ศิษย์เก่าที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาคนต่อมาที่เราจะไปพูดคุยด้วยก็คือ พชร วัฒนสกลพันธุ์นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) รุ่นล่าสุด (รหัสเข้าศึกษา 58) ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาหลากหลายวิชา ทั้ง น.100 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย น.101 กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา น.211 กฎหมายอาญา : ภาคความผิด (หลักสูตรเก่า) และน. 230 เอกเทศสัญญา 1 เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 (ปีการศึกษา 2560) และ 4 (ปีการศึกษา 2561) โดยพชรเคยเข้าร่วมโครงการนี้ถึง 6 ครั้ง
คำถาม (1) : ทำไมจึงสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนา และเป็นผู้ช่วยอาจารย์ท่านไหน
เฉลิมรัช : “ตอนที่สมัครก็คือว่าอยากหาอะไรทำเพิ่มเติมเป็นการหาประสบการณ์ทางวิชาการให้กับตัวเอง ตอนนั้นเห็นมีรุ่นพี่สมัครปีก่อนหน้าแล้ว ก็คือสนใจมาตั้งแต่ตอนนั้น ตั้งแต่ตอนอยู่ปีหนึ่งก็เห็นว่าพี่เขาทำกันก็สงสัยว่าทำอะไร รู้สึกสนใจเพราะว่าพอมาถึงปีที่ตัวเองมีคุณสมบัติสมัครได้ก็เลยลองสมัครดู”
“เคยเป็นผู้ช่วยกฎหมายอาญา เคยทำอยู่ 3 เทอมเป็นอาญาทั่วไป 2 เทอม ตอนนั้นช่วย Sec อาจารย์สุรศักดิ์ อาจารย์ปกป้อง อาจารย์สัมมนาจะเป็นอาจารย์คงสัจจา ส่วนอาญาภาคความผิดก็ไปช่วย Sec อาจารย์คงสัจจาสัมมนาเหมือนกันครับ”
(ถามเพิ่มเติมว่า ตอนเรียนอาญาเรียนกับใคร และรู้สึกอย่างไรกับวิชานี้?)
“ตอนที่เรียนอาญาทั่วไปผมเรียน Sec ท่านอาจารย์สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล กับอาจารย์ปกป้อง ศรีสนิท รู้สึกประทับใจ เพราะว่าตัววิชาและตัวผู้สอนด้วยครับ เพราะว่ามีความสนใจในด้านกฎหมายอาญามาแต่เดิม แล้วก็พอมาเจออาจารย์สองท่านนี้ก็รู้สึกว่าประทับใจในวิธีการสอน”
“ถ้าให้ลงรายละเอียดก็คือว่า ในส่วนของท่านอาจารย์สุรศักดิ์ท่านจะไม่ค่อยได้เน้นฎีกาอะไรมากมายคือท่านก็อยู่กับหลักกฎหมายแล้วก็ตัวหลักทฤษฎี ซึ่งมันเป็นหลักทั่วไปแล้วท่านก็อธิบายแบบไม่ได้ยากที่จะทำความเข้าใจมากนักมันก็เลยคือพอเรียนจบแล้วไม่ได้ลืม คือมันเป็นหลักที่สามารถเอาไปใช้ได้เวลาอ่านฎีกาก็เอามาคิดว่ามันตรงกับหลักวิชาที่เราเอามาเรียนหรือไม่และเป็นแนวที่ท่านสอน”
“ส่วนท่านอาจารย์ปกป้องก็จะคล้าย ๆ กัน ที่คิดว่ามีความพิเศษโดดเด่นของท่านอาจารย์ปกป้องก็คือท่านจะเป็นอาจารย์ที่สอนและยกตัวอย่างได้อย่างชัดเจนได้เฉียบมากก็คือ เหมือนท่านมีประเด็นหนึ่งขึ้นมา มีหลักกฎหมายขึ้นมาท่านก็จะบอกว่า ถ้าข้อเท็จจริงมันเป็นแบบที่หนึ่งผลมันจะเป็นอย่างไร แล้วถ้าท่านบิดข้อเท็จจริงไปแบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 คือบางทีท่านพูดมาเป็น 10 แบบท่านก็บอกได้หมดเลยว่าถ้าในบรรดาข้อเท็จจริงแบบนี้ต่างกันนิดหนึ่งผลมันจะต่างจากกันไปอย่างไร ก็คือมีความชัดเจนในระดับหนึ่งในอาญาทั่วไป”
