ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
รองศาสตราจารย์ ดร.
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
รองศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิตจาก University of Konstanz ประเทศเยอรมนี และนิติศาตรดุษฎีบัณฑิตจาก Friedrich-Schiller-University of Jena ประเทศเยอรมนี ความสนใจทางวิชาการอยู่ในพรมแดนเกี่ยวกับ ทฤษฎีรัฐธรรมนูญ ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน เสรีภาพทางวิชาการ รวมถึงกฎหมายปกครอง รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ สอนในวิชาสิทธิขั้นพื้นฐาน กฎหมายปกครอง และกฎหมายแรงงานที่คณะนิติศาสตร์ และสอนวิชาพนักงานสัมพันธ์และแรงงานสัมพันธ์ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงานทางวิชาการได้แก่ หนังสือชื่อ “ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน” รวมถึงผลงานวิจัยและบทความบางส่วนในเรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎีประชาธิปไตยและศาลรัฐธรรมนูญ
การศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Legum Magister (LL.M.) University of Konstanz ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
- Doctor Juris (Dr. iur.) Friedrich-Schiller-Universität Jena ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
หัวข้อ
วิทยานิพนธ์
- “Das Weisungs– und Disziplinarrecht im Hochschulwesen in Deutschland und Thailand” (อำนาจบังคับบัญชาและเรื่องทางวินัยในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศเยอรมนีและประเทศไทย) (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก)
ประสบการณ์
การทำงาน
- อดีตรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา
- อดีตรองคณบดีฝ่ายบริหารและวิจัย
- กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หัวหน้าหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน
- ผู้อำนวยการโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน
- อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาที่สนใจ
- กฎหมายรัฐธรรมนูญ
- กฎหมายปกครอง
- สิทธิขั้นพื้นฐาน
- กฎหมายแรงงาน
- กฎหมายข้าราชการ
หลักสูตร
ที่สอน
- กฎหมายมหาชนเบื้องต้น
- กฎหมายปกครอง 1
- กฎหมายปกครอง 2
- กฎหมายปกครองชั้นสูง
- กฎหมายแรงงาน
- สิทธิขั้นพื้นฐาน
- กฎหมายว่าด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ
ผลงาน
ทางวิชาการ
หนังสือ
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน, กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561
งานวิจัย
- โครงการศึกษาแนวทางการรับโอนการจัดการเดินรถโดยสารประจำทางของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ศ. ดร.สุรพล นิติไกรพจน์และคณะ โดยรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับระบบบริหารงานบุคคลและแรงงาน
- โครงการออกกฎหมายอนุวัตการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับ สมคิด เลิศไพฑูรย์ (หัวหน้าโครงการ), ปิยบุตร แสงกนกกุล, อนุชา ฮุนสวัสดิกุล เสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรี (2547)
- โครงการศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ร่วมกับ ผศ.ดร. สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์และคณะ (2547)
- “การพัฒนากระบวนวิธีพิจารณาของศาลแรงงานตามระบบไต่สวน” เสนอ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (2557)
- โครงการวิจัยและการจัดทำรายละเอียดทางเทคนิคเพื่อเป็นแนวทางในการออกกฎหมายลำดับรองในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ วงศ์บัณฑิต (2560)
บทความวิชาการ
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, เสรีภาพทางวิชาการในระบบกฎหมายเยอรมัน: วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (2550)
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, “ใครควรเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ข้อโต้แย้งทางวิชาการระหว่างคาร์ล ชมิตต์และฮันส์ เคลเซ่น: วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 (2556)
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันกับหลักการจำกัดอำนาจตนเองของฝ่ายตุลาการ : วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 (2557)
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องเป็นข้าราชการ: การอภิปรายปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสถานะลูกจ้างของอาจารย์มหาวิทยาลัยในเยอรมนี: วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 4 (2557)
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, สถานะทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 45 ฉบับที่ 3 (2559)
รางวัล
- รางวัลเสนีย์ ปราโมช สำหรับหนังสือกฎหมายดีเด่น (Seni Pramoj Prize for Outstanding Law Book) สำหรับผลงานชื่อ “ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน”