ประวัติและข้อมูลเกี่ยวกับคณะฯ
ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด เศรษฐบุตร เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2449 (ปีมะเมีย) ณ บ้านพริบพรี ถนนตีทอง กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ดเป็นบุตรมหาอำมาตย์โทพระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) และคุณหญิงลมัย นรเนติ บัญชากิจ (โภคสุพัฒน์) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน
ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ดได้สมรสกับนางพิพิธ เศรษฐบุตร (สุนทรวร) บุตรีพระยาจ่าแสนยบดีและคุณหญิงเลื่อน จ่าแสนยบดี มีบุตรและธิดารวม 3 คน ได้แก่
- นายจิตริก เศรษฐบุตร สมรสกับ ม.ร.ว.วิวรรณ วรวรรณ ก่อนนั้นเคยสมรสกับ น.ส.จานีน อ๊อกเซีย
- นายจิรศักดิ์ เศรษฐบุตร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ น.ส.อรวรรณ พรหมเพ็ญ
- นางเทพขจิตร วงศ์ไพบูลย์ สมรสกับ ร.อ.ต.ณรงค์ วงศ์ไพบูลย์
ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2538 สิริรวมอายุได้ 89 ปี 1วัน
ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแบบคนฝรั่งเศสจากโรงเรียนรัฐบาลลีเซ่แห่งเมืองเกรอโนเบลอ ประเทศฝรั่งเศส และประกาศนียบัตรการค้าของสถาบันการค้าของมหาวิทยาลัยกฎหมายแห่งเมืองเกรอโนเบลอ เมื่อปี พ.ศ. 2465 และโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2476
ประวัติการรับราชการที่สำคัญของศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด ได้แก่
- พ.ศ. 2474 ดำรงตำแหน่งฝึกหัดราชการ
- พ.ศ. 2475 ดำรงตำแหน่งฝึกหัดผู้พิพากษา
- พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษากระทรวงยุติธรรม/ศาลแพ่ง
- พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครสวรรค์
- พ.ศ. 2478 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอาญา (แผนกพิเศษ)
- พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลแพ่ง (แผนกพิเศษ)
- พ.ศ. 2481 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอาญา
- พ.ศ. 2482 ดำรงตำแหน่งเนติตุลาการ
- พ.ศ. 2483 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหนองคาย
- พ.ศ. 2486 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอาญา
- พ.ศ. 2490 รับโอนมารับราชการเป็นเลขานุการเอก กรมการเมืองตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2492 ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสัญญา กรมการเมืองตะวันออก
- พ.ศ. 2493 ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสนธิสัญญาทวิภาคี กรมสนธิสัญญา
- พ.ศ. 2494 ดำรงตำแหน่งเลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
- พ.ศ. 2495 ดำรงตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสำนักงานปลัดกระทรวง
- พ.ศ. 2496 ได้รับเลื่อนเป็นชั้นพิเศษและไปเป็นอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
- พ.ศ. 2502 ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (16 มี.ค.) และดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ (23 ก.ค.)
- พ.ศ. 2503 ดำรงตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
- พ.ศ. 2506 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส และรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูต ผู้มีอำนาจเต็มเต็มประจำสาธารณรัฐโปรตุเกสอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยมีถิ่นพำนักอยู่ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2507 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสมาพันธ์สวิสและรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสมาพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวียกับเป็นเอกอัครราชทูตประจำสำนักวาติกัน โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเบิร์น สมาพันธ์สวิส
- พ.ศ. 2510 ข้าราชการบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุ
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2451 ที่บ้านตรอกข้าวสาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรนายทองจีน และนางละม้าย ติงศภัทิย์ ศาสตราจารย์จิตติ ได้สมรสกับคุณหญิงตลับ ติงศภัทิย์ (โล่ห์สุวรรณ) บุตรนายร้อยเอกหลวงมลายบรจักร (บุญมี โล่ห์สุวรรณ) และนางจรูญ มลายบรจักร (ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2489 มีบุตรธิดา 6 คน คือ
- นางจินตลา วิเศษกุล สมรสกับนายมยูร วิเศษกุล มีบุตร 2 คน คือนางสาวฟ้าใส วิเศษกุล และนางสาวไปรยา วิเศษกุล
- นายจาริต ติงศภัทิย์ สมรสกับ ม.ร.ว.กัลยา จิตรพงศ์ มีบุตร 1 คน คือ นางสาวรมณียา ติงศภัทิย์
- นางจิตริยา ปิ่นทอง สมรสกับนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง มีบุตร 1 คน คือ ดร.จารีย์ ปิ่นทอง
- นางจาตุรี ติงศภัทิย์
- นางสาวจีรติ ติงศภัทิย์
- นางสาวพิรุณา ติงศภัทิย์
เมื่อเยาว์วัย มารดาได้เริ่มสอนหนังสือให้ศาสตราจารย์จิตติตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน จากนั้นได้รับการศึกษาจากโรงเรียน “ครูเชย” ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ใกล้บ้าน เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา ในปี พ.ศ. 2470 ศาสตราจารย์จิตติสำเร็จเนติบัณฑิตชั้นที่ 2 จากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และในปี พ.ศ. 2485 สำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 สำเร็จนิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magna Cum Laude) และกฎหมายเปรียบเทียบ (Master of Comparative Law) จากมหาวิทยาลัย Southern Methodist University ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อสำเร็จเนติบัณฑิต อายุยังน้อย เข้ารับการเกณฑ์ทหาร โดยได้สมัครเป็นพลตำรวจอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน และได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนกฎหมายแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจด้วย เมื่อพ้นการเกณฑ์ทหารจึงได้เริ่มชีวิตราชการ ประวัติการรับราชการที่สำคัญ ได้แก่
- พ.ศ. 2471 ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2472 ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดปราจีนบุรี
- พ.ศ. 2474 ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2476 โอนมารับราชการในกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2477-2484 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดปราจีนบุรี
- พ.ศ. 2484-2486 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2486-2488 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลแขวงพระนครเหนือ
- พ.ศ. 2488-2491 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระนอง
- พ.ศ. 2491 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- พ.ศ. 2493 ดำรงตำแหน่งเลขานุการศาลฎีกา
- พ.ศ. 2496 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พ.ศ. 2497 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
- พ.ศ. 2503 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พ.ศ. 2506 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หลังจากลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์จิตติได้เข้ารับตำแหน่ง ดังนี้
- พ.ศ. 2512 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (ปัจจุบันคือฝ่ายกฎหมาย) ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุราชการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2514-2517 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2517 ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา
- พ.ศ. 2520 ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (ชุดแรก)
- พ.ศ. 2527 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2527 จนถึงอสัญกรรม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
นอกจากนี้ศาสตราจารย์จิตติ ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการพิเศษอื่น ๆ อีก ดังนี้
- ประธานคณะกรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 6 สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา
- ประธานคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ กองที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
- กรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- กรรมการส่งเสริมพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคม
- กรรมการพิเศษพิจารณาสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์
- ประธานคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
- กรรมการประจำคณะ และกรรมการปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายวิชาต่าง ๆ อาทิ กฎหมายอาญา กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน และบัญชีเดินสะพัด ลักษณะประกันภัย กฎหมายแพ่งลักษณะหนี้ หลักวิชาชีพนักกฎหมาย และวิชากฎหมายอาญาที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ที่ปรึกษากฎหมาย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- กรรมการในคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists)
เครื่องราชอิสริยภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน
- ปฐมจุลจอมเกล้า วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2435
- เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 2 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2534
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2516
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2516
- มหาวชิรมงกุฎ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508
เกียรติคุณในทางวิชาการที่ศาสตราจารย์จิตติได้รับ
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับการประกาศให้เป็น “นักกฎหมายดีเด่น” โดยสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2526
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2533 กลุ่มสาขานิติศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ชื่อเดิมคือ นายสายหยุด แสงอุทัย เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2451 อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี บิดาชื่อ นายจ๋าย แสงอุทัย มารดาชื่อ นางนุ่ม แสงอุทัย สมรสกับ นางบุหงา แสงอุทัย มีบุตรี 2 คน ได้แก่
แพทย์หญิงณัฐวดี แสงอุทัย สไตนเฮาส์
นางสาวใจงาม แสงอุทัย
ศาสตราจารย์ ดร.หยุดถึงแก่อนิจกรรม ณ โรงพยาบาลธนบุรี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2522 สิริรวมอายุได้ 71 ปี 8 เดือน 22 วัน
ศาสตราจารย์ ดร.หยุดสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมัธยมโฆษิตสโมสร และเนติบัณฑิตไทยจากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และสำเร็จดอกเตอร์กฎหมายเยอรมันขั้นเกียรตินิยมชั้นสูง (Magna Cumlaude) จากมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี
ประวัติการรับราชการของศาสตราจารย์ ดร.หยุดที่สำคัญ ได้แก่
- เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งพลตำรวจกองฟังคดี
- เป็นข้าราชการวิสามัญชั้นโทสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ภายหลังจากจบการศึกษาจากประเทศเยอรมนี
- ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2496 และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการร่างกฎหมายประจำจนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2511
นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ยังได้รับราชการพิเศษเป็นกรรมการในส่วนราชการต่าง ๆ
ประวัติการทำงานนอกราชการเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
- เป็นกรรมการป้องกันภัยทางอากาศแห่งราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2487
- เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นกรรมการปรับปรุงกิจการศาลเมื่อ พ.ศ. 2497
- ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2519
- เป็นราชบัณฑิตในสำนักธรรมศาสตร์และการเมืองประเภทสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ (รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและแผนกคดีอาญา) เมื่อ พ.ศ. 2516
- เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ ที่ปรึกษากฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารออมสินเมื่อ พ.ศ. 2512
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่าง และตรวจชำระสะสางหรือปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่น ๆ ของไทยเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้รับการยอมรับอย่างมากในทางวิชาการ ให้เป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย เนติบัณฑิตยสภา และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในลักษณะวิชาต่าง ๆ แทบทุกแขนง และที่มีชื่อเสียงมาก คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญา ซึ่งท่านได้รับตำแหน่งและเกียรติคุณทางวิชาการที่สำคัญ ดังนี้
- ศาสตราจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้แต่งตำราวิชากฎหมายเอาไว้ถึง 32 เล่ม บทความในทางกฎหมายประมาณ 50 บทความ และบันทึกท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาอีกประมาณ 200 เรื่อง ซึ่งหลายเล่มได้รับการยกย่องให้เป็นมาตรฐานทางวิชาการและใช้ในการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยที่ได้รับพระราชทาน ได้แก่
- พ.ศ. 2485 เหรียญช่วยราชการเขตภายใน (จ.ช.)
- พ.ศ. 2496 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม. (ศ).)
- พ.ศ. 2496 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2496 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- พ.ศ. 2497 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2498 เหรียญจักรพรรดิมาลา
- พ.ศ. 2598 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2599 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2510 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ
พ.ศ. 2510 ได้รับ บุนเดส เรพุบลิก คอชลันด์ ชั้นที่สอง (The Knight Commander s, Cross (Badge And Star) of The Order of Merit of the Federal Republic of Germany) จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี
ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม เกิด ณ บ้านถนนอนุวงษ์ อำเภอจักรวรรดิ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2454 เป็นบุตรของพระยาอุภัยพิพากษา (เกลื่อน ชัยนาม) และคุณหญิงอุภัย พิพากษา (จันทร์ ชัยนาม) ในครั้งที่ศาสตราจารย์ไพโรจน์เกิด ท่านบิดาได้แต่งโครงให้พรไว้ว่า
” ศุกระปักษ์สิบห้า คุรุวาร
จิตรมาสสุกรกาล เกิดเช้า
ห้าโมงกับอีกฐาน แถมเศษ สามแฮ
ลูกชื่อไพโรจน์เจ้า จุ่งได้สุขเกษม “
ศาสตราจารย์ไพโรจน์มีพี่ร่วมมารดา 1 คน คือ นายดิเรก ชัยนาม ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., และมีพี่และน้องร่วมบิดาอีก 6 คน คือ
- พี่ นางแม้น ลิ้มปินันท์ อุไทยราชธานี (ถึงแก่กรรม)
- พี่ พันตำรวจเอกนิรันดร ชัยนาม (ถึงแก่อนิจกรรม) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- น้อง นางประเทือง คูสมิธ (ถึงแก่กรรม)
- น้อง พลอากาศโทอุส่าห์ ชัยนาม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- น้อง นายโอภาส ชัยนาม (ถึงแก่กรรม) อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงลากอส ประเทศไนจีเรีย
- น้อง คุณหญิงสุภางค์ อังคณารักษ์ ภริยา ดร. วิญญู อังคณารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
ศาสตราจารย์ไพโรจน์มงคลสมรสกับนางสาวบรรเลง กันะบุตร (คุณหญิงบรรเลง ชัยนาม ต.จ., ต.ม. ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2532) บุตรพระยาราชวรัยการ (บู่ กันตะบุตร) และคุณหญิงบุญรอด ราชวลัยการ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ณ จังหวัดลำปาง มีบุตรชาย 5 คน คือ
- ดร.ศุภศิลป ชัยนาม
- นายศรีสวัสดิ์ ชัยนาม สมรสกับนางสาวมาเรีย มัลเลดด์
- นายอัษฎา ชัยนาม สมรสกับนางสาวอรสา สถาปิตานนท์
- นายอภิพงศ์ ชัยนาม สมรสกับนางสาวสุชาดา โมกขะเวส
- นายสุรพงษ์ ชัยนาม สมรสกับนางสาวณัฐวิภา อินทวงศ์
ศาสตราจารย์ไพโรจน์เป็นคนมีร่างกายแข็งแรง แต่มีโรคประจำตัวอยู่ คือ เบาหวาน หลังจากที่คุณหญิงบรรเลง ชัยนาม ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2532 แล้ว สุขภาพของท่านเริ่มทรุดลง ได้มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลนับตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา มีอาการบวมที่ขาทั้ง 2 ข้าง พบเป็นโรคไตวาย และเริ่มมีปัญหาหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย ได้รักษาตัวครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ด้วยอาการไตวาย อาการไม่ดีขึ้น และถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2537 สิริรวมอายุได้ 82 ปี 11 เดือน และ 22 วัน
ศาสตราจารย์ไพโรจน์เข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมวัดจักรวรรดิ์ (วัดสามปลื้ม) ตั้งแต่เมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ จากนั้นศึกษาชั้นมัธยมศึกษา และชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) และศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม สอบได้ภาค 1 และภาค 2 เป็นเนติบัณฑิตไทยในปี พ.ศ. 2474 ขณะมีอายุเพียง 20 ปี และได้รับประกาศนียบัตรเป็นสามัญสมาชิกของเนติบัณฑิตสภาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2475
ในระหว่างที่ศึกษาวิชากฎหมายอยู่นั้น ศาสตราจารย์ไพโรจน์ได้สมัครเป็นผู้ช่วยล่ามอาจารย์ชาวฝรั่งเศสของโรงเรียนกฎหมายในขณะนั้น โดยเฉพาะอาจารย์ ดร.เอกูส์ และอาจารย์ ดร.เรโวส์ โดยมีอดีตนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชันรุ่นอาวุโสเป็นหัวหน้าคือ นายวิจิตร ลุลิตา และ ดร.เสริม วินิจฉัยกุล
ขณะดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราจารย์ไพโรจน์ได้เข้าศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในปีการศึกษา 2504 – 2505 จบการศึกษารุ่นที่ 4 (วปอ.4)
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 แล้ว ศาสตราจารย์ไพโรจน์ได้เข้ารับราชการในกรมเลขาธิการคณะกรรมการราษฎรและสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามลำดับ ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการในกองการโฆษณาซึ่งตั้งขึ้นใหม่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2476 โดยได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกปาฐกถา สำนักงานโฆษณาการและได้รับการเลื่อนตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
- มกราคม พ.ศ. 2484 รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมโฆษณาการ
- เมษายน พ.ศ. 2483 ผู้ช่วยอธิบดีกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) สำนักนายกรัฐมนตรี
- กรกฎาคม พ.ศ. 2482 เลื่อนเป็นชั้นเอก หัวหน้ากองเผยแพร่ความรู้
- สิงหาคม พ.ศ. 2481 เลขานุการกรรมการ สำนักงานโฆษณาการ
- 13 มีนาคม พ.ศ. 2484 เลื่อนเป็นข้าราชการชั้นพิเศษ
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 อธิบดีกรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี
- 24 พฤษภาคม – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เลขาธิการพฤฒสภา
- 1 มกราคม พ.ศ. 2490 กลับไปรับราชการเป็นอธิบดีกรมโฆษณาการอีกครั้งหนึ่ง
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โอนมารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2491 อธิบดีกรมพิธีการ (กรมพิธีการทูตในปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2493 อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
- พ.ศ. 2495 รัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำอิตาลี
- พ.ศ. 2497 รัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำอิสราเอลอีกตำแหน่งหนึ่ง
- พ.ศ. 2499 – 2504 เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม (อิตาลี)
- พ.ศ. 2502 – 2504 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ (กรีก) อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พ.ศ. 2503 – 2504 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเยรูซาเลม (อิสราเอล) อีกตำแหน่งหนึ่ง
- เมษายน พ.ศ. 2504 เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2504 รักษาการในตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- 2 มกราคม พ.ศ. 2505 – 2510 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2510 – 2512 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก (เนเธอร์แลนด์) กรุงบลัสเซลส์ (เบลเยี่ยม) และราชรัฐลักเซมเบอร์ก หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประจำประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
- พ.ศ. 2512 – 2514 เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส (ฝรั่งเศส) และกรุงลิสบอน (โปรตุเกส)
ศาสตราจารย์ไพโรจน์ได้เป็นผู้บรรยายพิเศษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองและปฏิบัติราชการพิเศษอื่น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- พ.ศ. 2478 – 2495 เป็นผู้บรรยายลักษณะวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ (ปริญญาตรี)
