กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
- อาจารย์ประจำ ศูนย์กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การศึกษา
พ.ศ. 2560
- Ph.D. in Law The University of Dundee (United Kingdom)
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง : An Appraisal of Third-Party Dispute Settlement Mechanisms in Settling International Environmental Disputes (ภายใต้การควบคุมของ Professor Robin R. Churchill และ Professor Elizabeth A. Kirk)
พ.ศ. 2553
- LL.M. Global Environment and Climate Change Law The University of Edinburgh (United Kingdom)
วิทยานิพนธ์เรื่อง : The Establishment of an International Environmental Court (ภายใต้การควบคุมของ Professor Alan E. Boyle)
พ.ศ. 2552
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยานิพนธ์เรื่อง: หลักเกณฑ์และผลทางกฎหมายของการไม่ปฏิบัติ ตามพันธกรณีอันเป็นสาระสำคัญของสนธิสัญญาตามมาตรา 60 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ ดร. จตุรนต์ ถิระวัฒน์)
พ.ศ. 2550
- นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์
การทำงาน
พ.ศ. 2567
- อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2554 – 2566
- อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วิชาที่ได้รับมอบหมายระดับปริญญาโท (หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต):
– วิชากฎหมายระหว่างประเทศกับการพัฒนา
– วิชาปัญหากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– วิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
– วิชานิติปรัชญา
– วิชาระเบียบวิธีวิจัย
– วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย
วิชาที่ได้รับมอบหมายระดับปริญญาโท (หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเพื่อการบริหาร):
– วิชานิติธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล
– วิชากฎหมายเพื่อการบริหารงานบุคคล
วิชาที่ได้รับมอบหมายระดับปริญญาเอก (หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต)
– วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย
– วิชากฎหมายกับการพัฒนาขั้นสูง
พ.ศ. 2560-2566
- อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิชาสอนระดับปริญญาตรี: LL.B. (English Program)
– International Environmental Law (LB 395) (พ.ศ. 2560-2562)
– Public International Law (LB 390) (พ.ศ. 2560)
– International Law of the Sea (LB 397) (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)
วิชาสอนระดับปริญญาตรี (ภาคปกติ) ศูนย์รังสิต
– กฎหมายทะเล
หลักสูตร Master of Laws Program in Business Law (English Program).
– Advanced Environmental Law (LB 644) (Semester 2/2019, พ.ศ. 2563)
- อาจารย์พิเศษ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
– วิชากฎหมายทะเล (รหัสวิชา 1605424)
- อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– วิชากฎหมายทะเล
- อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
– วิชากฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล (รหัสวิชา 100351)
- อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– วิชากฎหมายทะเล (รหัสวิชา 870-345)
- อาจารย์พิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
– วิชากฎหมาย นโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม (รหัสวิชา ENM5103)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
ประวัติการทำงาน
(ด้านการวิจัย)
งานวิจัยที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2565
- นักวิจัยโครงการ “การปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้สอดคล้องกับ1ข้อ 14 แห่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน” ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
พ.ศ. 2565
- นักวิจัยโครงการ “การศึกษารูปแบบของการพัฒนาระบบอนุญาตระบายมลพิษ ระยะที่ 3” ภายใต้การสนับสนุนจาก กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2564
- โครงการพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
พ.ศ. 2561
- นักวิจัยโครงการ “ระบบการระงับข้อพิพาทภาคบังคับภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982: ถอดบทเรียนจากแนวคำพิพากษาของศาลและคณะตุลาการว่าด้วยเรื่องเขตอำนาจในการพิจารณาคดี” ภายใต้การสนับสนุนจาก คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2560-2561
พ.ศ. 2560
- นักวิจัยโครงการ “ความเป็นสากลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม: วิเคราะห์จากแง่มุมทางกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลและการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน” ภายใต้การสนับสนุนจาก คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2552-2553
- นักวิจัยโครงการ “ยกร่างกฎหมายไทยเพื่อบังคับใช้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ภายใต้การ สนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน พ.ศ.2553
- นักวิจัยโครงการ “แนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาองค์การและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2553
- นักวิจัยโครงการ “ความเป็นไปได้ในแง่กฎหมายสำหรับประเทศไทยในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) พ.ศ.2552
- นักวิจัยโครงการ “ความรับผิดชอบระหว่างประเทศต่อความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ภายใต้การสนับสนุนจาก คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2552
- ผู้ช่วยนักวิจัย “โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษากลไกการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี” ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ.2552
- ผู้ช่วยนักวิจัย “ศึกษาการบังคับใช้กฎหมายตรวจเงินแผ่นดิน” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและธนาคารโลก พ.ศ.2552
งานวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมของโครงการวิจัยเรื่อง “Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities” (โครงการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืน) ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ
งานตรวจสอบหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- อนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประวัติการทำงาน
(ด้านการบริการวิชาการ)
ด้านวารสารวิชาการ
บรรณาธิการวารสาร
- วารสารกฎหมายนิติพัฒน์ นิด้า (คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
- Thai Legal Studies (Thammasat University)
- ผู้ช่วยบรรณาธิการวารสาร International Union for Conservation of Nature (IUCN) EJournal (พ.ศ. 2557-2558)
พิจารณาบทความทางวิชาการ
- วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ด้านการสอบวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และอื่น ๆ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกฎหมายระหว่างประเทศ
- ประธานกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (DJA)
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ประธานสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต
ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน)
คณะทำงาน
- คณะทำงานยกร่างกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย) (พ.ศ. 2560 – 2561)
- คณะทำงานจัดทำหลักสูตร “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน สำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุน” (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (พ.ศ. 2563)
ประวัติการทำงาน
(ด้านการบริหารคณะ)
พ.ศ. 2563-2566
- รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ้นจากตำแหน่งกันยายน 2566)
พ.ศ. 2563-2566
- ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเพื่อการบริหาร คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ้นจากตำแหน่งตุลาคม 2566)
พ.ศ. 2560-2563
- ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายเพื่อการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- กรรมการสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผลงาน
ทางวิชาการ
หนังสือ
พ.ศ. 2567
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล “ข้อพิจารณาด้านกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าระหว่าง ประเทศและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สถาบันพระปกเกล้า 2566. (กำลังดำเนินการ)
พ.ศ. 2565
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล “การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิใน อากาศที่สะอาด” สถาบันพระปกเกล้า 2565. จำนวน 76 หน้า (ISBN 9786164763180) กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล, รณบรรจบ อภิรติกุล, ธันวดี สุขสาโรจน์, ปิยศักดิ์ มานะสันต์, นิอร สิริมงคลเลิศกุล, รุจิกาญจน์ อภิรักษ์กิตติกุล, นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล และศิวัช พงษ์เพียจันทร์ “สิทธิในการหายใจอากาศสะอาด: ข้อเสนอแนะในเชิงกฎหมาย” จัดพิมพ์โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2565. จำนวน 126 หน้า (ISBN 9786165850032)
บทความในวารสาร
พ.ศ. 2566
- Chukiat Chaiboonsri, Paponsun Eakkapun, Niorn Sirimongkonlertkun, Thunwadee Tachapattaworakul Suksaroj, Rujikan Nasanit, Ronbanchob Apiratikul, Navarat Apirakkittikul, Piyasak Manason, Krisdakorn Wongwuthikun, and Siwatt Pongpiachan “The Impact of PM2.5 on Socio-Economic of Thailand: The Perception Based on The Survey Data” NIDA Development Journal Volume. Vol. 63 No. 2 (2023) pp. 106-124.
พ.ศ. 2565
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล, ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช “การปรับปรุงกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับข้อ 14 แห่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDG 14) ว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน” วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 51. ฉบับที่ 3 (2565) หน้า 648-678.
พ.ศ. 2561
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “ระบบการระงับข้อพิพาทภาคบังคับภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982: ถอดบทเรียนจากแนวคำพิพากษาของศาลและคณะตุลาการว่าด้วยเรื่องเขตอำนาจในการพิจารณาคดี” วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 47. ฉบับที่ 4 (ธ.ค. 2561) หน้า 879-916.
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “วิเคราะห์คำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการในคดีพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์และจีนผ่านมุมมองด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ”. วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 47. ฉบับที่ 1 (มี.ค. 2561) หน้า 109-134.
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “ทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจแห่งชาติ: ความท้าทายใหม่ของกฎหมายทะเล”. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 36. ฉบับที่ 1 (มี.ค. 2561) หน้า 139-154.
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “สำรวจความท้าทายและข้อจำกัดบางประการของการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐในบริบทของมลพิษข้ามพรมแดน”. วารสารนิติสังคมศาสตร์. ปีที่ 11. ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561) หน้า 1-27.
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกฎหมายทะเล: ผลกระทบและทางออกของปัญหา”. วารสารนิติพัฒน์ นิด้า. ปีที่ 7. ฉบับที่ 1 (2561) หน้า 53-63.
พ.ศ. 2558
- Krisdakorn Wongwuthikun “Country Report: Thailand” (2015) 6 IUCN E-Journal 405-415.
