สรุปสาระสำคัญจากสัมมนาวิชาการ ภายใต้ชุด “กฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2562 วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 เวลา 09.00-12.30 น. ณ ห้อง 1208 อาคารสิรินธรารัตน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
ผู้กล่าวเปิดงาน
- ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ กัมพูสิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบ
ริหารศูนย์ลำปาง
วิทยากร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร รองคณบดีศูนย์ลำปาง
- รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
- อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
ผู้สรุปสาระสำคัญและเรียบเรียง
- นายอานนท์ แก้วปัญญา นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้สรุปสาระสำคัญ)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้เรียบเรียง)
ช่วงที่ 2 สัมมนาวิชาการหัวข้อ “กฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวคิดและความสำคัญในฐานะสา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร
ผศ.ดร.นิรมัย กล่าวว่าในส่วนที่สองจะเป็นบริบทที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเป็นแนวโน้มในระดับโลกหรือในทางระหว่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เพราะฉะนั้นในบริบทของมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสอดคล้องและพยายามสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาและประชาชน ทั้งนี้ การศึกษาไม่ได้จบในห้องเรียนเท่านั้นแต่ยังมีการศึกษาทั้งชีวิตซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้ เพราะฉะนั้นในส่วนหัวข้อนี้จะนั้นเรื่องของแนวคิดและความสำคัญในฐานะสาขาใหม่ของกฎหมายในประเด็นที่ว่าสาขาใหม่กับกฎหมายที่ยังยืนนี้มีความสำคัญอย่างไร มีกฎหมายใหม่ใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มนี้ โดยที่วิทยากรทั้งสามท่านจะมากล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างไร
ในเบื้องต้นจะมีการถามคำถามกว้าง ๆ ซึ่งคำถามแรก คือ กฎหมายมีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างไร เพียงใด
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อ.ดร.ฐาปนันท์ กล่าวว่า ตนได้ฟังจากการบรรยายของ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ นั้นทำให้รู้ว่าโลกของเราในวันข้างหน้านี้จะอยู่ไม่ง่าย การเรียนทางกฎหมายจะต้องเตรียมตัวให้ดีเนื่องจากโลกมีความเปลี่ยนแปลงพลวัตรมาก ในแง่ของกฎหมายกับการพัฒนาที่ยังยืนซึ่งตัวหลักสูตรการเรียนจะมีการกล่าวในดำดับถัดไป ในส่วนของการเตรียมตัวของนักกฎหมายในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีความไม่แน่นอนและมีความกำกวมซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมายที่ต้องการความแน่นอนไม่กำกวมซึ่งตนคิดว่าในประเด็นนี้อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวของกฎหมายทั้งหมด จึงนำไปสู่การเตรียมตัวของนักกฎหมายโดยการศึกษาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ การศึกษาที่ยังยืนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายเพราะว่ากฎหมายนั้นเป็นศาสตร์หนึ่งในระบบการศึกษาซึ่งมีประเด็นการศึกษาที่ยั่งยืนโดยที่ในการบรรยายในชั้นเรียนของตนนั้นนอกจากที่จะมุ่งเน้นถึงเนื้อหาของกฎหมายแล้วยังมุ่งเน้นถึงนิติวิธีอีกด้วย
วันนี้ตนได้นำตัวรายงานขององค์การสหประชาชาติและยูเนสโก้ที่ตนสนใจ เนื่องจากมีเรื่องของการศึกษาที่ยั่งยืนในประเด็นของการเรียนการศึกษาและการถ่ายทอดความ โดยที่การพัฒนาการการศึกษาที่ยังยืนนั้นจะร้อยรัดการศึกษาทั้งหมดเข้าด้วยกันและไม่จำกัดระดับบนฐานคิดเดียวกัน ซึ่งในหลักสูตรปริญญาตรีของคณะนิติศาสตร์ได้มีการกล่าวถึงการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ จะต้องเข้าใจถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนเสียก่อนและการศึกษาจะเป็นสิ่งที่นำไปสู่เป้าหมายลักษณะเช่นนี้นำไปสู่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและเนื้อหาการศึกษารวมถึงวิธีการรับและถ่ายทอดความรู้ เพราะฉะนั้นการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนจึงเป็นหัวใจของการรับและการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่เรื่องของการเพิ่มเติม หรือกล่าวว่าเป็นการขยายฐานหรือองค์ความรู้เพื่อให้เข้าไปถึงหัวใจของการศึกษา
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การเสริมสร้างศักยภาพแก่ทุกคนในอันที่จะตัดสินข้อมูลในการที่จะเคารพและรักษาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาต่อไปในทางเศรษฐกิจ และการมีสังคมที่เป็นธรรมเพื่อคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นที่จะตามมาในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ยังเคารพต่อความหมายหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นมุมมองขององค์การสหประชาชาติและยูเนสโก้
ในประเด็นต่อมากล่าวถึงหัวใจของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ ประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นแก่นปัญหาของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นย่อมได้รับการบูรณาการเข้าสู่การถ่ายทอดความรู้และการศึกษาทั้งในและนอกชั้นเรียน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม โลกร้อน การลดความเสี่ยงอันเกิดจากภัยพิบัติ วิถีชีวิตที่ยั่งยืน การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแนวคิดที่สำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงทำให้ปัญหาเหล่านี้มีความพลวัตรสูงและมีความสลับซับซ้อนประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อกันอย่างลึกซึ่งและเป็นระบบ เพราะฉะนั้นการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงให้ความสำคัญการศึกษาที่ถ่ายทอดและการเรียนรู้ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ การจิตนาการสิ่งที่จะเกิดในอนาคต และการร่วมมือร่วมใจกับผู้เรียนเพื่อให้มุ่งสู่เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างยุ่งยืน
ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ที่จะตั้งคำถามในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ เรียนรู้ที่จะกำหนดจุดยืนและคุณค่าของตนเองมากยิ่งขึ้น เรียนรู้ที่จะคาดการถึงอนาคตและยั่งยืนในแง่ของตนเองและในแง่สังคม เรียนรู้ที่จะคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนหรือความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับนักกฎหมาย การเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อทำให้ตัดสินใจเรียนรู้สิ่งต่อไป และคิดวิพากษ์ถึงสิ่งที่เคยทำเคยมีในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลง
จากการที่ตนได้กล่ามาข้างจะนั้นในมุมของตนมองทางกฎหมาย โดยที่ระบบกฎหมายโรมันมีพัฒนาการอย่างสูงซึ่งได้ให้แง่มุมแก่นักนิติศาสตร์ว่า “ความยุติธรรมได้แก่เจตจำนงอันถาวรและเป็นนิรันดร์ในอันที่จะให้แก่บุคคลแต่ละคนในส่วนที่เขาพึงได้รับ” ซึ่งตนปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นการตอบโจทย์และสะท้อนมุมมองของถ้อยคำดังกล่าว คือ “การพัฒนาที่ยั่งยืนก็คือเจตจำนงอันถาวรและเป็นนิรันดร์ในอันที่จะให้แก่บุคคลแต่ละคนในส่วนที่เขาพึงจะได้รับ” บุคคลแต่ละคนในที่นี้คือคนรุ่นปัจจุบันและคนในรุ่นอนาคตซึ่งมีส่วนที่จะพึงได้รับและในขณะเดียวกันอาจจะขยายความได้อย่างมหาศาล จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนคือส่วนขยายมาจากประเด็นในความยุติธรรมในทางกฎหมายที่เราศึกษาและได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้มาเป็นระยะเวลาเพียงแต่ว่าปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ฉะนั้นจึงจะต้องใช้สติปัญญาอย่างสูงในฐานะนักกฎหมายเพราะว่าจะต้องไปทำงานในมิติภาพรวมสูงมาก กล่าวคือ หากทำงานในเรื่องหนึ่งจะต้องรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาการใช้การตีความและการอธิบายของกฎหมายที่ใช้ทำงาน หรือการที่เป็นนักกฎหมายที่มีความรู้ในเชิงบูรณาการอย่างสูงไม่ใช่ความรู้กฎหมายอย่างเดียวแต่จะต้องรู้ศาสตร์อื่นอย่างสูง
ตัวอย่างเช่น กฎหมายการเกษตรหากไม่รู้การเกษตรไม่ได้และอาจจะต้องใช้เวลาไปศึกษาเศรษฐศาสตร์การเกษตรอีกด้วย หรืออำนาจเจรจาต่อรอง และจะทำอย่างไรให้มีการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ในประเทศฝรั่งเศสมีประมวลกฎหมายการเกษตรและมาสภาการเกษตร เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันไม่เพียงแต่กฎหมายในตัวบทเท่านั้นแต่ยังพาเราไปเชื่อมโยงกับโลกภายนอกอีกด้วยซึ่งจะต้องทำความเข้าใจ เนื่องจากห้องเรียนมีเวลาไม่มากฉะนั้นนักศึกษาจะต้องใช้เวลาค้นคว้าเพิ่มเติม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร
ผศ.ดร.นิรมัย กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่ากฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เพราะว่าเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม พัฒนา สร้างความสงบเรียบร้อย ฉะนั้นกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับโลกและพัฒนาไปเท่าทันโลกด้วยซึ่งจะมีกฎหมายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้ จะเห็นว่านักศึกษากฎหมายจะต้องศึกษากฎหมายพื้นฐานได้แก่ กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายวิธีพิจารณาความ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่จะเข้ามาเสริมสร้างประสิทธิภาพซึ่งเรียกได้ว่ากลุ่มวิชาเรียกเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญได้ซึ่งได้สาขากฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยที่จะต้องเลือกรายวิชาไม่น้อยกว่า 8 รายวิชา เพื่อที่จะสร้างความเชี่ยวชาญและเอกสารรับรองความเชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ดีสามารถเลือกเรียนได้ ทั้งนี้ จึงนำมาสู่คำถามที่สองที่ว่ามีวิชากฎหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอะไรบ้าง เนื่องจากที่ได้กล่าวไปข้างต้นสามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นประกอบด้วย สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมโดยที่มีความสัมพันธ์กันและมีความเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในสังคมไม่ว่าบริบทใด ๆ ก็ตาม กฎหมายก็คือเครื่องเมือที่เข้าไปส่งเสริมและจัดระเบียบเรื่องราวดังกล่าวให้มันมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพราะฉะนั้นจึงนำมาสู่การพยายามการสร้างกฎหมายใหม่ ๆ ขึ้น ประมาณ 20 รายวิชา เช่น กฎหมายว่าด้วยสวัสดิการสังคม กฎหมายคนพิการ กฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพราะฉะนั้นตัวอย่างวิชาของเดิมที่มีการเรียนการสอน ส่วนวิชากฎหมายที่เปิดใหม่ได้แก่ กฎหมายการเกษตรกร กฎหมายการจัดการวัฒนธรรม กฎหมายการจัดการศึกษา ซึ่งไม่เคยมีการเปิดการเรียนการสอนมาก่อน
รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์ (ซ้ายในภาพ)
รศ.ดร.ภูมินทร์ กล่าวว่า กฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องทำ แต่อย่าได้กังวลกับการเปลี่ยนแปลง หากเรามีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่พวกเราจะเรียนนั้นมันสอดคล้องกับยุคหลังอุตสาหกรรมเพราะว่ามันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
(1) กฎหมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น อาชีพยูทูปเปอร์ในการทำสัญญา หรือกิจการเพื่อสังคม หรืออาชีพจากเกมออนไลน์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการบริการ เป็นต้น ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับกฎหมายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของเรา ทั้งนี้เป็นการสอดคล้องกับเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน
(2) กฎหมายกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ โดยแยกเป็นเป็นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง เศรษฐกิจสีเงินของจีนเนื่องจากทราบว่าในอนาคตจะเป็นสังคมสูงอายุจึงได้นำหุ่นยนต์เข้ามา หรือกรณีของจริยธรรมกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรืออนาคตกฎหมายจะไปควบคุมกับผู้ผลิตเทคโนโลยี เป็นต้น
(3) กฎหมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งปัญหาชายแดนอันเนื่องจากรัฐมีอำนาจน้อยจากปัญหาการทับซ้อนทางพื้นที่ ทั้งนี้ มีการค้าขายกันจำนวนมากและจะมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในด้านการค้าและการขนส่ง
(4) กฎหมายกับวัฒนธรรม ซึ่งได้แบ่งแยกเป็นหลายส่วนโดยยูเนสโก้ได้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ อนุรักษ์ สืบสานและพัฒนา ทั้งนี้กฎหมายไทยไม่มีบริบทของการพัฒนาซึ่งกฎหมายประเทศอื่นมีการพัฒนา เช่น เกาหลีมี K-Pop ญี่ปุ่นมีการ์ตูน เป็นต้น
รศ.ภูมินทร์ได้กล่าวปิดท้ายว่า การเลือกกลุ่มวิชาการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งตนคิดว่าเป็นรายวิชาในอนาคตเป็นส่วนสำคัญของพื้นฐานในประเทศเพื่อเป็นการตอบโจทย์พื้นฐานของประเทศ การเรียนกฎหมายควรเป็นวิชาที่เรียนแล้วเอาไปใช้ได้จริงในโลกของการทำงานซึ่งมีให้ทำอย่างมากมาย เช่น กฎหมายกับการพัฒนาวัฒนธรรมซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายประเทศใช้วัฒนธรรมมาพัฒนาจนประสบความสำเร็จ เป็นต้น ในระหว่างที่ตนเรียนอยู่ในต่างประเทศนั้นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มาจากประเทศไทยซึ่งเป็นจุดยืนของประเทศไทย หากเราทำให้อาหารไทยมาเป็นอาหารสากลได้สินค้าของไทยจะก้าวไกลมาก
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อ.ดร.ฐาปนันท์ กล่าวว่า ในส่วนของตนนั้นได้พิจารณาจากที่คณะนิติศาสตร์เคยได้ลองทำมาแล้วซึ่งมีวิชาหนึ่งที่ใกล้เคียงคือวิชาสัมมนานิติศึกษาทางสังคม ประวัติศาสตร์ปรัชญา ตนจึงมานั่งอธิบายการมีสาขาใหม่ว่าจะจัดวิชาใหม่อย่างไร ทั้งนี้วิชาเดิมดังกล่าวนี้มีลักษณะกว้างมากซึ่งตนคิดถึงตอนที่เคยศึกษาในประเทศฝรั่งเศสคือ กฎหมายในเชิงสถาบัน กล่าวคือ ครอบครัวเป็นสถาบันและมีกฎหมายของมันการที่มองครอบครัวเป็นสถาบันและกว้างกว่าการมองในเชิงกฎหมาย โดยที่อาจารย์ของตนได้สอนว่าอะไรที่มีลักษณะเป็นสถาบันนั้นมีจุดกำเนิดของตนเอง มีตัวตน มีหน้าที่ในสังคมและตอบสนองความต้องการของสังคม เพราะฉะนั้นจะศึกษาในเชิงสังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ และในเชิงมนุษยาวิทยา ซึ่งจะพิจารณาทั้งในแง่กฎหมายและในแง่ของสถาบันซึ่งเป็นได้หลายอย่าง เพราะฉะนั้นโดยสรุปวิชานิติศึกษาทางประวัติศาสตร์และสถาบันจึงเป็นเรื่องที่เน้นในถึงพัฒนาการของสถาบันต่าง ๆ ที่สำคัญในสังคม และตนตั้งใจจะเน้นในเรื่องของวิธีการใช้และวิธีการศึกษาเนื่องจากวิธีการศึกษาเป็นวิธีกำกับในเนื้อหาที่เป็นเป้าหมาย หากมีความแตกต่างอาจจะนำไปสู่ผลที่แตกต่าง ฉะนั้นการศึกษากฎหมายอย่างแท้จริงแล้วอาจจะมองได้หลายแง่มุมในการทำความเข้าใจ