- พ.ศ. 2490 – 2491 เป็นบรรณาธิการหนังสือนิติสาส์นซึ่งเป็นหนังสือในทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2494 – 2495 เป็นผู้บรรยายลักษณะวิชาสนธิสัญญากับนานาประเทศ (ปริญญาโททางการทูต)
- พ.ศ. 2507 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2506 – 2509 เป็นผู้บรรยายลักษณะวิชาขนบธรรมเนียมในทางการูทูต (ปริญญาตรี) ในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2508 – 2509 เป็นผู้บรรยายลักษณะวิชาขนบธรรมเนียมในทางการทูตตและพิธีการ (ปริญญาตรี) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2514 – 2533 เป็นผู้บรรยายลักษณะวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
- พ.ศ. 2520 – 2521 ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2486 (11 ก.ค. – 25 ส.ค.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเยือนประเทศญี่ปุ่นและแมนจูกัวอย่างเป็นทางการ ในฐานะอธิบดีกรมโฆษณาการตามคำเชิญของรัฐบาลทั้งสอง
- พ.ศ. 2493 – 2495 ประธานคนแรกของคณะกรรมการบริหารของมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (มูลนิธิฟุลไบรท์)
- พ.ศ. 2492 ผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 4 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2492 ผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 6 ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2500 – 2502 ผู้แทนไทยในการประชุมใหญ่ขององค์การอาหารและเกษตร (FAO) สมัยที่ 7, 8, 9 และ 10 ที่กรุงโรม อิตาลี
- พ.ศ. 2503 เป็นเอกอัครราชทูตพิเศษ ผู้แทนรัฐบาลไทยไปร่วมฉลองเอกราชของสาธารณรัฐมาลากาซี (29 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2503)
- พ.ศ. 2506 เยือนสาธรณรัฐจีนอย่างเป็นทางการในฐานะปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (19 – 25 เมษายน พ.ศ. 2506)
- พ.ศ. 2507 อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับนักเรียนไทยในต่างประเทศ
- พ.ศ. 2505 กรรมการพิจารณาสถานที่สร้างรัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
- พ.ศ. 2507 เป็นเอกอัครราชทูตพิเศษ ผู้แทนรัฐบาลไทยไปเข้าร่วมพิธีเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีปัก จุง ฮี แหล่งสาธารณรัฐเกาหลี
- พ.ศ. 2508 ผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 19 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2509 อ.ก.ม. วิสามัญพิจารณาคุณวุฒิ
- พ.ศ. 2509 ประธานกรรมการคณะกรรมการอำนวยการศึกษาและฝึกอบรมข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2509 หัวหน้าคณะทูตสันถวไมตรีไทยไปเยือนสาธารณรัฐไอวอรี่โคสต์ โตโกดาโฮเม ไลบิเรีย เซเนกัล ละทูนิเซีย สำหรับที่ประเทศไอวอรี่โคสต์นี้ยังเป็นการไปร่วมฉลองครบ 6 ปี แห่งการประกาศเอกราช ณ กรุง อาบิจันด้วย
- พ.ศ. 2509 ร่วมเดินทางไปเยือนสหภาพพม่ากับคณะของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509
- พ.ศ. 2516 – 2519 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2516 – 2537 สมาชิกหมู่ประจำชาติไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก
- พ.ศ. 2517 ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517
- พ.ศ. 2517 เป็นผู้แทนอยู่ในคณะผู้แทนไทยไปประชุมสหภาพรัฐสภาที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2518 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมรัฐสภาของกลุ่มประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
- พ.ศ. 2518 – 2519 ตุลาการรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาเป็นผู้ลงคะแนนเลือก
- พ.ศ. 2518 – 2522 นายกสมาคมฝรั่งเศสในประเทศไทย (ALLIANCE FRANCAISE)
- พ.ศ. 2520 – 2522 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2526 – 2530 นายกสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2527 – 2537 กรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายหมายเกี่ยวกับอนุสัญญาต่าง ๆ
- พ.ศ. 2532 – 2534 ตุลาการรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภาเป็นผู้ลงคะแนนเลือก
ศาสตราจารย์ไพโรจน์ยังได้รับพระราชทานปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการทูต และปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2509 และเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ตามลำดับ
ในโอกาสคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบปีที่ 56 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ไพโรจน์ได้รับมอบเข็มเกียรติยศในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าผู้สร้างชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัยในด้านวิชาการจนเป็นที่ยอมรับในวงการกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายมหาชน และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
บุคลากรสายวิชาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
248 หมู่ 2 ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงยางคก
อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง 52190