ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
อาจารย์ ดร.
ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
การศึกษา
พ.ศ. 2565 Dr. jur. (summa cum laude), Westfälische Wilhelms-Universität Münster, ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ „Same Same But Different: Grundgesetzimport und Verfassungsmutation in Thailand“ (ดูเหมือนแต่ก็ไม่ใช่: การรับเข้ากฎหมายพื้นฐานและการกลายพันธุ์ของความคิดทางรัฐธรรมนูญในประเทศไทย)
พ.ศ. 2564 ประกาศนียบัตร International Beer Sommelier จาก Deutsche Bierakademie, Bamberg ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
พ.ศ. 2563 ประกาศนียบัตรประวัติศาสตร์กฎหมายเยอรมัน, Westfälische Wilhelms- Universität Münster, ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
พ.ศ. 2558 LL.M. (summa cum laude), Westfälische Wilhelms-Universität Münster, ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
พ.ศ. 2558 นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หัวข้อวิทยานิพนธ์ “พระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ”
พ.ศ. 2552 นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์
การทำงาน
พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิชาที่รับผิดชอบ: สิทธิขั้นพื้นฐาน, กฎหมายมหาชนเบื้องต้น, กฎหมายปกครอง, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ, ประวัติศาสตร์กฎหมาย ไทย, ประวัติศาสตร์กฎหมายมหาชน
พ.ศ. 2552-2553 Internship, คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists: Asia Pacific Regional Programme)
พ.ศ. 2551 Summer Clerk, Clifford Chance (เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม)
สาขา
ที่สนใจ
- กฎหมายมหาชน
- กฎหมายรัฐธรรมนูญ
- กฎหมายปกครอง
หลักสูตร
ที่สอน
- กฎหมายมหาชน
- กฎหมายรัฐธรรมนูญ
- กฎหมายปกครอง
ผลงาน
ทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการ (บางส่วน)
บทความ เรื่อง การจัดทำรัฐธรรมนูญในศตวรรษที่ 21: ความชอบธรรมเชิงกระบวนการกับสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน, ใน Democracy, Constitution and Human Rights: Festschrift in Honour of Warawit Kanithasen, 2561, หน้า 110-133.
รายงานวิจัย เรื่อง “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ในกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย: การกลายพันธุ์ของความคิดทางรัฐธรรมนูญที่รับเข้าจากต่างประเทศ? เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรกฎาคม พ.ศ. 2560).
บทความ เรื่อง ความ (ไม่) จำเป็นของกฎหมายธรรมชาติใน “รัฐที่ปกครองโดยรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย”?, วารสารนิติศาสตร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ปีที่ 46 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน พ.ศ. 2560), หน้า 433-461.
รายงานวิจัย เรื่อง กฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มิถุนายน พ.ศ. 2559).
รายงานวิจัย เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยองค์กรตุลาการ เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2555).