ในวิชาต่อมาคือกฎหมายการเกษตรซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเนื่องจากจังหวัดลำปางมีบรรยากาศของการเกษตรซึ่งตนได้เห็นรวงข้าวอันสะท้อนถึงชีวิตชาวนา ในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการเกษตรเป็นสิ่งที่สัมผัสกับธรรมชาติมากที่สุด และยังมีปัญหาทางสังคมและนโยบายของรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อม การที่ประเทศฝรั่งเศสมีประมวลกฎหมายการเกษตรสะท้อนว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐไม่อาจจะมองข้ามได้และหากตนย้อนเวลาไปได้ตนจะเลือกไปเรียนในวิชานี้
เพราะฉะนั้นรายวิชาสาขาต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ใหม่ของลักสูตรปี 2561 นั้นมุ่งนั้นให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโลกมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเพื่อการประกอบอาชีพ และที่สำคัญพวกเราที่นี่เท้านั้นที่จะมีโอกาสเรียนจึงมีความน่าในใจ
อ.ดร.ฐาปนันท์ได้กล่าวปิดท้ายว่า จริง ๆ มันก็เป็นประโยชน์ในตัวของรายวิชา โดยที่ตนจะขอเปรียบเทียบกับตนเองว่าที่ตนเรียนยังมองไม่ออกซึ่งมุ่งแต่เรียนแบบเดิม การที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้กฎหมายต่าง ๆ แม้กระทั้งตนเองก็ยังมีความสนใจ ดังนั้น หากพวกเรามีความสนใจและมีการศึกษามากขึ้นอาจจะทัดเทียมต่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาแน่นอนในการศึกษาระดับสูงขึ้นและเป็นการตอบโจทย์สังคมซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้ายทายสติปัญญามาก การคิดแต่เรื่องตัวบทอย่างเดียวคงไม่เพียงพอแต่นโยบายข้างหน้าที่จะใช้วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมัย พิศแข มั่นจิตร
ผศ.ดร.นิรมัย กล่าวถึง 4 วิชาโดยสรุป ดังนี้
(1) กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาเกี่ยวกับการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมในเชิงวิธีการจัดการ และการควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(2) กฎหมายเกี่ยวข้องกับการจัดการการศึกษาซึ่งการศึกษาเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้แก่ประชากร ดังนั้นการศึกษาจึงจะต้องจัดขึ้นอย่างมีคุณภาพและเสมอภาคอย่างเทียมกัน ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกฏิรูปในชั้นโรงเรียน อาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งประเทศฝรั่งเศสจะเน้นการศึกษาในเชิงวิชาชีพโดยเฉพาะและสูงกว่ามหาวิทยาลัย
(3) กฎหมายชีววิทยาจริยศาสตร์ ซึ่งศึกษาในเรื่องของการเจริญพันธ์ การชีวภาพต่าง ๆ จริยศาสตร์ ในการมองเชิงกฎหมายว่าดีหรือไม่และมีกฎหมายเข้าไปควบคุม ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายสุขภาพ ทั้งนี้ ประเทศฝรั่งเศสมีประมวลกฎหมายสุขภาพอีกด้วย
จากที่กล่าวมานี้นำมาสู่คำถามว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษารายวิชาใหม่เหล่านี้
ผศ.ดร.นิรมัยได้กล่าวปิดท้ายว่า นักศึกษาหลักสูตรใหม่นี้มีโอกาสมากขึ้น ซึ่งจะมีโอกาสเลือกเรียนมากในชั้นปีที่ 3-4 โดยที่การเรียนในสาขาวิชากฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเรียน 6 ตัวหรือ 18 หน่วยกิจเพื่อที่จะได้ใบรับรอง อย่างไรก็ตามสาขากฎหมายเดิมยังคงมีอยู่หรือจะเลือกข้ามสาขาก็ได้