บทสัมภาษณ์กิตติภัฏ จุฑาวรพงศ์ และพรรษสลิล รีพรหม ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ (Moot Competition) ภายในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556 สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์
คำถาม (1) : แนะนำประวัติการศึกษาและการทำงาน
พรรษสลิล : “ชื่อพรรษสลิล รีพรหม นะคะ ชื่อเล่นชื่อโบนัสค่ะ เข้าเรียนนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์รหัส รุ่น 53 ค่ะ จบนิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสองค่ะ แล้วก็เป็นอดีตนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ประเภททุน ก.พ. สำหรับบุคคลทั่วไป ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ ปี 2558 จบนิติศาสตรมหาบัณฑิต ด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (LLM in Criminal Justice) จาก Queen Mary University of London ค่ะ แล้วก็กลับมาใช้ทุนที่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยในช่วงการรับราชการ ได้ช่วยราชการที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมด้วยค่ะ ตอนนี้ก็ออกจากราชการแล้ว มาทำงานด้านเอกชน ค่ะเป็นที่ปรึกษาอาวุโสอยู่ที่บริษัท FYI (Bangkok) ค่ะ”
กิตติภัฏ : “ผมกิตติภัฏ จุฑาวรพงศ์ ชื่อเล่นชื่อท็อปครับ รหัส รุ่น 53 เหมือนโบนัสครับจบจบนิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง และกำลังจะสำเร็จการศึกษาปริญญาโท LLM คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ตอนนี้ผมเป็นนักเรียนฝึกหัดควบคุมจราจรทางอากาศ ที่บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ครับ เป็นตำแหน่งงานเพื่อจะได้รับการฝึกเพื่อจะได้เป็นผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) ต่อไป”
คำถาม (2) : เหตุผลที่สมัครเข้าแข่งขัน
พรรษสลิล : “จริงๆ เป็น Initiation ในการเริ่มต้นจากฝั่งทางท็อป เนื่องจากว่า เราสองคนทำกิจกรรมที่ไม่ได้เป็นด้านวิชาการเลยมาก่อนหน้านี้ โดยทางด้านโบเอง ทำงานกิจกรรมด้านการพูด ประชาสัมพันธ์ เช่น เป็นทูตรพีมาก่อน ก็อยู่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ งานวิ่งไปวิ่งมา เป็นงานประสานงาน ไม่ใช่งานวิชาการเลย เช่นเดียวกับท็อปก็ทำค่ายเทียน ซึ่งเป็นกิจกรรมธรรมะมาก่อน ทีนี้ท็อปก็รู้สึกว่าก่อนจบปีสี่ ซึ่งเราจะต้องสมัครงาน เข้าสู่ตลาดแรงงาน มันควรจะมีอะไรที่เป็นกิจกรรมด้านวิชาการ หรือที่เรียกว่า academic หน่อย ใน Profile เพื่อให้ประสบการณ์การทำกิจกรรมของเรารอบด้าน และมีคามรู้ด้านวิชาการเพิ่มเติม แล้วท็อปเขาบอกว่า เขาเองเป็นคนพูดไม่ค่อยเก่ง ก็เลยอยากจะพัฒนาทักษะด้านนี้ เพราะในอนาคต ท็อปมองว่า อาจจะได้ทักษะนี้ในการเป็นทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย ท็อปก็เลยมาชวน สรุปก็คือ เหตุผลหนึ่งก็คือ เป็นกิจกรรมด้านวิชาการที่สามารถส่งเสริมทั้งมิติด้านกฎหมายด้วย และก็ด้านบุคลิกภาพด้วย และสองคือ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้ใช้ทักษะการคิดวิเคร์ หรือ Critical thinking ต่างๆ ซึ่งจำเป็นกับงานด้านกฎหมายด้วยค่ะ”
กิตติภัฏ : “ก็เหตุผลที่ชวนโบก็ค่อนข้างคล้ายกันก็คือ อยากฝึก Skill ในการพูด แล้วก็ อยากฝึก Skill ในการ Research ข้อกฎหมายพวกนี้ด้วย เพราะว่าเผื่อจะได้ไปใช้ต่อในอนาคตครับ”
พรรษสลิล : “ใช่ค่ะ เพราะว่าอย่างตอนทีเตรียมตัวและแข่งขัน เรารับผิดชอบกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ อย่างพวกสาย Research พวกกฎหมาย คำพิพากษา หรือความเห็นกฤษฎีกา ตลอดจนความเห็นทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง หลัก ๆ จะเป็นท็อปทำและดูแลเป็นส่วนสำคัญ โดยท็อปจะรวบรวมมา แล้วโบนัสจะจัดทำเป็นข้อโต้แย้ง หรือประเด็นเป็นข้อ ๆ ว่าที่ฝั่งตรงข้ามจะตีเราได้ หรือช่องโหว่ต่าง ๆ ที่เขาจะยกขึ้นมา มันควรจะเป็นอะไรได้บ้าง แล้วถ้าเราจะตอบโต้ไปแบบไหน Argument แบบไหนที่เราจะยก และ Form ประโยคแบบนี้ หรือรูปแบบการนำเสนอมันควรจะไปทรงไหน ถึงจะตรงประเด็น รวมถึงกรนำเสนอด้วยโทนหรือบุคลิกภาพแบบไหน อะไรแบบนี้ด้วยค่ะ ก็คือช่วยกันดู นี่คือเหตุผลคร่าว ๆ ค่ะ”
คำถาม (3) : ความสำคัญและวิธีการในการคัดเลือกเพื่อนร่วมทีม
พรรษสลิล : “ของโบง่าย ๆ เลย คือท็อปมาชวน คือจริงโบไม่ใช่สาย Academic เลย แม้เหมือนจะเรียนได้ แต่ไม่ใช่สายที่คิดว่าจะทำงานด้านวิชาการได้รอดหรือแตกฉาน ดังนั้นโบคิดว่า เหตุผลที่เป็นท็อปเพราะว่ามันเสริมกันนะคะ อย่างโบถนัด เรื่องการนำเสนอ วาทศิลป์ การพูด รวมถึงการจับประเด็นเพื่อตอบโต้ กล่าวรวม ๆ คือทักษะโต้วาทีต่าง ๆ ถ้ารวบเรื่องวิชาการมาให้ โบสามารถนำไปย่อยต่อได้ง่ายกว่าเพื่อให้สื่อสารออกมาได้อย่างน่ารปะทับใจ หรือมีข้อคมที่ควรฟัง ซึ่งท็อปก็เป็น Researcher ให้ ดังนั้น ที่เลือกเป็นท็อป เพราะว่าสนิทกัน รู้จักกันมาก่อน จริง ๆ อยู่โต๊ะเดียวกันมาตั้งแต่ปีหนึ่งด้วยค่ะ แล้วก็นั่งเรียนติดกันมาเรื่อย ๆ ลงวิชาเดียวกันมาตลอด มันก็จะมีความเข้าใจกันในเรื่องมิติทางวิชาการ ค่อนข้างมากระดับนึง แล้วก็เห็นบุคลิกกันมาตั้งแต่ต้น”
กิตติภัฏ : “ที่เลือกโบนัสเนี่ยเพราะผมเห็นว่า โบนัสเขาทำกิจกรรมด้านนอกเยอะ คือเป็นทูตรพีแล้วก็มีทักษะในการพูดอะครับ ส่วนผมมองว่า เข้าใจว่ามี Skill ในการ Research แล้วก็สองคนรวมกันน่าจะไปด้วยกันได้ช่วยเสริมข้อเด่นข้อด้อยให้กันได้ แล้วก็สนิทกัน รู้จักกันมาในระดับนึง”
(คิดว่าเพื่อนร่วมทีมควรเป็นคนที่สนิทกันไหม?)
พรรษสลิล : “ถ้าถามโบนะ โบว่าควรจะ มันอาจจะไม่ได้จำเป็น ไม่ได้จำกัดกรอบ แต่คือถ้าเป็นลักษณะการทำงานในช่วงวัยมหาวิทยาลัย ซึ่งยังไม่ใช่โลกการทำงานจริง ๆ เรายังเด็ก ๆ ค่ะ เรายังไม่ได้มีจิตวิญญาณความเป็น Professional หรือทำงานอย่างวิชาชีพเยอะขนาดนั้น อาจจะไม่ได้สนิทใจเท่าการทำงานจริง ๆ นะคะ ดังนั้น ถ้าพูดวันนี้ เพื่อให้น้อง ๆ ระดับมหาวิทยาลัยเตรียมตัว ซึ่งน้อง ๆ อายุยี่สิบ ยี่สิบเอ็ด ยี่สิบสอง เลยคิดว่าถ้าสนิทกันก่อนอาจจะเวิร์คกว่า แต่ถ้ามองแบบโต สำหรับจรติคนที่สามารถทำงานแบบวิชาชีพได้ ถ้าเป็นตัวเราเอง ณ วันนี้ คิดว่า ไม่มีผลนะคะ ไม่จำเป็นต้องสนิทกันมาก่อน”
“อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ให้มองเป็นน้อง ๆ ที่แข่งขัน ส่วนตัวมองว่าสนิทกันอาจจะง่ายกว่า เพราะว่าอย่างของทีมเรา เวลาที่ท็อปมีปัญหา ตอนกลางดึก ๆ เช่น จู่ ๆ เขาก็คิดนู้นนี่ Research อะไรของเขาได้ เขาก็จะสามารถ Direct Message มาหาเราตอนประมาณสี่ห้าทุ่มได้ หรือโทรหาคุยได้เลย คือถ้าไม่สนิท มันก็อาจจะไม่ได้เข้าถึงเร็วขนาดนี้ พอสนิทก็จะรู้จริตรู้นิสัย ไม่ค่อยเกรงใจเวลาประสานงานกันเท่าไรละ อย่างในส่วนของโบ ที่ช่วยท็อปซ้อม ปรับปรุงสคริปต์ จนถึงเนื้อหาต่าง ๆ โบมองว่า ท็อปตรงนี้ต้องแก้นะ ตรงนี้พูดออกมาแล้วเราไม่ได้ซึ้ง ไม่ได้รู้สึกเชื่อในข้อเสนอของเขา หรือ เรารู้สึกว่าทำไมมันไม่หนักแน่นเลย เราก็สามารถพูดตรง ๆ กับท็อปได้ เพราะว่าสนิทกัน เพื่อปรับปรุงได้ทันที ไม่ค่อยจะอ้อมค้อมกัน ส่วนตัวคิดว่าด้วยประโยชน์ของความสนิท น่าจะช่วยระดับนึงเลยค่ะ”
กิตติภัฏ : “จริง ๆ ความสนิท ก็เหมือนที่โบนัสบอกว่า ตอนเราทำงาน ตอนเราโตขึ้นเราเห็นว่าเราต้องทำงานกับคนหลากหลาย ก็อาจจะมีไม่รู้จักกันบ้าง แต่เราก็ต้องร่วมงานกันไปได้ ถ้าเปรียบเทียบ ณ ตอนนั้นก็คงคิดเหมือนโบว่า ถ้าเรารู้จักกัน เราสามารถคุยกันได้อย่างไม่เกรงใจ อย่าง Direct Message กลางดึกก็ ห้าทุ่มก็มี”
พรรษสลิล : “คิดตลอด Research ตลอด แล้วก็มีสิ่งใหม่ ๆ มาคุยกันตลอดอะไรแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าไม่สนิทก็คงทำไม่ได้อะไรแบบนั้น”
กิตติภัฏ : “แล้วเราก็จะพอรู้ด้วยว่าเค้า อย่างโบนัสจะมีจุดตรงไหนที่เรา สามารถเสริมเขาได้ แล้วก็มีตรงไหนที่โบจะเสริมเราได้”
พรรษสลิล : “อย่างโบไม่ถนัดกฎหมายแพ่ง และพวกเรื่องกฎหมายภาษี จะไม่ค่อยได้เลย ไม่ถนัดเลย แต่กลายเป็นว่าคำถามรอบชิงเหมือนจะเกี่ยวกับภาษีด้วยมั้ยท็อป”
กิตติภัฏ : “เป็นเรื่องภาษีกับเรื่อง BOI ครับ”
พรรษสลิล : “เออใช่ อันนั้นเป็นคำถามรอบชิง คือโบจำ Detail มากไม่ได้แล้ว ถ้าสนิทกันมันจะรู้ว่า พอเห็นคำถามปุ๊บเปิดมา ไม่ต้องคุยเยอะเลย ก็คือท็อปรู้แล้วว่าอันนี้ โบไม่ถนัด ท็อปต้อง Research เป็นหลักแล้วเดี๋ยวบางเรื่องถ้าแบบเป็นอาญา หรือเป็นแพ่งสายที่โบถนัด ก็จะไม่ต้องคุยเยอะ เราเปิดมาปุ๊บมองหน้า Research ต่อได้เลย รู้ว่าใครทำอะไรคร่าว ๆ ได้เลย”
คำถาม (4) : การเตรียมตัวในการแข่งขัน
พรรษสลิล : “(หัวเราะ) ก็เตรียมเยอะนะ (หัวเราะ) เตรียมเยอะ ๆ”
กิตติภัฏ : “ก็จำได้ว่า โจทย์มันจะแจกเป็นอาทิตย์ต่ออาทิตยใช่มั้ยครับถ้าผมจำไม่ผิด คือพอผมได้รับโจทย์ปุ๊บ ผมก็จะมานั่งคุยกับโบก่อนว่า มีประเด็นอะไรบ้าง อันไหนเป็นประเด็นหลักอันไหนเป็นประเด็นรอง แล้วก็จะจ่ายงานว่า ใครจะต้องไป Research ประเด็นไหนก่อน แล้วก็ประมาณ วันถึงสองวันแล้ว้เราก็ค่อยนัดคุยกันว่าเราจะเสนอประเด็นไหนบ้างครับ”
พรรษสลิล : “ใช่ค่ะ คือทำงานกับท็อปมันจะดีอย่าง คือโบเป็นคนมองภาพรวม แล้วท็อปเขาจะเก่งเรื่อง Detail คือ โบมองประเด็นเห็นประเด็นใหญ่ ๆ และไม่เห็นประเด็นย่อย ๆ ท็อปก็จะช่วยได้ เช่น อันนี้เป็นประเด็นย่อยเราเก็บไว้นะ เก็บไว้เผื่อแบบฝั่งตรงข้ามพูดอะไรมา แล้วตรงนี้มันจะไปอุดได้ หรือมันจะเสริมสิ่งที่เราพูด สิ่งที่เราเสนอไปก่อนหน้าตอนต้นได้ แบบนี้ค่ะ แล้วก็ท็อปก็จะแบกหนักเรื่อง Research ส่วนใหญ่ ช่วยกันเก็บเสร็จ เราก็แยกกันไป Research และเวลาเตรียมตัวมันจะไม่ได้มีแค่ประเด็นวิชาการ มันจะต้องมีเรื่องการพูด ณ ตรงนั้น ซึ่งส่วนตัวมีประสบการณ์การพูดต่อหน้าชุมชนมานาน กล่าวคือ ทำกิจกรรมโต้วาทีมาตั้งแต่อยู่ระดับชั้นมัธยมต้น ในด้านการเตรียมตัว เราจะรู้สึกว่า วิธีการฝึกพูดของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน อย่างของโบจะร่างสคริปต์ไม่ได้ เพราะว่า ถ้าอ่านตามแล้วจะไม่เป็นธรรมชาติ ในขณะที่ท็อปเป็นอีกแบบนึง ท็อปจะไม่ถนัดแบบที่เป็น Bullet อย่างเนี้ย บางทีท็อปหลุด ท็อปจะลืม ท็อปจะต้องเขียนสคริปต์ แล้วเขาดน้นคำสำคัญของเขาเอง แม้ไม่ได้อ่านตลอด แต่มีไว้อุ่นใจ และหันมาอ่านจะเห็นคำสำคัญที่เน้นไว้”
กิตติภัฏ : “คือผมจะร่างสคริปต์ทุกครั้ง ในการแข่งครับ เผื่อผมจะหลุดประเด็นไหนที่สำคัญ”
พรรษสลิล : “แต่ท็อปจะวงหรือเน้นนะคะ แต่เขาไม่ได้อ่านตาม เหมือนเขาจะพูดไปแล้วเขาหลุดนะ จะเบี่ยงสายตากลับมาดูสคริปต์หน่อย และใช้ปากกาเน้นข้อความเป็นสี ๆ เน้นไว้ให้อ่านง่าย”
กิตติภัฏ : “ใช่ ใช้ปากกาเน้นข้อความเป็นตัวหนาว่า ประเด็นนี้เราต้องเน้นนะ”
พรรษสลิล : “ใช่ค่ะ คือจะมีคำที่ไม่หลุด แต่เหมือนแบบท็อปเขากลัวตื่นเต้น ส่วนตัวโบจะชอบให้ใส่ประโยคที่ติดหู โน้มน้าวใจ หรือคำพูดของผู้มีชื่อเสียง กลอน คำคล้องจองเล็ก ๆ เพื่อให้กระตุกความสนใจจากกรรมการและคนฟัง ไม่อยากให้มีความตึงมากเกิน ไม่อยากให้วิชาการ หรือมีความกฎหมายมาก ๆ อย่างเดียว โบก็จะใส่ให้ท็อปไปด้วย ท็อปก็อาจจะเขียนไว้ เพื่อให้พูดตามนั้นไม่ให้หลุด ก็เลยเป็นเหตุผลที่อาจจะต้องเป็นสคริปต์”
“แต่ส่วนตัวของโบ คือ เป็น Improviser พูดไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น ที่จดไว้อาจจะเป็น Bullet ซะมากกว่า หรือเป็นแบบย่อหน้าเล็ก ๆ แล้วขยายต่อเวลาพูด ดังนั้น สไตล์การเตรียมก็ต่างกัน อย่างของท็อปก็จะซ้อมกัยสคริป์เลย ว่าเข้าปากมั้ย เชื่อในสิ่งที่ เพราะหลักการพูดโน้มน้าวใจอย่างหนึ่ง นอกจากเรื่องประเด็นกฎหมาย คือเราต้องเชื่อจริง ๆ ในสิ่งที่เราพูดค่ะ อวจนภาษาต่าง ๆ จะออกมาหมดเลย ทั้งทางสายตา วิธีการพูด น้ำเสียงต่าง ๆ ก่อนเข่งขัน ท็อปจะสร้างในส่วนนี้ ว่าเขาต้องเชื่อในสิ่งที่เขาพูดจริงๆ ส่วนตัวโบก็จะคอยช่วยดู เป็นผู้ชมด้วย ยังจำได้ว่าซ้อมกันที่คอมม่อนถึงสองหรือสามทุ่มเลยค่ะ ยุงกัดที่ขาเต็มไปหมดยังจำได้เลย”
(ซ้อมพูดเลยไหม?)
พรรษสลิล : “ซ้อมเลยค่ะ เพราะไม่เคยได้พูดยาว ๆ มากแบบนี้ เปิดมิติใหม่มากเลย เราสลับกันเป็นโค้ชค่ะ
ท็อปโค้ชด้านวิชาการ โบโค้ชด้านพูด”
กิตติภัฏ : “ใช่ ตอนนั้นก็ซ้อมพูดเลยนะฮะ”
พรรษสลิล : “ใช่ แบบซ้อมแบบเป็นพูดกับท่าทางเลยค่ะ ประมาณนึง จริงจัง จริงจังมากตอนนั้น”
คำถาม (5) : การแบ่งเวลาสำหรับการเตรียมตัวแข่งขันกับการเรียน
พรรษสลิล : “คิดว่า เพราะว่าคนที่มีปัญหาการจัดการเวลาน่าจะเป็นท็อป เพราะว่าท็อป เรียนหกตัวรวดในสามปีครึ่ง ในเทอมเดียว คืออย่างโบไม่มีปัญหาเพราะว่ามันเรียนน้อย มันแบ่งครึ่ง ครึ่งค่ะ อย่างสเปซเวลาที่เราเคยให้ใน Schedule เรากับการเรียนในตอนปีสองปีสามมันว่างลงล่ะ เราจะรู้สึกว่ามันเบาลงแล้ว ก็นำช่องว่างในตารางเวลาที่เราว่ามาใช้กับการซ้อม ยิ่งคลาสเรียนในช่วงปีสี่ตอนนั้นไม่ได้เช้ามาก ทำให้สามารถตื่นสายได้ระดับนึง เพราะตัวเองเป็นคนเข้าเรียน ดังนั้น ทำให้ Research ดึกได้แล้วก็ยังไปเรียนต่อได้”
กิตติภัฏ : “ตอนนั้น ตอนนั้นก็ค่อนข้างมีปัญหานิดนึงอะครับ เพราะว่าผมเรียนสามปีครึ่งแล้วตอนนั้นผมไม่ได้อยู่หอพักแถวมหาวิทยลัย แล้วก็ไปกลับด้วย เข้ากรุงเทพ ก็ใช้เวลาเดินทางก็ชั่วโมงครึ่งครับ ไป-กลับ แล้วก็ ถามว่า ตอนนั้นจัดการยังไง ผมเป็นคนชอบเข้าห้องเรียน เพื่อจะได้รู้ว่าประเด็นไหนอาจารย์เน้นบรรยายเป็นพิเศษและประเด็นไหนที่อาจารย์พูดค่อนข้างน้อย ก็คล้ายว่าเป็นการกรองสิ่งที่ผมต้องมานั่งอ่านเองได้ในระดับหนึ่ง และตอนผมเข้าสอบผมจะพอนึกได้ว่าอาจารย์ท่านนี้บรรยายประเด็นนี้ว่าอย่างไรบ้าง แล้วก็พยายามหาเวลาหลังเลิกเรียนสี่โมงเย็นปุ๊บหลังเลิกเรียนผมก็วิ่งเข้าห้องสมุดไปResearchประเด็นต่อ แต่ถามว่ามันมีอุปสรรคมั้ยมันก็มีเพราะว่ามันเหนื่อยอะครับ (หัวเราะ) แต่พวกผมก็พยายามเต็มที่ในการให้”
พรรษสลิล : “ใช่คือ อย่างท็อปไม่เคยคิดเลยค่ะ ว่าจะมาถึงรอบท้าย ๆ หรือเป็นทีมท้าย ๆ ที่ออก คิดว่าตกแต่รอบแรกด้วยซ้ำ ที่นี้พอยิ่งนาน ยิ่งต้องทำเยอะขึ้น ๆ ตอนแรก พวกเราคิดว่า แค่ผ่านรอบแรกไปได้ก็คือบุญมากแล้ว เพราะเราเห็นหน้าเพื่อนแต่ละคนที่แข่งด้วยกันแล้ว ทุกคนตัวเต็งมาก ๆ เช่น คนนี้ก็เต็งเกียรติหนึ่ง คนนี้ก็ระดับหัวกะทิ เราเลยนึกไม่ออกว่ามันจะไปถึงตรงนั้นได้ยังไง แต่กลายเป็นปรากฎว่ามันผ่านไปเรื่อย ๆ ทีละรอบ ๆ ท็อปเคยพูดว่า ตายแล้วถึงรอบนี้เลย เราเคยคุยกันหลายรอบมากเลย”
กิตติภัฏ : “เคยคุยกันเล่น ๆ หลายรอบมากเลยว่าเราผ่านไปรอบต่อไปเราต้องเหนื่อยอีกแล้ว (หัวเราะ)”
พรรษสลิล : “ใช่ ใช่อันนี้คือคิดมุมนึงด้วย แล้วก็แบบเหมือน คือโบไม่เดือดร้อน เพราะว่าวิชาเรียนโบน้อย แต่คือสภาพร่างกายท็อปเขาก็จะชัดเจนมากตอนรอบสุดท้ายเลยค่ะอาจารย์ เพราะว่าท็อปไม่ค่อยได้นอน ก็คือResearch ด้วย เรียนด้วย อะไรหลาย ๆ อย่างอ่านหนังสือทบทวนด้วยเพราะจะจบสามปีครึ่ง”
กิตติภัฏ : “ถึงบ้านห้าทุ่มอย่างเนี้ยอะครับ แล้วผมต้องรีบตื่นตีห้าเพื่อมาต่อ มาเข้าเรียนตอนหกโมง”
พรรษสลิล : “คิดว่ามีปัญหาสำหรับคนที่ลงเรียนเยอะ ๆ และเต็มที่มาก ๆ กับการแข่งขันค่ะ คือถ้าถามโบ โบว่าถ้าลงในเทอมที่เรียนน้อย อย่างเช่นลงในปีสี่ อาจจะเบากว่า แต่ถ้าจริงจังกับมูทมาก ๆ อย่างแบบ พวกเรา ซึ่งก็ไม่ใช่สายวิชาการจ๋ามาก มันทำให้เราต้องเสริมด้านการค้นคว้าและวิชาการของเราหนักมาก ๆ และเป็นเรื่องยากสำหรับเรา มันก็เลยต้องทุ่มเวลาทั้ง Research ด้วย ทั้งการเรียนปกติด้วย ก็ยังคงอยาก Keep คะแนนให้จบ โดยที่ยังได้เกียรตินิยมเพราะว่าตอนนั้นยังไม่ตกเลย ตอนนั้นมันก็เลยหนักท็อปมากกว่า”
คำถาม (6) : ทักษะสำคัญที่ควรมีในการแข่งขัน
กิตติภัฏ : “หนึ่งก็ทักษะแรก ๆ ที่ควรมีคือ ต้องจับประเด็นให้ได้เพื่อค้นหาว่าประเด็นของเรื่องที่พิพาทนั้นมีอะไรบ้าง ก็ เวลาที่เราได้รับโจทย์มาก็ต้องดูว่า ประเด็น ๆ หลัก ๆ เขาจะบอกอยู่แล่วว่ามีอยู่ประมาณสองถึงสามประเด็นก็คือที่ว่าทำไมโจทย์หรือจำเลยถึงไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ส่วนใหญ่นะครับจะมีสองประเด็น เราต้องจับให้ได้ว่า ประเด็นหลักนั้นคืออะไรและมีประเด็นย่อยอะไรที่เราต้องเก็บอีก แล้วเราก็มาResearchในประเด็นนั้นต่อ ถ้าจำไม่ผิดคำถามเคยมีประเด็นรองในเรื่องของลำดับศักดิ์ของกฎหมายด้วย”
“อันนี้ก็มีอีก Skill นึง คือ Skill ในการ Research ก็ต้อง Research ว่า ไอ้ประเด็นนั้นเนี่ย มีใครเคยให้ความเห็นไว้ว่ายังไงได้บ้าง ในวิทยานิพนธ์มีบอกไว้ยังไงได้บ้าง ในคำบรรยาย หรือว่า บางทีผมก็ไปเสิชถึงความเห็นของกฤษฎีกา เพื่อมาดูประกอบ อ่า คำพิพากษาศาลทั้งหลาย แล้วก็ลักษณะที่สามก็คือ เป็นเรื่องทักษะการพรีเซ็นท์ การนำเสนอให้ศาลเข้าใจในระยะเวลาอันสั้น ถ้าเกิดผมอยู่ฝ่ายเป็นคนเปิด เราก็ต้องพยายามสรุปความของปัญหาทั้งหมด อันนี้เราต้องใช้ทักษะในการสรุปความเพิ่ม เพราะว่าเราต้องสรุป เราต้องมีเวลาเผื่อให้คนข้างหลังแก้ต่อด้วยอะครับ เพราะถ้าเราไม่สรุป เราพูดปัญหาเยอะแยะไปหมด มันก็จะกินเวลาในการพูดพอสมควร และอาจนำเสนอประเด็นปัญหาไม่ทันและอาจไม่มีเวลาเหลือพอให้โบนัสเป็นคนพูดปิดจบ”
พรรษสลิล : “คิดว่า คิดว่าคล้ายกันค่ะ ก็ ก็หลัก ๆ มองว่าการจับประเด็นข้อกฎหมายกับประเด็นที่ได้สำคัญมาก เพราะว่าคือ ณ ตอนนั้นแม้จะอยู่ปีสี่ก็จริง เหมือนเรียนมาหมดแล้ว แต่ว่าประเด็นที่ได้มาหรือตัวเคสที่ได้มา มันไม่ได้ง่าย บางครั้งไปไกลเกินวิชาหลักที่เราเรียน ได้ใช้ Skill ในการ Research ที่เราไม่คิดว่าจริง ๆ เราจะได้ใช้ในตอนสี่ปีด้วยซ้ำ คิดว่าจริง ๆ เสริมเราเพื่อเรียนต่อปริญญาโทด้วยค่ะ อย่างความเห็นกฤษฎีกา ในห้องเรียนจริง ๆ เราก็ไม่ได้ใช้หรือต้องค้นคว้าขนาดนั้น กล่าวคือ ไม่ได้ค้นคว้านเชิงลึกลงไปขนาดนั้นค่ะ แล้วก็เป็นเรื่องการมองประเด็นให้ขาดด้วย ว่ามันจะต้องเกี่ยวข้องกับอะไร อีกทั้ง เป็นการใช้ เออ Critical thinking คือการคิดวิเคราะห์ ต่อให้เราไป Research แล้วสมองเราไม่ได้มีประเด็นในหัว ไม่ได้มีชั้นฟิลเตอร์จับว่าเราต้องการสิ่งไหน มันก็ช่วยไม่ได้อยู่ดี รวมถึงการประมวลข้อมูลที่มี จำเป็นต้องใช้หลักการคิดวิเคราะห์ที่เรามีค่ะ หลังจากขั้นตอนนี้ เราจะทำยังไงให้ประมวลและนำเสนอ สิ่งที่เรามีในมือออกมาให้เข้าใจง่ายที่สุด ในระยะเวลาที่น้อย บางครั้ง ประเด็นที่เราจะเสนอ มันไม่ได้เข้าใจง่าย ดังนั้น จะเป็นเรื่องของวิธีการต่อไปว่า เราจะนำเสนออย่างไร ให้คนฟังและกรรมการอยู่กับเราตลอด ในระยะเวลาประมาณยี่สิบถึงสามสิบนาทีด้วยอะค่ะ คือมันยาวมาก ดังนั้น สำหรับเรา อาจจะต้องมีการแบ่ง แบ่งช่วง แบ่งประเด็นให้ชัดเจนมาก ๆ”
คำถาม (7) : ปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการแข่งขัน
พรรษสลิล : “โบสลับประเด็น สิ่งที่ตั้งใจะพูดก่อน ด้วยความที่มันไม่ได้เป็นสคริปต์ แล้วเราตื่นเต้น ตอนนั้นจำได้ว่าน่าจะตอนรอบแรก ๆ แต่โบจำข้อกฎหมายไม่ได้นะคะว่าเรื่องอะไร คือ โบตั้งใจจะพูดอันนั้นทีหลัง ปรากฎว่ากลายเป็นพูดอันนั้นก่อน จริง ๆ มันไม่ได้คอขาดบาดตายหรือเป็นสาระสำคัญมาก ๆ แต่ก็เป็นเรื่องลำดับความสำคัญ อ้อ ปีนั้นมีช่องทีวีมาถ่ายทำด้วยนะคะอาจารย์ ตอนรอบชิงชนะเลิศ”
พรรษสลิล : “คือ เขาถ่ายไปเป็นส่วนหนึ่งของรายการ ซึ่งตอนนั้นเนี่ย อาจารย์นันทัช กิจรานันท์ (ปัจจุบันรับราชการเป็นผู้พิพากษาแล้ว) ชวนโบไปกับผู้ที่ทำคะแนนได้เป็นอันดับหนึ่งของรุ่นโบ ซึ่งก็คือ คุณสรวิศ วงศ์บุญสิน ไปสัมภาษณ์ในรายการ i am ฉันจะเป็น ช่องทรูปลุกปัญญา แล้วในตอนนั้นก็ให้สัมภาษณ์ในฐานะที่เป็นนักศึกษาด้านกฎหมาย ของตอน “i am ฉันจะเป็นทนายความ”ว่าพวกเราเรียนอะไรบ้าง แล้วพอดีจังหวะตอนนั้นตรงกับตอนที่กำลังแข่งขันพอดี โบก็เลยบอกว่า จริง ๆ แล้วเรามี เรามีการแข่งขันแบบนี้ เพื่อเตรียมพร้อมนักศึกษาของเรา ทั้ง Skill ด้านการ Research กฎหมาย ความรู้ทางกฎหมาย ด้านการพูด รวมถึงบุคลิกภาพอะไรต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมไปเป็นทนายความนะ รายการเขาก็ สนใจ บอกว่า ดีจังเลยมีการแข่งขันอะไรแบบนี้ด้วย เขาก็เลยมาถ่ายเป็นฟุตเทจแทรกในรายการ ตอนรอบชิงค่ะ จริง ๆ ก็น่าจะมีในยูทูปอยู่ด้วยซ้ำ ไม่แน่ใจเหมือนกันต้องลองหา”
พรรษสลิล : “คือจริง ๆ แล้ว เราเป็นรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง แพ้คะดนนเล็กน้อย แต่ว่าตอนโบพูดให้ส้มภาษณ์ไป โบยังไม่คิดว่าจะถึงชิงนะ จนตอนนั้นก็ถึงรอบชิง เขาก็เลยมาถ่ายตอนรอบชิงค่ะ”
กิตติภัฏ : “อุปสรรคส่วนใหญ่จะเป็นตอนแบบ เรื่องท่าทางในการพูด แล้วก็การอ่านสคริปต์ที่ เขาเห็นว่าเราอ่านสคริปต์เยอะไป แล้วก็ ในรอบชิงชนะเลิศ ถ้าจำไม่ผิด รู้สึกว่า Research มาหลายวันแล้ว วันนั้นเลยนอนน้อย อาการเลยหลุดไปแบบเหนื่อย”
พรรษสลิล : “เออ ท็อปมือสั่นเลย จำได้นอนน้อย”
กิตติภัฏ : “ก็เลยโดนหักคะแนนตรงนี้ไปหน่อยนึงอะไรอย่างเนี้ยอะครับ”
พรรษสลิล : “แบบดูเหนื่อย ๆ เหมือนแบบ หน้าเขาออกอะ แล้วก็เหมือนแบบกรรมการติงว่า ดูตื่นเต้นนะ คือวันนั้นเป็นวันท้าย ๆ แล้วเลยนอนน้อยมาก Research เยอะ”
(แล้วนอกจากมูทคอร์ทของศูนย์นิติศาสตร์มีไปแข่งรายการอื่นอีกไหม?)
พรรษสลิล : “มูทอื่นไม่ได้แข่งเลยเพราะว่า อย่างที่เรียนอาจารย์ เพิ่งจะมาตั้งตัวว่าควรจะมีเรื่องวิชาการตอนปีสี่แล้ว”
กิตติภัฏ : “มันอาจจะไม่ใช่มูท แต่เราเคยไปร่วมแบบ ไปคัดเลือกแข่งขันตอบปัญหากฎหมายใช่หรือเปล่า”
พรรษสลิล : “เออใช่ นึกออกแล้วว่าทำไมตอนนั้นมันหนักกว่าเดิม เพราะว่า ในระหว่างปีสี่เทอมแรก เราไม่ได้มีแค่มูท แต่เราสองคนไปแข่งตอบปัญหากฎหมายของคณะในรอบคัดเลือก เพื่อเป็นตัวแทแข่งตอบปัญหากฎหมายวันรพีด้วย แล้วก็สามารถเข้าไปถึงรอบชิงเหมือนกัน เป็นรอบห้าทีมสุดท้าย แล้วเราได้ที่เท่าไหร่นะท็อป เหมือนจะที่สามหรือที่สี่”
“มันก็เลยแบบเหมือนต้อง Research และเตรียมตัวคู่กันไปเลย เหมือนแบบทั้งเตรียมตัวฝั่งกฎหมายฝั่งนั้นด้วยด้วย แล้วก็ฝั่งนี้ด้วย อย่างเงี้ยค่ะ ก็ ก็เลยกิจกรรมอื่นที่เป็นวิชาการ ก็เลยมาถูกอัดตอนปีสี่ ตอนปีสุดท้ายอาจจะไม่ใช่มูท แต่เป็นตอบปัญหากฎหมายค่ะ”
คำถาม (8) : สิ่งที่ได้รับจากการแข่งขัน
พรรษสลิล : “ก็คือโบมองว่า ขออนุญาตเป็นประเด็นแล้วกันค่ะ ประเด็นด้านวิชาการ ทั้งทางด้านกฎหมายโดยตรงและการค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง ได้เยอะมาก แม้เราจะเรียนมาแล้ว ตลอดสี่ปีการศึกษา และเรียนเรื่องทักษะการค้นคว้างานกฎหมายตอนปีสอง ก็ประมาณสามชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจจะไม่ได้เข้มข้นมากถึงขีดสุด หรือถึงขั้นที่แบบเตรียมพร้อมเราออกไปทำงานหรือมั่นใจในตัวเรามาก ๆ ขนาดนั้น การมาแข่งมูทไทยตรงนี้อะค่ะ มันช่วยมาก ๆ ในการทำให้เราได้ใช้คามรู้ทางวิชาการและกฎหมายที่เราเรียนมาใช้จริง ให้เห็นว่า มันปรับกับข้อเท็จจริงแล้ว เราสื่อสารออกไปได้ยังไง ในลักษณะการพูดและการแถลงการณ์ ซึ่งการค้นคว้าทำให้เราเห็นว่า ทะเลแห่งฎีกาจริง ๆ เป็นยังไง ตลอดจน ความรู้อื่น ๆ เราก็หาเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจประเด็น บางประเด็นเรา อ่าน Journal วิชาการต่างประเทศด้วย เรื่องที่สองที่ได้ คิดว่าเป็นเรื่องการพูดสื่อสารกฎหมายให้เป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจง่ายๆ แม้กรรมการอาจจะเป็นนักกฎหมายเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาที่เราสื่อสารออกมาภายในสามสิบนาที มันเป็นการสื่อสารเรื่องยากให้ออกมาดูเหมือนง่ายแล้วเข้าใจ”“แต่ในขณะเดียวกันต้องครบถ้วน และสามารถ convince ให้เชื่อในสิ่งที่เราเชื่อ ซึ่งเป็น Soft skill อย่างหนึ่งซึ่งนักกฎหมายในโลกจริง ๆ ควรมี ไม่ว่าจะเป็นทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือต่อให้เป็นแบบนิติกรภาครัฐแบบที่โบเคยเป็น ก็ยังคงต้องใช้อะคะ คือทำเรื่องยากให้ง่าย แต่ครบถ้วน”
พรรษสลิล : “โบสรุปได้เป็นคำนึงที่ได้มาเลย คือ เราได้ Mindset จากการทำมูทเลยแหละ ว่าสุดท้ายแล้ว ใช้กฎหมายจริง ๆ มันเป็นยังไง เราอยู่ในห้องเรียนและตอนสอบ เราจะได้ตอบปัญหาอุทธาหรณ์ ที่ให้เราตอบ 20 คะแนน จบ เราก็มีธงของเรา แต่เราไม่ได้คิดว่าสุดท้ายแล้ว สุดท้ายปลายทางของกฎหมาย มันส่งผลกระทบยังไง เมื่อเราทำมูทคอร์ทเราได้ Mindset ที่ว่า เราต้องคิดให้รอบคอบและรอบด้าน คิดถึงทั้งฝั่งของเราเอง หรือฝั่งตรงข้าม หรือแม้กระทั่ง ส่วนตัวเป็นอดีตนิติกรภาครัฐ เราต้องคิดว่า ระเบียบหรือกฎที่เราร่าง มันจะส่งผลหรือมีผลกระทบอย่างไรกับคนที่เกี่ยวข้อง อย่างกรณีงานเดิมของโบบ ผู้ได้รับผลคือ นักโทษ หรือผู้ต้องขัง เป็นต้น เรารอบคอบมากขึ้น ทั้งคิดถึงประชาชนผู้เสียภาษีเอง คิดถึงหน่วยงานของเราเอง คิดถึงคู่ความหรือฝั่งตรงข้ามของเรา ซึ่ง Mindset จะติดตัวไปตลอดชีวิตเลยแหละค่ะ”
กิตติภัฏ : “จริง ๆ ตอนที่ผมทำ Research รอบไฟนอลที่เกี่ยวกับภาษีตามประมวลรัษฎากรกับ BOI หรือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ผมก็ค่อนข้างสนุกนะครับ เพราะว่าจะเห็นว่า กฎหมายในทางปฏิบัติ ในทางโลกแห่งความเป็นจริงเนี่ย มีประเด็นที่เขาถกเถียงกันว่า เรื่องการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล ว่าการจัดเก็บภาษีระหว่าง BOI กับตามประมวลรัษฎากรโดยกรมสรรพากร มันแตกต่างกัน มันจะมีประเด็นว่าเราควรจะยึดตามอันไหนดีระหว่างการจัดเก็บแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามประมวลกฎหมายรัษฎากร กับการจัดเก็บที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน”
“พอผม Research เรื่องนี้พบว่า ทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุนได้มีการส่งเรื่องไปขอความเห็นจากสำนักงานกฤษฎีกาไว้ มันก็พอจะเห็นภาพว่า ทางภาคเอกชนเขาก็พิพาทกันในเรื่องนี้อะครับ และยิ่งเป็นเรื่องภาษีด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่เอกชนและทางภาครัฐไม่ค่อยจะยอมกัน ทั้งนี้ไม่ว่าการตัดสินใจใด ๆ หรือคำพิพากษาของศาลเนี่ย อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ เพราะว่าทางศาลเนี่ย ถ้าผมจำไม่ผิดในประเด็นคือศาลเป็น Favour กับทางสรรพากรคือจัดเก็บภาษีแบบเต็มที่ แต่ขณะที่ทาง BOI เนี่ยตามเจตนาของเขาคือส่งเสริมการลงทุนอยากดึงคนต่างชาติเข้ามาเพื่อสร้างงานต่สร้างเศรษฐกิจในประเทศไทยและเกี่ยวกับเรื่องความเขื่อมันในการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งทางผมอยู่ฝั่งที่สนับสนุนการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการลงทุน ก็ต้องให้เหตุผลนำเสนอให้ศาลเห็นว่า ถึงแม้การจัดเก็บภาษีตามกรมสรรพากรจะทำให้รัฐมีรายได้ที่มากขึ้น แต่ทางมองภาพรวมและมองถึงวัตถุประสงค์ของ BOI จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยมากกว่าเพราะมันส่งเสริมเศรษฐกิจและสุดท้าย เงินที่สนับสนุนไปก็กลับไปสู่การจ้างงานและทำให้ประชาชนมีแรงในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ในด้านนี้เองที่ประเทศไทยก็จะได้ภาษีกลับคืนมาในรูปแบบของภาษีมูลค่าเพิ่ม ประมาณนี้อะครับ”
“การทำมูทคอร์ทครั้งนี้ ก็ทำให้เห็นว่าจริง ๆ กฎหมายเนี่ยมันมีหลายมุมให้พิจารณาในการบังคับใช้ แล้วก็คำพิพากษาของศาลเนี่ย มันก็ส่งผลกระทบต่อภาคเอกชน แล้วก็ ก็คือมันมีผลกระทบในมุมกว้างอะครับ อันเนี้ย เป็นไอเดียเริ่มต้นที่ผมได้จากการทำมูทคอร์ท พอผมได้เข้าไปทำเป็นนิติกรที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก็พบว่ากฎหมายทั้งหลายที่เราเรียนมาในมหาลัยเนี่ย มัน เหมือนเราเรียนนิดเดียวอะครับ แต่ในความเป็นจริงเนี่ย กฎหมายมันมีไปหมดเลยครับ ทั้งเรื่องการร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เหมือนอย่างที่ที่ผมทำงานปัจจุบันเนี่ย คือผมจะไม่ได้ยุ่งกับกฎหมายพวกแพ่งหรือพาณิชย์เลยครับแต่ว่า งานที่ผมทำจะมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนด มาตรฐานของรัฐภาคีที่ต้องปฏิบัติตาม Standard ที่กำหนดไว้ในงานของผมจะข้องเกี่ยวกับ Annex อนุสัญญาชิคาโก 11 ว่าด้วย Air Traffic Services ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับมาตรฐานในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ถึงแม้ว่างานตำแหน่งปัจจุบันของผมจะไม่ได้ทำงานเกี่ยข้องกับกฎหมายโดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่างานก็จะข้องเกี่ยวกับกฎหมายเสนอ ทั้งนี้ทักษะในการทำมูทคอร์ท อาจเรียกว่าเป็นไอเดียทำให้เห็นภาพของกฎหมายในมุมกว้างมากขึ้น”
คำถามสุดท้าย : ฝากถึงผู้จะสมัครแข่งขันในปีนี้
พรรษสลิล : “ในระหว่างกรเตรียมตัว หรือเมื่อได้รับโจทย์ อยากให้ให้ความสำคัญกับการจับประเด็น สำคัญมาก จับประเด็นให้ได้ก่อน แล้วก็กำหนดวงสโคปการค้นคว้า และคำนึงถึงกำหนดระยะเวลาค่ะ ว่าเราค้นคว้าเท่าไร นำเสนอจริงเท่าไร จัดสรรและบริหารเวลาในกรเตรียมตัวให้ดี และการประสานงานภายในทีมก็สำคัญนะคะ ถ้าจำไม่ผิด ตอนนั้นทีมเรา ใช้ Share Drive ค่ะ เราหาอะไรต่าง ๆ ค้นคว้ามาไว้ มารวมกัน และ grouping เป็น topic แบบนี้เราหาง่ายแล้ว ทำงานกันง่าย เพราะว่า เราแค่เข้า Drive กด Ctrl+f หา เจอหัวข้อที่เราหา ที่เราจัดกลุ่มไว้ นอกจากนี้ อยากแนะนำให้หาว่าวิธีการฝึกพูดแบบไหนที่เราถนัด หรือที่ตรงหรือเป็นจริตของตัวเอง เพราะสุดท้ายแล้วเรา Research มาให้ตายแต่เราพูดออกไปไมได้ สื่อสารออกไปไม่ได้ มันก็ไปไม่ถึงคนฟัง จริงๆ ในการสื่อสาร 100 เปอร์เซ็นต์มันเป็น Context ไปแล้วเกินครึ่ง อาจจะเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ หรือเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ในบางกรณีด้วยซ้ำ ดังนั้น Content ที่ดี ถูกต้องแล้ว แต่สื่อสารออกไปอย่างไร ต้องมีความชัดเจน แยกประเด็นชัด รวมถึงการพูดให้คนเขาใจอะค่ะ ต้องไปดูว่าน้อง ๆ แต่ละคนต้องหาทางให้เจอว่า แบบไหนที่มันโอเคกับเรา เช่น เราจะไม่ตัดสินว่า Bullet ดี หรือ Script ยาว ๆ แล้วก็เชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดนั้นเอง”
กิตติภัฏ : “อืม มันสำคัญก็ต้องวางแผนด้วยครับ อย่างคนแรกถ้าเป็นฝ่ายที่อุทธรณ์ เราต้องนำสรุป แล้วเราก็ต้องนำเสนอ อันนี้อาจจะต้อง เพราะว่าอย่างผมแน่นเรื่องResearch ส่วนโบจะแน่นเรื่องการพูด”
“ตอนจบ ผมก็จะรับไม้แรกเพราะว่า ผมสามารถสรุปแล้วก็ สรุปแบบสั้น ๆ แล้วก็สามารถนำเสนอข้อกฎหมายเข้าไปได้เยอะ ส่วนโบก็จะเป็นคนจับประเด็นเก่ง เขาก็จะไปปิดท้ายเพื่อไปสู้ประเด็น”
พรรษสลิล : “ไปสวนกลับ (หัวเราะ) เป็นมือสวนกลับ”
กิตติภัฏ : “คืออาจจะ Short Note ไว้ว่าประเด็นนี้เขามาพูดแล้วเนี้ย อย่าลืมไปสวนด้วยตอนจบครับ
พรรษสลิล : “อินเนอร์แรงมากตอนสวน อันนี้คือค้นพบตัวเองจากการโต้วาทีค่ะ คือโบไม่ถนัดเสนอเลย แต่จะถนัดเป็นแบบฝ่ายค้าน ที่โต้กลับ เพราะเหมือนโบจะฟังและจับประเด็นได้เร็วกว่า เขาพูดอะไรมา ตรงนี้มีช่องโหว่นะ ตรงนี้เราโต้แย้งออกไปได้นะ ประมาณนั้น เราน่าจะเหมาะกับตรงนี้ เวลาซ้อมอยากให้ทีมซ้อมด้วยกันบ่อย ๆ ค่ะ ช่วยกันดู ดีกว่าซ้อมคนเดียวมากเลย จะมีเพื่อนคอยช่วยดูในมุมที่เราอาจจะละเลยไป”
พรรษสลิล : “สุดท้ายถ้าเสริมก็ อยากให้น้อง ๆ ทำกิจกรรมเพื่อให้รู้จักตัวเองมากที่สุด เพราะว่าโลกข้างนอก เขาต้องการนักกฎหมายที่นอกจากจะยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องแล้ว เราต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจประชาชน แล้วก็ใช้กฎหมายให้เป็น แล้วก็ช่องทางในการมาทำมูท นี่แหละเป็นหนทางหนึ่งที่น้อง ๆ จะเข้าใจบริบทของกฎหมายไม่ใช่แต่เฉพาะตัวกฎหมายด้วยค่ะ”
กิตติภัฏ : จริง ๆ ก็ทำกิจกรรมเยอะๆในมหาลัยเนาะมันก็เป็นช่วงหนึ่ง Life Time ในชีวิตเออ กลับไปคิดไปย้อนไป มันก็สนุกดีนะแล้วตอนนั้นแม้ว่ามันจะเหนื่อยนะครับ แต่จริง ๆ อยากฝากอีกข้อหนึ่งว่า การเรียนนิติศาสตร์ ที่สำคัญคือการเรียนทักษะของนักกฎหมาย เพราะตอนผมเข้าไปทำงานจริงจะพบว่ามีกฎหมายอีกหลายตัวมากที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาและต้องทำการค้นคว้าต่อด้วยตัวเอง ถ้าโชคดีอาจมีคนช่วยชี้ทางว่าเราจะต้องศึกษากฎหมายอะไรบ้างแต่ส่วนใหญ่ก็ต้องพึ่งทักษะในการรีเสิจข้อกฎหมายเอง ทั้งนี้ การเรียนกฎหมายเปิดโอกาสในสายอาชีพที่หลากหลายมาก ไม่จำกัดแค่จะต้องเป็นทนายความ ผู้พิพากษา หรืออัยการ อย่างผมจากทำงานเป็นนิติกรมาก็สามารถ Pursue Career Path ในด้านสายงานด้านการบินได้ โดยทักษะที่ได้รับมาจากการเรียนที่คณะนิติศาสตร์นี้เรียกว่าเป็น ทักษะพื้นฐานที่ทำให้ผมผ่านพ้นช่วงการเรียนหนัก ๆ มาได้ เลยครับ และสายงานผมเป็นสายงานที่ไม่ต่างกับสายงานกฎหมายคือต้องอ่านหนังสือและอัพเดทตลอดเวลา เพราะทางด้านการบินจะมีการอัพเดทมาตรฐานตลอดเวลา ทำให้ทางสายงานผมก็ต้องศึกษากฎระเบียบที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาเช่นกันครับ”
พรรษสลิล : “เหนื่อยมากค่ะ แล้วก็ ในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัย เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้พลาดแล้ว ในตอนแข่งขัน เราจะได้ลองเป็นทนายความ หรืออัยการ พูดอะไรผิดได้ในชั้นศาลโดยที่ไม่ได้มีผลตามมานอกจากการแพ้คะแนนในการแข่งขัน มันอาจจะเป็นโอกาสเดียวที่จะได้ลอง ได้พลาด ได้พูดผิด ได้ทำอะไรโดยที่ไม่ถูกตำหนิว่าเรากำลังทำวิชาชีพเราเสียหาย นี่อาจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่ได้ลอง เพราะฉะนั้นก็ลองก่อนที่จะไปทำจริง ๆ ในโลกของการทำงานค่ะ”
ถ่ายภาพ Pump
แต่งภาพ Film
เรียบเรียง ผศ.ดร.กรศุทธิ์