บทสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุด (รายคน) จากการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นอุทธรณ์ รอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 17 ประจำปีการศึกษา 2560 คะแนนสูงสุดอันดับ 1 ได้แก่ ณัฐพงค์ ทรายหมอ (เน) และอันดับ 2 ได้แก่ ปิยากร เลี่ยนกัตวา (แป้ง) สัมภาษณ์โดยผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์
หมายเหตุ การแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นอุทธรณ์ รอบภายในคณะนิติศาสตร์ ครั้งที่ 17 ประจำปีการศึกษา 2560 ได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันมาเป็นการใช้โจทย์เดียวตลอดการแข่งขัน ใช้ระบบเก็บคะแนน (ไม่ใช่ knock-out) และให้ผู้สมัครส่งแถลงการณ์ย่อ (memo) เป็นครั้งแรก
ผศ.ดร.กรศุทธิ์ : “อยากให้เล่าเหตุผลในการสมัครเข้าแข่งมูทคอร์ทซึ่งจัดโดยศูนย์นิติศาสตร์ครับ”
พชร : “คือแพ็ครู้สึกว่ากิจกรรมมูทคอร์ทเป็นกิจกรรมที่มีความท้าทายครับ เพราะว่าเป็นกิจกรรมที่แพ็คยังไม่เคยทำมาตลอดสี่ปีที่เรียนอยู่ แล้วพอมีการเปิดรับสมัครแข่งขันก็เลยสนใจเลยอยากรู้ว่าเราจะทำมันได้ดีแค่ไหน ก็เลยลองสมัครดูครับ”
ภาณพิศุทธ์ : “ก็รู้สึกว่ากิจกรรมมูทคอร์ทเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับเด็กของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์นะคะ ที่เราได้มีโอกาสได้เข้ามาร่วมทำการแข่งขัน คือสำหรับจอย จอยรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เราพัฒนาทักษะของการเป็นนักกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน แล้วก็ช่วยฝึกเรื่องความกล้าแสดงออกด้วย คือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ลองเข้ามาทำค่ะ”
ผศ.ดร.กรศุทธิ์ : “อยากให้เล่าเหตุผลในการสมัครเข้าแข่งมูทคอร์ทซึ่งจัดโดยศูนย์นิติศาสตร์ครับ”
พชร : “คือแพ็ครู้สึกว่ากิจกรรมมูทคอร์ทเป็นกิจกรรมที่มีความท้าทายครับ เพราะว่าเป็นกิจกรรมที่แพ็คยังไม่เคยทำมาตลอดสี่ปีที่เรียนอยู่ แล้วพอมีการเปิดรับสมัครแข่งขันก็เลยสนใจเลยอยากรู้ว่าเราจะทำมันได้ดีแค่ไหน ก็เลยลองสมัครดูครับ”
ภาณพิศุทธ์ : “ก็รู้สึกว่ากิจกรรมมูทคอร์ทเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับเด็กของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์นะคะ ที่เราได้มีโอกาสได้เข้ามาร่วมทำการแข่งขัน คือสำหรับจอย จอยรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เราพัฒนาทักษะของการเป็นนักกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน แล้วก็ช่วยฝึกเรื่องความกล้าแสดงออกด้วย คือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ลองเข้ามาทำค่ะ”
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “อยากให้เล่าเหตุผลในการสมัครเข้าแข่งมูทคอร์ทซึ่งจัดโดยศูนย์นิติศาสตร์ครับ”
ณัฐพงค์ : “ในส่วนของผมเนี่ยผมมีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นอัยการนะครับ ที่นี้ก่อนที่จะเป็นอัยการ ก็ทราบดีว่าต้องใช้ทักษะในการว่าความด้วย ผมก็เลยอยากรู้ตัวเองพอจะมีแววด้านนี้ไหม แล้วก็ที่สำคัญอยากจะรู้ว่าถ้าตัวเองลองทำเต็มที่ในการแข่งขัน เราจะไปได้ถึงรอบไหนครับ”
