับกับเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จะเป็น smart university
  2. ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยการให้และหาแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท การศึกษาวิจัยระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศ การเข้าร่วมฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงาน
  3. ส่งเสริมให้อาจารย์เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เช่น การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อกฎหมาย และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนางานวิจัยด้านกฎหมายสาขาต่าง ๆ กับเทคโนโลยี
  4. ส่งเสริมให้อาจารย์แลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับเทคนิควิธีการสอน และการวัดผล ทั้งในและนอกชั้นเรียน เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  5. จัดหาแหล่งทุนสนับสนุนให้อาจารย์ประจำไปศึกษาในระดับปริญญาเอก เข้าร่วมการอบรมสัมมนาและการศึกษาวิจัยระยะสั้น และการเป็น visiting scholar หรือ visiting researcher ณ สถาบันการศึกษาหรือวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
  6. จัดหาแหล่งทุนสนับสนุนในการดำเนินงานของคณะนิติศาสตร์เพื่อเสริมหรือทดแทนการได้รับการอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระดมทุนจากศิษย์เก่าหรือบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะร่วมพัฒนาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. การส่งเสริมให้นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี โท และเอก ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมเข้าร่วมโครงการผู้ช่วยอาจารย์ (teaching fellowship) หรือผู้ช่วยวิจัย (research assistant) เพื่อเตรียมบุคลากรที่มีคุณภาพให้เป็นอาจารย์ประจำในอนาคต
  8. จัดตั้งหน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์โดยมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในจำนวนเพียงพอที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการสังคม และการบริหารจัดการทางธุรการของคณะนิติศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพและสอดรับกับการเปลี่ยนของสังคมในยุค Thailand 4.0
  9. ปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลและพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานและเกิดความเป็นธรรม
  10. ปรับปรุงระบบการพิจารณาความดีความชอบ (การคิดคะแนน workload) ของอาจารย์ประจำให้ทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานและมีความเป็นธรรม
  11. พัฒนาระบบการพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์ประจำชาวต่างชาติให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรม และปรับปรุงระบบธุรการให้เป็นภาษาอังกฤษมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของอาจารย์ประจำชาวต่างชาติ
  12. พัฒนาระบบการบริหารจัดการทางการเงิน บัญชี และพัสดุให้ทันสมัย ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
  13. วางแผนเรื่องอัตรากำลังและการทดแทนอัตรากำลัง (succession plan) รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร (ทั้งเรื่องงบประมาณ สายความเชี่ยวชาญ) ของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ
  14. แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมเพื่อตรวจสอบและเสนอแนะเพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาที่มีข้อจำกัด เช่น ผู้พิการ นักศึกษาต่างชาติ ได้รับบริการและสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม
  15. ปรับปรุงการให้บริการทางการศึกษา การวิจัย และงานธุรการให้ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาที่มีข้อจำกัด เช่น ผู้พิการ นักศึกษาต่างชาติ ได้รับบริการและสามารถทำงานและเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ) ศูนย์รังสิต

กิต  เนื้อหารายวิชามุ่งให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานต่อกฎหมายและนิติวิธีเบื้องต้น มีความรู้ความเข้าใจต่อเนื้อหาของกฎหมายพื้นฐานในสาขากฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ นิติวิธีที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจความแตกต่างของลักษณะเฉพาะและนิติวิธีเฉพาะของแต่ละสาขากฎหมาย โดยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบกฎหมายเดียวกันได้ สามารถพิจารณากฎหมายจากมุมมองอื่น ๆ นอกจากบนพื้นฐานของตัวบทกฎหมายหรือเอกสารทางกฎหมาย และมีทักษะพื้นฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีสาขาความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้าน 6 สาขา ดังนี้  สาขากฎหมายแพ่ง  สาขากฎหมายอาญา  สาขากฎหมายพาณิชย์  สาขากฎหมายมหาชน  สาขากฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษาเลือกศึกษาและมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้านนั้น ๆ

คณะนิติศาสตร์รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ โดยเปิดรับสมัคร 3 รอบ ดังต่อไปนี้

  • รอบที่ 1 โครงการผู้มีความสามารถดีเด่นทางการกีฬา
  • รอบที่ 2 รอบโควตา เปิดรับสมัคร 7 โครงการ ได้แก่ โควตาพื้นที่ โครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือก โครงการนักเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  โครงการรับนักเรียนพลเมืองจิตอาสา  โครงการนักศึกษาผู้มีความสามารถโดดเด่นทางการกีฬา  โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง  และโครงการนักศึกษาพิการ 
  • รอบที่ 3 Admissions

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติศูนย์ลำปาง 

พ.ศ. 2546  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเริ่มก่อตั้งขึ้นและเปิดการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายในระดับปริญญาตรีให้แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นมาแล้ว หรือที่เรียกว่า หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคบัณฑิต)

พ.ศ. 2552  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเริ่มจัดการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายในระดับปริญญาตรีให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือที่เรียกว่าหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ) ศูนย์ลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาหรือสนใจที่จะศึกษาในภาคเหนือของประเทศ    การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนี้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต   การถ่ายทอดความรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายในสาขาต่าง ๆ ทั้งที่ประจำอยู่ที่ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง

พ.ศ. 2561  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ได้เพิ่ม “สาขากฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Law and Sustainable Development)” ซึ่งเป็นสาขากฎหมายใหม่นอกเหนือจากสาขากฎหมายเดิมที่มีในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และมีการเรียนการสอน ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มาอย่างต่อเนื่อง  สาขากฎหมายใหม่นี้ประกอบด้วยรายวิชา ทางด้านกฎหมายเกือบ 20 วิชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น   ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนรุ่นหลัง ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่จำกัดอย่างเห็นและตระหนักถึงคุณค่า   และให้ความสำคัญแก่การรักษาสภาพเศรษฐกิจที่ดี ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำลายเศรษฐกิจของประเทศอื่น และรักษาไว้ซึ่งประโยชน์โดยส่วนใหญ่ของสังคมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการอยู่ร่วมกันบนโลกอย่างสันติสุขภายใต้การให้ความสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN)

โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ประกอบด้วยการศึกษารายวิชารวมกันไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี

คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าศึกษา ประมาณปีละ 200 คน โดยเปิดรับสมัครตามระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ทั้งหมด 2 รอบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • TCAS รอบที่ 2 (Quota)หรือโครงการโควตาพื้นที่ (ศูนย์ลำปาง) รับนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์ แพร่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก  ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และ อุทัยธานี และเขตพื้นที่ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์  ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ  บุรีรัมย์  มหาสารคาม  มุกดาหาร  ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร  สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ  อุดรธานี และอุบลราชธานี
  • TCAS รอบที่ 3 (Admission) รับนักเรียนหรือนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยต้องศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเท่านั้น

 

นอกจากนี้ การเรียนการสอนที่จัด ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยังให้ความสำคัญกับความผูกพัน ความใกล้ชิด และความอบอุ่นระหว่างคณาจารย์ประจำศูนย์ลำปางและนักศึกษา และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศร่มรื่น และปราศจากความเร่งรีบจากสภาพการจราจรที่แออัดในเมืองใหญ่ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องการเรียน การทำกิจกรรม และการพักผ่อน โดยปราศจากความกังวลในเรื่องคุณภาพการศึกษาและโอกาสในการประกอบอาชีพที่ไม่แตกต่างจากศูนย์การศึกษาอื่น

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต(ภาคบัณฑิต)

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต 

หลักสูตร International LL.B. Program in Business Law 

หลักสูตร International LL.M. Program in Business Law 

หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

 

ปรัชญาและวัตถุประสงค์

หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะแห่งอนาคตอย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ โดยบูรณาการกฎหมายและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมไทยและสังคมโลกให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตมุ่งเน้นการศึกษาที่มีการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์ด้วยตนเอง และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลอย่างรวดเร็วตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนำความรู้ระดับสูงในเชิงวิชาการไปใช้ในการประกอบอาชีพทางวิชาการและวิชาชีพทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของต่างประเทศ และแสวงหาความรู้ใหม่และทันสมัยเพื่อนำไปช่วยแก้ไขปัญหากฎหมายและพัฒนากฎหมายให้กับสังคมและประเทศชาติ

 

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต เป็นการสร้างโครงการวิจัยและการดำเนินการวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชานิติศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) จริยธรรม (Ethics) และลักษณะบุคคล (Character)

โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต PLOs ไว้ดังนี้

ความรู้ (Knowledge)
PLO 1 อธิบายความรู้ที่สำคัญต่อการนำไปปฏิบัติ
PLO 2 ใช้ความรู้นำไปต่อยอดและเชื่อมโยงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
PLO 3 ใช้องค์ความรู้ใหม่นำไปสู่การแก้ปัญหาแบบองค์รวมเป็นที่ยอมรับอ้างอิงได้หรือปรับใช้ในบริบทของสังคม
ทักษะ (Skills)
PLO 4 พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างความรู้ในการปฏิบัติโดยเลือกใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลหรือจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม
PLO 5 พัฒนาความสามารถในการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เชิงวิชาการและวิชาชีพในระดับที่อ้างอิงหรือปรับใช้ในบริบทอื่นได้
PLO 6 พัฒนาทักษะในการแสดงเหตุผลร่วมกับผู้อื่นที่นำไปสู่การพัฒนาองค์กรและสังคมในยุคดิจิตัล
จริยธรรม (Ethics)
PLO 7 แสดงทักษะการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนในบริบทของสังคมโดยคำนึงถึงคุณธรรม ศีลธรรมและจรรยาบรรณเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
PLO 8 แสดงความคิดริเริ่มหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของกฎระเบียบและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อทบทวนและแก้ไขโดยสะท้อนถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม ศีลธรรมและจรรยาบรรณ
PLO 9 แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ศีลธรรมและจรรยาบรรณ
ลักษณะบุคคล (Character)
PLO 10 รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 11 ปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่ม
PLO 12 แสดงความสามารถ วางแผนต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองในวิชาชีพกฎหมาย

 

การรับเข้าศึกษา

การเข้าศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ผู้สมัครสอบความรู้เกี่ยวกับข้อเสนอวิทยานิพนธ์ที่ผู้สมัครประสงค์จะศึกษาในระดับปริญญาเอก และนอกจากนี้ผู้สมัครจะต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS) เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม 

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)