ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ข้อมูลส่วนตัว
- อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
การศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายอาญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Master of Laws (LL.M.) Deutsches Recht und Europäische Rechtsvergleichung (sehr gut) Universität des Saarlandes ประเทศเยอรมนี
- กำลังศึกษาต่อระดับนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในหัวข้อดุษฎีนิพนธ์เรื่อง „Strafrechtliche Vorgesetztenverantwortlichkeit als notwendige Maßnahme zur globalen Prävention der Korruption“ (ความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชาในฐานะมาตรการที่จำเป็นสู่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสากล) Universität des Saarlandes ประเทศเยอรมนี
หัวข้อ
วิทยานิพนธ์
- ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติโดยเปรียบเทียบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (นิติศาสตรมหาบัณฑิต ธรรมศาสตร์)
- Die Folgen des Aussageverweigerungsrechts im materiellen Strafrecht: Rechtsvergleich zwischen deutschem und thailändischem Recht (ผลทางกฎหมายอาญาสารบัญญัติของสิทธิที่จะไม่ให้การอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง: กฎหมายเปรียบเทียบเยอรมัน-ไทย) (Master of Laws (LL.M.) Deutsches Recht und Europäische Rechtsvergleichung (sehr gut), Universität des Saarlandes)
ประสบการณ์
การทำงาน
- เมษายน 2562–ปัจจุบัน : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กันยายน 2561–มีนาคม 2562 : นักวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลกฎหมาย กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กันยายน 2560–2561 : ผู้ช่วยวิจัย คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมพยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สาขา
ที่สนใจ
- กฎหมายอาญา
- กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- กฎหมายอาญาเปรียบเทียบ
- กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ
- อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
หลักสูตร
ที่สอน
- กฎหมายอาญา : ภาคทั่วไป
- กฎหมายอาญา : ภาคความผิด
- กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- สัมมนาปัญหากฎหมายอาญา
ผลงาน
ทางวิชาการ
บทความวิชาการ
- “การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่ปรากฏตัวจำเลย: ศึกษาการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 47 ฉบับที่ 4 (2561)
- “การกำหนดความผิดอาญาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77: ศึกษากรณีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534” วารสารกระบวนการยุติธรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (2561)
- “ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยอันได้มาโดยการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” หนังสือรวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล (2561)
- “บทสันนิษฐานแห่งการทุจริตในคดีสินบน: ศึกษาการนำมาปรับใช้ในระบบกฎหมายอาญาไทย” วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (2562)
- “บทสันนิษฐานแห่งการทุจริตในคดีสินบนของสาธารณรัฐสิงคโปร์: ศึกษาการนำมาปรับใช้ในระบบกฎหมายอาญาไทย” หนังสือรวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต (2562)
- “ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น: ศึกษากรณีการรับอาสากระทำความผิด” วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 48 ฉบับที่ 4 (2562)
บทวิเคราะห์คำพิพากษา
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227/2553 (วิกฤติที่ไม่ก่อให้เกิดวีรบุรุษในกฎหมายอาญา) รพี 2563 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563)
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่724/2563 (ปัญหาความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยเจตนาฆ่า) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 49 ฉบับที่ 3 (2563)
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2555 (ความรับผิดทางอาญาของผู้สนับสนุนโดยนิ่งเฉย) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 (2564)
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2563 (ปัญหาการดำเนินคดีอาญากรณีการข่มขืนใจผู้อื่นโดยแอบอ้างความสัมพันธ์กับบุคคลในราชสำนัก) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 50 ฉบับที่ 4 (2564)
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2561 (การหมิ่นประมาทที่ไม่อาจถูกลงโทษได้ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 51 ฉบับที่ 3 (2565)
ปกิณกะกฎหมาย
- เหตุยกเว้นโทษสำหรับผู้สูงอายุในกฎหมายอาญาเก่าของประเทศไทย วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 50 ฉบับที่ 3 (2564)
- “จงใจ” ในกฎหมายแพ่ง และ “เจตนา” ในกฎหมายอาญา : การจำแนกความแตกต่างที่ไร้ซึ่งความจำเป็น วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 52 ฉบับที่ 3 (2566)
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
- “บทสันนิษฐานแห่งการทุจริตในคดีสินบนของสาธารณรัฐสิงคโปร์: ศึกษาการนำมาปรับใช้ในระบบกฎหมายอาญาไทย” รายงานการประชุมการนำเสนอผลงานวิจัยคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ประจำปี 2561
- “Eco-catastrophe in the South China Sea and the Crime of Ecocide” China-ASEAN Criminal Law Forum 2019 Guangxi University for Nationalities
บทความอิเล็กทรอนิกส์
- “การสังเวยชีวิตเพื่อรักษาชีวิต: การปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยวัยชราเพื่อรักษาผู้อ่อนวัยของแพทย์กรณีไวรัสโคโรนาในประเทศอิตาลี และผลในทางกฎหมายอาญาไทย”
เข้าถึงได้ที่ https://www.law.tu.ac.th/tulawcovid19-proved-covid-criminal-law/
- “การฉ้อราษฎร์บังหลวงขนาดใหญ่ภายใต้ระบอบโจราธิปไตย: อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติรูปแบบใหม่แห่งศตวรรษที่ 21”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/kleptocracy/
- “ไม่มีการกดขี่ใดโหดร้ายไปกว่าการใช้อำนาจกฎหมายในนามความยุติธรรม” การพิจารณาคดีเนติฆาตกร
เข้าถึงได้ที่ https://themomentum.co/history-justicecase/
- “คดีความผิดมาตรา 112 กับกระบวนการยุติธรรมไทยที่ไปไม่ค่อยเป็น”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/the-law-enforcement-and-section-112/
- “ช่องโหว่ของกฎหมายอาญาไทย กรณีการซื้อผลงานทางวิชาการ”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/the-law-of-buying-academic-papers/
- “คำพิพากษาศาลฎีกา META แห่งเนติบัณฑิตไทย”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/meta-of-the-thai-bar/
- “ยิ่งจริง ยิ่งไม่หมิ่นประมาท”: ความผิดฐานหมิ่นประมาทกฎหมายเยอรมัน”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/defamation-law/
- “วงการ E-Sport กับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่กฎหมายอาญาไทยยังไล่ตามไม่ทัน”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/e-sport-and-criminal-law/
- “อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ในฐานะข้อต่อสู้ทางกฎหมายอาญา”
เข้าถึงได้ที่ https://www.the101.world/pms-as-a-criminal-defense/
รายงานการศึกษาวิจัย
- “ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น: ศึกษากรณีการรับอาสากระทำความผิด” เสนอคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2562)
- “ปัญหาในทางทฤษฎีเกี่ยวกับการสำคัญผิดในกฎหมายอาญาไทย: กรณีการสำคัญผิดในเหตุที่บุคคลมีอำนาจกระทำ” เสนอคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564)
รางวัล
- รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับคณะ ประเภทอาจารย์ ประจำปี 2563 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ระดับปริญญาโท และหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติโดยเปรียบเทียบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย”
- ผู้สร้างชื่อเสียงและคุณประโยชน์ให้กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558
- รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายในระดับอุดมศึกษา เนื่องในวันรพีวิชาการชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ปีการศึกษา พ.ศ.2557
- รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันการแถลงการณ์ด้วยวาจาในศาลชั้นอุทธรณ์ เนื่องในวันนิติวิชาการ ปีการศึกษา 2557