ปิยากร : “ของแป้งคือโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าคนที่เคยเข้าแข่งขันรายนี้หลาย ๆ คน ประสบความสำเร็จในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะไปเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์เอง หรือว่าอาจจะไม่ได้ไปเป็นอาจารย์ แต่ว่าไปประกอบอาชีพอื่น ๆ ทางด้านกฎหมาย แล้วก็รู้สึกว่าตัวเราเองก็อยากประสบความสำเร็จในการทำงานด้านกฎหมายเหมือนกัน ก็เลยเลือกที่จะเข้ามาแข่งขันในรายการนี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้ใช้ความรู้ทางด้านกฎหมาย รวมทั้งได้ใช้ทักษะด้านการพูดด้วยค่ะ”
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “ตอนจับคู่เพื่อนรวมทีมว่ามีวิธีการหรือแนวทางในการเลือกอย่างไรครับ”
ณัฐพงค์ : “ครับ ก็ในส่วนของเนนะครับ ผมก็จะเลือกเพื่อนร่วมทีมที่ไม่กดดันกันว่าจะต้องชนะหรือว่าจะต้องเข้ารอบที่เท่าไรอย่างนี้ครับ แต่จะเลือกเพื่อนร่วมทีมที่พร้อมที่จะสนุกไปกับเรา แล้วก็พร้อมที่จะทำเต็มที่กับเราจนถึงจุดสุดท้ายที่คิดว่าจะไปยืนอยู่ได้”
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “แล้วได้อย่างนั้นไหมครับ อันนี้ถามเพิ่มเติม”
ณัฐพงศ์ : “ได้ครับ ได้ตรงตามความประสงค์ แล้วก็โชคดีว่าเพื่อนร่วมทีมก็อยู่หอพักเดียวกันด้วย ในการฝึกซ้อม ในการทำประเด็นก็จะง่ายหน่อย แม้ว่าจะเป็นเวลาที่ค่อนข้างดึกแล้วก็ยังสามารถอยู่ด้วยกันทำประเด็นได้ครับ”
ปิยากร : “ของแป้งนี่ก็คือเลือกเพื่อนสนิทก่อนเลย แล้วส่วนใหญ่ก็คืออยากได้เป็นเพศเดียวกัน เพราะว่าเหมือนเราต้องใช้เวลาอีกครึ่งของวันกับเขา หลังจากเลิกเรียนเราก็ต้องหาที่ซ้อม ต้องหาที่คุยประเด็นกัน ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็คือจะเลือกเป็นหอพัก ซึ่งหอพักมันก็จะสะดวกมากกว่าถ้าเราหาคู่ที่แข่งขันเป็นเพศเดียวกันแล้วก็เป็นเพื่อนสนิท เพราะว่ามันสามารถคุยกันทุกเรื่อง แล้วก็สามารถเข้าไปอยู่หอพักเดียวกันได้ ถ้าแบบเป็นคนต่างเพศเวลาซ้อมมันก็จะลำบากนิดนึงอะไรประมาณนั้นค่ะ”
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “ขอถามเพิ่มเติมว่า อย่างเมื่อกี๊แป้งพูดถึงว่าเป็นเพศเดียวกัน ของเนก็เข้าใจว่าเป็นผู้ชายเหมือนกัน คิดว่ามีนัยยะอะไรไหม หรือว่าจริง ๆ ก็ไม่ได้มีประเด็นสำคัญอะไร”
ปิยากร : “สำหรับแป้งนะคะ การที่มีเพื่อนร่วมทีมเป็นเพศเดียวกันมันสะดวกมากกว่าในหลาย ๆ ด้าน อย่างเช่นในเวลาซ้อม ถ้าเราจะซ้อมพูดเราสามารถเลือกซ้อมที่หอพักของคนใดคนหนึ่งได้เลย เพราะว่าเราก็เข้าไปด้วยกันได้โดยง่าย แต่พอแป้งกับเน (รอบระดับประเทศ ซึ่งปิยากรและณัฐพงค์ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนคณะนิติศาสตร์คู่กัน) เวลาเรามาซ้อมกันเราต้องไปซ้อมกันที่ป๋วยค่ะ แล้วมันก็พูดเสียงดังไม่ได้ เราของดู performance วิธีการพูดของอีกฝั่งนึง จะให้พูดให้ดูเลยเพื่อที่จะแก้ไข ณ ตอนนั้นเลยก็ไม่ได้อีก เราก็ได้แค่มานั่งเรียงประเด็นกันแบบเบา ๆ สิ่งที่ทำได้ก็คือต้องไว้ใจและเชื่อใจกันว่าเวลาเขาพูดจริง ๆ ในการแข่งขันจริง ๆ เขาจะทำได้ดีค่ะ”
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “เนมีประเด็นเสริมไหมครับ”
ณัฐพงค์ : “จริง ๆ ก็อย่างที่แป้งพูดมานะครับ ก็จะเป็นเรื่องของแนวคิดหรือว่าวิธีมองประเด็นบางอย่าง การที่เป็นเพศเดียวกันมันอาจจะมีมุมมองที่คล้ายกัน ตรงนี้ก็อาจจะเกี่ยวด้วยในระดับหนึ่ง และด้วยความที่เราเป็นเพื่อนกันสนิทใจกันใน มันก็จะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเกร็ง พอสมองเราปลอดโปร่งเราผ่อนคลาย มันก็จะทำให้เราทำงานไปได้ดีครับ
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “อยากถามถึงการเตรียมตัวก่อนจะเริ่มแข่งขันว่าแต่ละคนมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง”
ณัฐพงค์ : “ส่วนของเนนะครับ การเตรียมตัวรอบภายในเนี่ย ตอนนั้นเป็นระบบการแข่งขันแบบ memo นะครับ ดังนั้นเนี่ยเราต้องทำการบ้านในรอบแรกก่อนที่จะส่ง memo หนักพอสมควร ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ทางคณะให้มา เราต้องศึกษาแล้วก็ตกผลึกข้อเท็จจริงจนแตกฉานเลย จนเราไม่เหลือที่ให้ความสงสัยแล้วว่ามันหมายความว่าอะไร คำนี้หมายความว่าอะไร แล้วหลังจากนั้นเนี่ยก็ค่อยไปศึกษาประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อสอบ แต่ที่สำคัญที่สุดครับ ถ้าเป็นกรณีที่เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่เรายังไม่เคยเรียน หรือเราไม่เคยรู้มาก่อนเลย ตรงนี้ก็ต้องทำการบ้านเพิ่มเป็นพิเศษ นี่ก็จะเป็นการเตรียมตัวแล้วหลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนของการเรียบเรียงประเด็น แล้วก็เขียนเป็น memo มาครับ”
ปิยากร : “ของแป้งนะคะ หลัก ๆ เลยก็ต้องดูก่อนเลยว่าสิ่งที่เราจะแข่งค่ะ คือแถลงการณ์ด้วยวาจามันคืออะไร โชคดีที่ว่าในตอนนั้นทางคณะกรรมการก็มีการส่งตัวอย่างคลิปของรอบชิงชนะเลิศปีที่แล้วมาให้ดู เราก็ไปนั่งดู ไปนั่งศึกษาว่า เขาทำยังไง เขาพูดอะไรกันบ้าง เขาลิสต์ประเด็นอะไรกันอย่างไรอย่างนี้ค่ะ แล้วก็เป็นครั้งแรกเลยด้วยที่ได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า memo ที่ต้องเขียนมาก่อน ทำให้เราต้องไปศึกษาค่ะว่าตัว memo นี้เราต้องเขียนอะไรบ้าง มันต้องมีประเด็นมากน้อยแค่ไหน เราสามารถใส่อ้างอิงอะไรได้มากน้อยอย่างไร เราจะซ่อนประเด็นต่าง ๆ ไว้ใน memo ยังไง ซึ่งพอเราทำ memo เสร็จแล้วค่ะ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือเราจะเกิดคำถามว่าแบบนื้ทำได้ไหม มันถูกต้องหรือเปล่า แป้งก็เตรียมคำถามที่เกิดขึ้นจากการเขียน memo แล้วก็คำถามที่มันอาจจะเกิดขึ้นในการแข่งขันรอบหน้า เราก็เตรียมแล้วก็ลิสต์ไปถามท่านคณะกรรมการเพื่อที่เราจะได้รับคำตอบมาปรับปรุงแก้ไขก่อนค่ะ”
ผศ. ดร.กรศุทธิ์ : “ตอนที่เตรียมแข่งแต่ละคนฝึกพูดด้วยไหมครับ หมายถึงว่าซ้อมพูดก่อนด้วยไหม ก่อนจะแข่งจริง”
ณัฐพงค์ : “ครับ ของเนก็ต้องซ้อมครับ เพราะว่าอย่างที่เราทราบกันดีว่ามีการจับเวลาในการแข่งขัน ทุกอย่างต้องเป็นตามกติกา ไม่ว่าประเด็นเราจะดีขนาดไหนแต่ถ้าเรารักษาเวลาในการแข่งขันไม่ได้ ตรงนี้ก็จะมีส่วนทำให้เราพ่ายแพ้ไปในที่สุด ดังนั้นการฝึกซ้อมกับตัวเองและการฝึกพูดเนี่ยจึงสำคัญมาก เพราะมันไม่ใช่แค่การทำให้เราพูดได้อยู่ในกรอบเวลาตามกติกาครับ แต่มันทำให้เราได้ทบทวนตัวเองว่าสิ่งที่พูดออกมาเนี่ยพอฟังแล้วมันแปลกไหม มัน make sense ไหม หรือว่าสุดท้ายแล้วมันเป็นสิ่งที่ต้องตัดไหมในประเด็นนี้ ประเด็นยิบย่อยหรือว่าประเด็นใหญ่ก็ตาม มันทำให้เราได้ทบทวนตัวเองไปด้วยว่าเราจะต้องพูดยังไงถึงจะดีแล้วก็ทันกับเวลาตามกติกา”
ปิยากร %3