มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล
รองศาสตราจารย์ ดร.
มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล
รองศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
- อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่ง
- อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
การศึกษา
พ.ศ. 2532
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสุรนารีวิทยา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
พ.ศ. 2535
- นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย (เกียรตินิยมอันดับ 2)
พ.ศ. 2536
- ประกาศนียบัตรวิชาว่าความจาก สำนักอบรมทนายความแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2540
- หลักสูตรเทียบเท่านิติศาสตร์มหาบัณฑิต Dipleme Etudes Approfondies (D.E.A.) วิชาเอก กฎหมายสหภาพยุโรป (Droit Communautaire) มหาวิทยาลัยตูลูส 1 ประเทศฝรั่งเศส (เกียรติ นิยมระดับดีมาก)
พ.ศ. 2544
- นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต Docteur en droit วิชาเอก สาขากฎหมายเอกชน (Droit Prive) เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็ก มหาวิทยาลัยตูลูส 1 ประเทศฝรั่งเศส (เกียรตินิยมระดับดีมาก)
ประวัติการฝึกอบรม
พ.ศ. 2535
- อบรมหลักสูตรว่าความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ โดยสภาทนายความ
พ.ศ. 2564 – 2567
- อบรมหลักสูตรผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการวิจัยในคนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์
ประสบการณ์
การทำงาน
ประสบการณ์ในการทำงาน : ปัจจุบัน
พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน
- บรรยายวิชากฎหมายลักษณะครอบครัว ชั้นปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บรรยายวิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ชั้นปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บรรยายวิชากฎหมายอาญาภาคความผิด ชั้นปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บรรยายวิชาความรู้กฎหมายเบื้องต้น ชั้นปริญญาตรี (นอกคณะฯ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บรรยายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาและความ ร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา ชั้นปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน
- อาจารย์พิเศษบรรยายวิชากฎหมายครอบครัว ชั้นปริญญาตรี ใน มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล มหาวิทยาราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยหอการค้า
พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน
- บรรยายวิชากฎหมายอาญาชั้นสูง ชั้นปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บรรยายวิชาสัมมนากฎหมายอาญา ชั้นปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บรรยายวิชาปัญหากฎหมายอาญา ชั้นปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน
- อาจารย์พิเศษบรรยายวิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไปและภาค ความผิด ชั้นปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะสังคมและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
- กรรมการศูนย์ศึกษากฎหมายฝรั่งเศส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน
- อาจารย์บรรยายวิชากฎหมายอาญาชั้นสูง ชั้นปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน
- ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ในการทำงาน : อดึต
พ.ศ. 2536 – 2537
- ที่ปรึกษากฎหมายในสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ปฏิบัติงานในฐานะทนายความอาสาในสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2544 – 2548
- กรรมการศูนย์ศึกษากฎหมายฝรั่งเศส คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2544 – 2550
- วิทยากรพิเศษในการบรรยายเกี่ยวกับกฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเด็ก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2546 – 2548
- บรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ประธานโครงการตำรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2546 – 2562
- ผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อสัญญาไม่เป็นธรรมและการแข่งขันทาง การค้า” ในโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายธุรกิจสำหรับบุคคล ทั่วไป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2547 – 2548
- กรรมการวางแผน ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2547 – 2550
- รองคณบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2550 – 2554
- อดีตหัวหน้าภาควิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา (2 สมัย)
ประวัติการทำงานด้านการจัดอบรม
- จัดทำหลักสูตรอบรมเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้กับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องและใช้อบรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน (ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) – แปะรูปปกหนังสือให้ด้วยนะคะ
- จัดอบรมเรื่อง “สิทธิในเนื้อตัวร่างกายและการล่วงละเมิดทางเพศในรั้วโรงเรียน” ให้นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอนันตา ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560 (โครงการจิตอาสาฯ)
- จัดอบรมเรื่อง “การเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุทางเพศในรั้วโรงเรียน” ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 (โครงการจิตอาสาฯ)
- เป็นวิทยากรในข้อบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศและความผิดเกี่ยวกับเพศให้กับหลายสถาบัน
สาขาที่สนใจ
- กฎหมายอาญา
- กฎหมายลักษณะครอบครัว
- กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน
หลักสูตร
ที่สอน
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- กฎหมายอาญา : ภาคทั่วไป
- กฎหมายอาญา : ภาคความผิด
- กฎหมายลักษณะครอบครัว
- กฎหมายลักษณะมรดก
- กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาและความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา
- ปัญหากฎหมายอาญา
- กฎหมายอาญาชั้นสูง
- บัณฑิตสัมมนา
ผลงาน
ทางวิชาการ
หนังสือ
- มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเพศศึกษา .พิมพ์ครั้งที่ 3. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546)
บทความ
- “เหตุสำคัญ” ตามมาตรา 1443.. .. กับอิสระในทางเลือกของผู้หญิงไทย.” (วารสารนิติศาสตร์. ฉบับที่ 2. ปีที่ 31) (มิถุนายน 2544)
- “การคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดทางเพศในประเทศฝรั่งเศส.” (วารสารนิติศาสตร์. ฉบับที่ 3. ปีที่ 31) (กันยายน 2544)
- “ขอบเขตความเป็นส่วนตัวของบุคคลสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา.” (รวมบทความวิชาการประจำปี ครั้งที่ 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2549)
- “การคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในกฎหมายไทย” (วารสารนิติศาสตร์. ฉบับที่ 4. ปีที่ 48) (กันยายน 2562)
ผลงานวิจัย
- งานวิจัยเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติการขจัดความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.: ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกา อังกฤษ คานาดา ออสเตรเลีย สิงคโปร์และมาเลเซีย”, เสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า, 2547, 95 หน้า.
- รายงานวิจัยเรื่องบทบาทของผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวของไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศฝรั่งเศส, โครงการวิจัย เสริมหลักสูตรคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, 70 หน้า.
- โครงการวิจัยเรื่อง “หลักกฎหมาย แนวคิดและความเหมาะสมเกี่ยวกับการกระทำโดยพลาด: ศึกษาจากรายงานการประชุมต้นร่างตั้งแต่ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาจนถึงปัจจุบัน” เสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553, 162 หน้า.
- หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็ก, เสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562, 381 หน้า.
- โครงการวิจัยเพื่อจัดทำตำราเรียนเรื่อง การพิจารณาคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิดอาญา, เสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563, 259 หน้า.
- โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาทัศนติและพฤติกรรมครอบครัวของผู้ตกเป็นเหยื่อและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลให้เกิดการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะกรณีการค้าหญิงและเด็ก” เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2549, 251 หน้า.
- โครงการวิจัยเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมทางเพศ ระยะที่ 1, สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2549, 193 หน้า.
- โครงการวิจัยเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมทางเพศ ระยะที่ 2, สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2550, 180 หน้า.
- โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาเพื่อติดตามประเมินผลการจัดให้มีสหวิชาชีพในการสอบปากคำเด็กตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ” เสนอต่อสำนักงานกิจการยุติธรรม, 2551, 175 หน้า.
- โครงการวิจัยเรื่อง “ร่างหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550” เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถานบันครอบครัว, 2553, 289 หน้า.
- โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริตในองค์กรสาธารณะนอกระบบราชการ” เสนอต่อคณะอนุกรรมการฝ่ายวิจัยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, 2554, 212 หน้า
- โครงการวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2556, 217 หน้า.
- โครงการวิจัยเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของศาลเยาวชนและครอบครัวในการพิจารณาคดีฟ้องหย่าและการดูแลบุตร เสนอต่อสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม, 2557, 305 หน้า.
- โครงานวิจัยเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติรับรองเพศ พ.ศ… เสนอต่อ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2560, 339 หน้า.
- โครงการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีและครอบครัว: ทบทวนกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี (ระยะที่ 1), เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. 2561, 311 หน้า.
- โครงการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีและครอบครัว: ทบทวนกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี (ระยะที่ 2), เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2562, 348 หน้า.
- โครงการวิจัยย่อยเพื่อศึกษาแนวทางการลดปริมาณคดีอาญาของกระบวนการยุติธรรม : บทบาทของยุติธรรมชุมชน, เสนอต่อ สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, เมษายน 2565, 415 หน้า.
- โครงการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว, เสนอต่อ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2567 (อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนพฤศจิกายน 2567)
- โครงการศึกษา “ความเหมาะสมของปรับเปลี่ยนสถานภาพสถานศึกษาของรัฐเป็นองค์การมหาชน” เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้างราชากรพลเรือน (ก.พ.), 2546.
- โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาการบังคับใช้กฎมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์” เสนอต่อ UN Inter-Agency Project on Human Trafficking in the Greater Mekong Sub-Region, 2551.
รางวัล
- รางวัลวิจัยดีของสภาวิจัยแห่งชาติ โครงการ โครงการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ เสนอต่อสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ประจำปี 2562
-
รางวัลผลงานวิจัยระดับดีจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีและครอบครัว : ทบทวนกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี (ระยะที่ 1 และ 2)” ประจำปีงบประมาณ 2565