พ.ศ. 2555
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “การจัดตั้งองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางนิวเคลียร์แห่งชาติ: มาตรฐานระหว่างประเทศ และการศึกษาเปรียบเทียบ” วารสารพัฒนาสังคม. 14, 1 (มี.ค 2555) หน้า 62-112.
พ.ศ. 2553
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “หลักเกณฑ์และผลทางกฎหมายของการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีอันเป็นสาระสำคัญของสนธิสัญญาตามมาตรา 60 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา” วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์. 4, 1 (ส.ค. 2553) หน้า 166-176.
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “การขนส่งวัสดุนิวเคลียร์กับปัญหาการใช้สิทธิในการผ่านโดยสุจริต (right of innocent passage) และหลักการป้องกันล่วงหน้า (precautionary principle)” วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี. 5, 5 (2553) หน้า 71-88.
พ.ศ. 2552
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล, จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. “องค์กรความปลอดภัยนิวเคลียร์แห่งชาติ: การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบองค์กรของต่างประเทศและแนวทางการจัดตั้งของประเทศไทย” วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 38. ฉบับที่ 3 (ก.ย. 2552) หน้า 164-197.
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “หลักเกณฑ์และผลทางกฎหมายของการละเมิดสนธิสัญญา อย่างร้ายแรงตามมาตรา 60 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา: กรณีศึกษาการละเมิดสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์” วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 38. ฉบับที่ 3 (ก.ย. 2552) หน้า 292-322.
บทความในหนังสือรวมบทความ
พ.ศ. 2565
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “ปัญหาบางประการของการตีความและการใช้บทบัญญัติ
เรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล
ค.ศ. 1982” ในอาจาริยบูชาศาสตราจารย์ ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์. คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 17 – 45.
พ.ศ. 2564
- Krisdakorn Wongwuthikun, Naporn Popattanachai. “Siam and the Standard of Civilisation in the Nineteenth Century” in Thai Legal History from Traditional to Modern Law. Cambridge University Press. pp. 202-214.
รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
พ.ศ. 2564
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “พัฒนาการของความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกันในยุคแห่งการเบ่งบานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน” รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 55 แห่งการสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2564, หน้า 808 – 827.
พ.ศ. 2564
- Krisdakorn Wongwuthikun, “Dispute Settlement System under the 1982 United Nations Convention on the Law of the Sea: An Appraisal of the Appropriateness of Conciliation for Settling Maritime Disputes in South East Asia” The Proceedings of the 9th ICADA “Development toward Asianization in the Digital Era” (NIDA 2021) pp. 276-286
พ.ศ. 2563
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “ความท้าทายของการปรับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 54 แห่งการสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2563, หน้า 888 – 904.
พ.ศ. 2560
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. “ความเป็นสากลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม: วิเคราะห์จากแง่มุมทางกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลและการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน” รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ปีที่ 51. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560. หน้า 980-996.
รางวัล
พ.ศ. 2554
- นักเรียนทุนเรียนดีสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) (กำหนดให้ไปศึกษาต่อปริญญาโท-เอก ด้านกฎหมายผังเมืองและสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ.2554 ณ ประเทศสหราชอาณาจักร)
พ.ศ. 2557
- ประกาศนียบัตรฝึกอบรมกฎหมายทะเล สอบผ่านในระดับ magna cum laude จัดโดยกระทรวงมหาสมุทรและการประมงแห่งประเทศเกาหลีใต้ Awarded the Diploma (Magna Cum Laude) Yeosu Academy of the Law of the Sea, Outstanding achievement satisfactorily participated in and successfully completed a courses of the Yeosu Academy of the Law of the Sea, Hosted by the Korean Ministry of Oceans and Fisheries (2014)
การฝึกอบรม
พ.ศ. 2561
- ฝึกอบรมกฎหมายทะเล The International Foundation for the Law of the Sea (IFLOS) Summer Academy จัดโดยศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (The International Tribunal for the Law of the Sea) ณ เมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี
พ.ศ. 2557
- ฝึกอบรมกฎหมายทะเล Yeosu Academy of the Law of the Sea จัดโดย กระทรวงมหาสมุทรและการประมงแห่งประเทศเกาหลีใต้ ณ เมือง Yeosu ประเทศเกาหลีใต้
พ.ศ. 2557
- Second Contemporary Challenges Of International Environmental Law Conference 2014 จัดโดย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Ljubljana ประเทศสโลวีเนีย
สาขาที่สนใจ
- กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
- กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- กฎหมายทะเล
- กฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง