วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2562 ศูนย์นิติศาสตร์ และศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ถอดบทเรียนทางกฎหมายจากคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์” ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องศาลจำลอง มารุต บุนนาค (น.211) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กล่าวรายงานโดย อาจารย์ ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา และกรรมการฝ่ายวิชาการ ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิธีกร
กล่าวเปิดโครงการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากนั้นพิธีกรได้แนะนำประวัติผู้ดำเนินการเสวนาและวิทยากร
(กลางในภาพ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร และอาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ดำเนินการเสวนา
(ขวาในภาพ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ที่สองจากซ้าย) ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ที่สองจากขวา) นายเสกสรร สุขแสง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กรมบังคับคดี
(ซ้ายในภาพ) นายวีระศักดิ์ ทัพขวา หัวหน้าสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากนั้นได้เข้าสู่การเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ถอดบทเรียนทางกฎหมายจากคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์”
กล่าวนำเรื่องคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์โดยย่อ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้ดำเนินการเสวนา
นายวีระศักดิ์ ทัพขวา ประเด็นที่เสวนา ได้แก่
หลักเกณฑ์ในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายอื่น ๆ ในกรณีละเมิด และการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
ขอบเขตความรับผิดของจำเลยแต่ละคนในคดีแพ่ง
ปัญหา อุปสรรค และความล่าช้าในการดำเนินคดีและการบังคับคดี
แนวทางการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ ประเด็นที่เสวนา ได้แก่
ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา กรณีผู้เยาว์กระทำความผิด
บิดามารดา หรือผู้ให้ยืมรถ มีความผิดทางอาญาหรือไม่
การเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา และการกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติระหว่างรอการลงโทษ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ ประเด็นที่เสวนา ได้แก่
การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โดยต้องยึดข้อเท็จจริงตามคดีอาญา
หลักการฟ้องผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง
หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ และระยะเวลาการบังคับคดีตามคำพิพากษา และแนวทางการบังคับคดีเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้โดยเร็ว
นายเสกสรร สุขแสง ประเด็นที่เสวนา ได้แก่
อำนาจหน้าที่ของกรมบังคับคดีในการบังคับคดีตามคำพิพากษา
ขั้นตอนการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี และระยะเวลาการได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ดำเนินการเสวนาได้เชิญนายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาศูนย์นิติศาสตร์ และเคยเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการทำงานคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนฯ กล่าวความรู้สึก
จากนั้นผู้เข้าร่วมการเสวนาได้ร่วมอภิปราย สอบถามปัญหากฎหมาย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ภาพบรรยากาศเพิ่มเติมจากการเสวนา
ในการเสวนาดังกล่าว นอกจากผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการเสวนาแล้ว ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ซึ่งมีส่วนร่วมในการทำคดีดังกล่าวตั้งแต่ปี 2554 รวมถึงผู้เสียหายและญาติผู้เสียหายจำนวนหนึ่งได้เดินทางมาร่วมการเสวนาด้วย โดยพ.ต.อ.ศรัญ นิลวรรณ ได้เป็นตัวแทนผู้เสียหายกล่าวแสดงความรู้สึกต่อศูนย์นิติศาสตร์ และความรู้สึกถึงคดีนี้
นอกจากนี้ ผู้เสียหายและญาติผู้เสียหาย ยังได้บริจาคเงินรวมทั้งหมด 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ให้แก่สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ศูนย์นิติศาสตร์ เพื่อใช้ในกิจกรรมของศูนย์นิติศาสตร์ โดยมีผศ.ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์เป็นตัวแทนรับมอบ และได้มีการปิดการเสวนา ในเวลา 12.00 น. ทั้งนี้ สรุปรายสาระสำคัญจากการเสวนาฯ จะได้มีการนำเสนอในโอกาสต่อไป