จารุประภา รักพงษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.
จารุประภา รักพงษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และ เอก ด้านกฎหมายจากสหราชอาณาจักรด้วยทุนรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุประภา รักพงษ์ได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากการเป็นอาจารย์ประจำของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุประภา ดำรงตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศ (Senior Expert on International Trade) ให้กับโครงการ ASEAN’s Enhanced Regional Integration Support by the EU (ARISE) PLUS Project ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน นอกจากนั้นยังเป็นสมาชิกในกองบรรณาธิการวารสาร Asian Journal of International Law ของสำนักพิมพ์ Cambridge University Press
การศึกษา
ปริญญาเอก
- University College London: UCL สหราชอาณาจักร (2550 – 2555) ปริญญาเอก สาขาวิชากฎหมายยุโรปและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “กฎระเบียบความสัมพันธ์ทางการค้าสหภาพยุโรป-ไทย ด้านความปลอดภัยทางอาหาร” โดยมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบข้ามแดนของมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของสหภาพยุโรปต่อการส่งออกสินค้าอาหาร ของประเทศไทยไทย วิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของ ศาสตราจารย์ Doctor Joanne Scott
ปริญญาโท
- มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) สหราชอาณาจักร (2548 – 2549) โดยมุ่งเน้นไปที่กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ เกียรตินิยมอันดับสอง
ปริญญาตรี
- คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King’s College London) สหราชอาณาจักร (2545 – 2548) โดยมุ่งเน้นไปที่กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (สหภาพยุโรป/องค์การการค้าโลก) (EU/WTO) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
A-Levels
- คอนคอร์ด คอลเลจ (Concord College), โชรส์เบอรี (Shrewsbury) สหราชอาณาจักร (2543 – 2545)
ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ ประเทศไทย (2537 – 2543)
โครงการแลกเปลี่ยนระดับชั้น Year 11
- โรงเรียน Lucas Heights Community รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย (2540) โค
หัวข้อ
วิทยานิพนธ์
- Regulatory Aspects of EU-Thai Trade Relations in the Area of Food Safety (PhD, UCL)
ประสบการณ์
การทำงาน
สมาชิกสมาคมวิชาชีพ
- กองบรรณาธิการวารสารกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian Journal of International Law) สานักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University Press) (2559 – ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการบริหารสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian Society of International Law) (2565 – 2567)
ตำแหน่งในส่วนราชการหรือหน่วยงานเอกชนประเทศไทย
- กรรมการคณะทำงานติดตามสินค้าและบริการ สภาองค์กรของผู้บริโภค (กันยายน 2567 – ปัจจุบัน)
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และหลักสูตรนานาชาติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2565 – ปัจจุบัน)
- ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) (2565 – ปัจจุบัน)
- บรรณาธิการวารสารกฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Business Law Journal) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2565 – ปัจจุบัน)
- รองผู้อำนวยการโครงการปริญญาโทนิติเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ (กฎหมายและเศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564 – ปัจจุบัน)
- ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ที่ปรึกษาคณะกรรมการฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข (2562 – ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษากฎหมายการค้าระหว่างประเทศคณะทำงาน คณะกรรมการเกษตรและอาหาร สถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (2560 – ปัจจุบัน)
- กรรมการศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2555 – ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการร่างอากาศสะอาด สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาไทย กรุงเทพมหานคร (กุมภาพันธ์ – กันยายน 2567)
- ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการควบคุมและการใช้กัญชา กระทรวงยุติธรรม (2559 – 2562)
- กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 5 สมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian Society of International Law) กรุงเทพมหานคร (2557 – 2560)
ตำแหน่งในโครงการต่างประเทศ
- ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสระดับชาติ โครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการต่อสู้กับพลาสติกในทะเลระดับภูมิภาค: แนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดสาหรับการพัฒนามาตรฐานขั้นต่ำและข้อกำหนดทางเทคนิคสาหรับบรรจุภัณฑ์และฉลากพลาสติก ธนาคารโลก (สิงหาคม – กันยายน 2567)
- ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสระดับชาติด้านการค้าระหว่างประเทศ โครงการความร่วมมือสหภาพยุโรป-ไทย (Thailand-EC Cooperation Facility) (กุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2567)
- ที่ปรึกษาระดับชาติ ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศภายใต้องค์การการค้าโลก เพื่อช่วยเหลือธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อย และขนาดเล็ก (MSMEs) ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในการเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการส่งออก รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดประมงของประเทศไทยและข้อกำหนดการนำเข้าสินค้าประมงของประเทศไทย (มกราคม – มีนาคม 2566)
- ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศ โครงการ ARISE Plus (ASEAN Regional Integration Support by the European Union) ของสหภาพยุโรป (พฤศจิกายน 2562 – มกราคม 2566) เพื่อแนะนำรัฐบาลชาติสมาชิกในอาเซียนในการปฏิบัติตามพันธกรณีว่าด้วยความโปร่งใส (transparency obligations) ภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ใน (มีนาคม – กันยายน 2565)
- ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศของโครงการ ARISE Plus สำหรับประเทศกัมพูชา เพื่อแนะนำรัฐบาลกัมพูชาในการปฏิบัติตามพันธกรณีว่าด้วยความโปร่งใส (transparency obligations) ภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ใน (มีนาคม – กันยายน 2565)
การสัมมนาสาธารณะ
ภาษาไทย
- ประธานการอภิปรายโต๊ะกลมของผู้มีส่วนได้เสียในงานสัมมนา เรื่อง “ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกาภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก” กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (3 ตุลาคม 2565)
- การใช้กำลังทหารในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต, วิทยากรในงานสัมมนา เรื่อง “ข้อยกเว้นด้านความปลอดภัยภายใต้มาตรา XXI ของความตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) และความสัมพันธ์กับการใช้กาลังโดยรัฐ” กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (23 กันยายน 2565)
- ผู้บรรยายการฝึกอบรมสาธารณะว่าด้วยประเด็นปัจจุบันของกฎหมายระหว่างประเทศและการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในอาเซียน โดยบรรยายให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของสำนักเลขาธิการวุฒิสภา สภาวุฒิสภา รัฐสภาไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (18 พฤษภาคม 2565)
- ผู้บรรยายการฝึกอบรมสาธารณะว่าด้วยประเด็นปัจจุบันของกฎหมายระหว่างประเทศและการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในอาเซียน โดยบรรยายให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของสานักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (28 เมษายน 2565)
- ประธานการอภิปรายโต๊ะกลมของผู้มีส่วนได้เสียในงานสัมมนา เรื่อง “ความสอดคล้องของมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงของประเทศไทยภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก” กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (2 มิถุนายน 2564)
- นำเสนอออนไลน์ เรื่อง “กฎขององค์การการค้าโลกว่าด้วยการค้าสินค้า: การสร้างความสมดุลระหว่างการค้าและการสาธารณสุข” ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (5 สิงหาคม 2563)
- ผู้บรรยาย เรื่อง “สิทธิ GSP คืออะไร ทำไมไทยถึงถูกตัดสิทธิ รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ GSP และวิธีปรับตัวของผู้ประกอบการไทย” ศูนย์อบรมและให้คาปรึกษาทางกฎหมาย (LeTEC) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (30 ตุลาคม 2562)
- ประธานการอภิปรายโต๊ะกลมของผู้มีส่วนได้เสีย เรื่อง “ผลกระทบของกฎระเบียบการห้ามการทาประมงผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป (IUU) ต่อกฎหมายประมงไทย” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (27 เมษายน 2562)
- ผู้บรรยายการฝึกอบรมสาธารณะ เรื่อง “การอ่านและการตีความตราสารระหว่างประเทศที่สาคัญของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับเสาเศรษฐกิจ” โครงการพัฒนาบุคลากรด้านประชาคมอาเซียน รัฐสภาไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (31 พฤษภาคม 2560)
- ผู้บรรยายการฝึกอบรมสาธารณะด้านกฎหมายและการประยุกต์ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เรื่อง “ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC)” โดยบรรยายให้กับสานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (29 ตุลาคม 2557)
- ประธานการอภิปรายโต๊ะกลมของผู้มีส่วนได้เสีย เรื่อง “ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (EU-Thai FTA) และการเข้าถึงยา” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (11 กุมภาพันธ์ 2556)
- วิทยากรผู้บรรยาย เรื่อง “ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) และกลยุทธ์ความปลอดภัยด้านอาหาร: บทเรียนจากประเทศไทย” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพันธกรณีขององค์การการค้าโลก (World Trade Organisation: WTO) ที่น่าสนใจเพื่อราลึกถึงการเข้าร่วมองค์การการค้าโลกของลาว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เวียงจันทน์ ประเทศลาว (29 มกราคม 2556)
ภาษาอังกฤษ
- ผู้ดำเนินรายการ “การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกฎหมายต่อการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการมลพิษทางอากาศของคณะกรรมการเฉพาะกิจภายใต้พระราชบัญญัติอากาศสะอาดในประเทศไทย” สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) รัฐสภาไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (19 กรกฎาคม 2567)
- ผู้ดำเนินรายการ “การระงับข้อพิพาททางออนไลน์ของผู้บริโภคในอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของประเทศไทย” ในซีรี่ส์สัมมนาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (8 สิงหาคม 2566)
- วิทยากรผู้บรรยาย เรื่อง “พันธกรณีทางการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกากับการห้ามนำเข้าอัญมณีจากเมียนมาและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอัญมณีไทย” คณะกฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม กรุงฮานอย (11 กรกฎาคม 2566)
- วิทยากรผู้บรรยาย เรื่อง “ข้อกำหนดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงของประเทศไทย เพื่อฝึกอบรมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) ในเมียนมาเกี่ยวกับข้อกาหนดการนำเข้าสินค้าประมงของประเทศไทย” (ออนไลน์), ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Centre: ITC) (2 พฤษภาคม 2566)
- วิทยากรผู้บรรยาย เรื่อง “คณะอภิปรายความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-ไทย (EU-Thai FTA Panel)” ในประเด็นโต้วาทีต่าง ๆ สาหรับเขตการค้าเสรีไทยและสหภาพยุโรปที่กาลังจะเกิดขึ้น, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล (CPG) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (16 ธันวาคม 2564)
- การนำเสนอ เรื่อง “ผลกระทบของกฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรปต่อประเทศไทยและเวียดนาม ผลกระทบของเวลาและอานาจต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายประมงของมณฑลที่สาม” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเอเชียและการเข้าถึงกฎหมายสหภาพยุโรปทั่วโลก (Asia and the Global Reach of EU Law) (นาเสนอร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร. โยชิโกะ ไนกิ แห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า), สถาบันมหาวิทยาลัยยุโรป (European University Institute) ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี (3 – 13 มิถุนายน 2562)
- วิทยากรผู้บรรยาย เรื่อง “การดำเนินการตามกฎหมายสาธารณสุขของประเทศไทยเพื่อกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation: IHR) พ.ศ. 2548: ความท้าทายและแนวทางในอนาคต” เกี่ยวกับประเด็นการค้าและสาธารณสุขในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวพันกับองค์การการค้าโลกและองค์การอนามัยโลก ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยกฎอนามัยระหว่างประเทศ, ย่างกุ้ง เมียนมา (8 – 10 เมษายน 2556)
- วิทยากรผู้บรรยาย เรื่อง “กฎขององค์การการค้าโลกว่าด้วยมาตรการความปลอดภัยด้านอาหาร – การสร้างสมดุลทางการค้าและการสาธารณสุข” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจมเบอร์ ประเทศอินโดนีเซีย (8 มีนาคม 2556)
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- การอภิปรายโต๊ะกลมของผู้มีส่วนได้เสีย เรื่อง “ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทาประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) การขึ้นใบเหลืองและอะไรต่อไป?” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (6 สิงหาคม 2562)
- วิทยากรบรรยาย เรื่อง “บุหรี่และกฎหมาย WTO” เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์บุหรี่ธรรมดาและพันธกรณีของสมาชิกองค์การการค้าโลก ภายใต้กฎหมายองค์การการค้าโลก การประชุมเชิงปฏิบัติการยาสูบและการค้าขององค์การอนามัยโลก, โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (24 – 26 พฤศจิกายน 2557)
ความ
เชี่ยวชาญ
กฎหมาย WTO Law ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ข้อตกลงด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าต่าง ๆ
สาขาที่สนใจ
กฎหมายเกี่ยวกับสหภาพยุโรป ASEAN และ the WTO มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี การตีความกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของรัฐ
ปัจจุบันกำลังศึกษาวิจัยในรูปแบบบูรณาการระหว่างสาขานิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การค้าร่วมกับ ผศ. ดร. เณศรา สุขพานิช. ในหัวข้อ ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกาภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก: นัยต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกา โดยการสนับสนุนทุนการวิจัยจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตร
ที่สอน
- กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง
- กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- ปัญหากฎหมายสหภาพยุโรป
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผลงาน
ทางวิชาการ
ภาษาไทย
- จารุประภา รักพงษ์ และธนภัทร ชาตินักรบ. มาตรการควบคุมฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อนำมาประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการในการควบคุมฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (กันยายน 2567). สืบค้นได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:315302
- จารุประภา รักพงษ์ และเณศรา สุขพานิช. ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกาภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก: นัยต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกา รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2566). สืบค้นได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:303930
- จารุประภา รักพงษ์. ความสอดคล้องของมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงของประเทศไทยภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก. คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). สืบค้นได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:176857
- จารุประภา รักพงษ์. สิทธิ GSP คืออะไร ทำไมไทยถึงถูกตัดสิทธิ รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ GSP และวิธีปรับตัวของผู้ประกอบการไทย. กรุงเทพมหานคร : The Standard. (2562). สืบค้นได้ที่ https://thestandard.co/gsp/
- จารุประภา รักพงษ์. หลักการสาคัญว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายใต้กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562).
ภาษาอังกฤษ
- จารุประภา รักพงษ์ และอานาจ ตั้งคีรีพิมาน. รายงานข้อมูลรายประเทศ – กฎหมายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของประเทศไทย. สารานุกรมเอลการ์ว่าด้วยกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (Elgar Encyclopedia of International Economic Law) สานักพิมพ์เอ็ดเวิร์ดเอลการ์ (Edward Elgar Publishing). (2566).
- จารุประภา รักพงษ์ และโยชิโกะ ไนกิ. การสนทนาระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศที่สามเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing): การปรับปรุงกฎหมายการประมงของประเทศไทย. วารสารกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. (2565). สืบค้นได้ที่ https://www.cambridge.org/core/journals/transnational-environmental-law/article/euthird-country-dialogue-on-iuu-fishing-the-transformation-of-thailands-fisheries-laws/508A91A3B74D65BDAFFD0AAC77AC3EA3
- จารุประภา รักพงษ์. กฎหมายแห่งองค์การการค้าโลก: การตีความและการวิเคราะห์บทบัญญัติสาคัญ. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2, 2561).
- สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC). รวบรวมและแปลกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงาน. สานักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 3 (2561).
- สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC). รวบรวมและแปลกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงาน. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 2. (2558).
- จารุประภา รักพงษ์. วิเคราะห์โครงสร้างกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย: ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 94 – 114. (2556).