คำถาม (1) : ทำไมจึงสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนา และเป็นผู้ช่วยอาจารย์ท่านไหน
พชร : “ก็คิดว่าโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาก็เป็นโครงการที่เราสามารถทำประโยชน์ให้กับน้อง ๆ หรือว่าคณะนิติศาสตร์ได้ แล้วอีกอย่างก็เป็นการต่อยอดโครงการดี ๆ ของคณะนะครับ เพราะว่าคือจริง ๆ ตอนที่เรียนปีหนึ่งวิชา น.100 เอง ก็รู้สึกว่าส่วนหนึ่งที่ทำได้ดีก็เพราะว่าส่งการบ้านให้ TA ตรวจ แล้วก็เลยคิดว่าถ้าเรามาทำอย่างนั้นบ้าง เราเอาความรู้ความสามารถที่เรามีมาคอยแนะนำน้อง ๆ ให้คำแนะนำพวกนักศึกษาปีหนึ่งน้องปี 1 ก็สามารถที่จะพัฒนาและก็เป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนตอบวิชากฎหมายต่อไปทั้ง 4 ปีครับ”
“เข้าร่วมโครงการนี้ทุกเทอมตอนปี 3 และปี 4 เป็น TA วิชาน.100 เซคอาจารย์กรศุทธิ์ อาจารย์มุนินทร์ อาจารย์สัมมนาอาจารย์สหรัฐ วิชานิติกรรม 2 ปี ปีแรกเซคอาจารย์มุนินทร์ อาจารย์ศนันท์กรณ์ สัมมนาโดยอาจารย์นาฏนภัส อีกปีเซคอาจารย์กมลวรรณ อาจารย์ชวิน สัมมนาโดยอาจารย์ชวิน วิชาอาญา ภาคความผิดทำสองปี เซคสุรศักดิ์ อาจารย์ปกป้อง สัมมนาโดยอาจารย์คงสัจจา และเอกเทศสัญญา 1 เซคอาจารย์กรศุทธิ์ อาจารย์สุรศักดิ์ สัมมนาโดยอาจารย์กรศุทธิ์ รวมแล้วทำ 4 วิชา 6 ครั้ง” (ทำไมถึงเข้าร่วมโครงการบ่อยขนาดนี้?) “ที่ทำบ่อยเพราะคิดว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นครับ”
(เนื่องจากตอนนี้กำลังรับสมัครผู้ช่วยอาจารย์สองวิชานี้ จึงขอถามเพิ่มเติมว่า ตอนเรียนน. 100 กับนิติกรรมสัญญา เรียนกับใคร และรู้สึกอย่างไรกับสองวิชานี้?)
พชร : “ตอนนั้นผมเรียนวิชาน.100 เซคอาจารย์สมเกียรติ แล้วก็มีอาจารย์กรศุทธิ์มาสัมมนาให้ตอนท้าย ตอนเรียนก็มีความไม่เหมือนกับที่คิด เพราะว่าเป็นวิชาแรกที่มาเรียนในคณะนิติศาสตร์นะครับ แต่ว่าก็ผ่านมาได้ด้วยดีเพราะว่าก็พยายามอ่านหนังสือก่อนที่จะเข้าเรียน พยายามทำความเข้าใจก่อน และก็รู้สึกว่าเป็นวิชาที่มีความสำคัญ เพราะว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเป็นนักกฎหมายในการทำความเข้าใจของกฎหมายโดยทั่วไปแล้วก็ เออ…พอแค่นี้ครับ (หัวเราะ)”
“เรียนนิติกรรมสัญญากับอาจารย์กมลวรรณและอาจารย์พัชยา ตอนเรียนนิติกรรมสัญญา รู้สึกสนใจและให้ความสำคัญกับวิชาดังกล่าวค่อนข้างมาก เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของกฎหมายแพ่งทั้งหมด”
(สำหรับวิชาอื่น ๆ ที่จะรับสมัครในเทอมสอง เราจะพาไปพูดคุยกับพชรอีกครั้งในโอกาสหน้า)
คำถาม (2) : รูปแบบการทำงานร่วมกับอาจารย์เป็นอย่างไร
พชร : “คือส่วนใหญ่อาจารย์สัมมนาแต่ละท่านเขาก็จะให้การบ้านน้อง ๆ ในคาบสัมมนา ก็แล้วแต่ว่าจะกำหนดว่าครั้งหนึ่งกี่ข้อ แล้วก็ให้น้องส่งมาน แล้วอาจารย์ก็จะแบ่งโดยเฉลี่ยให้พี่ TA แต่ละคนตรวจ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่อาจารย์แต่ละท่าน บางท่านอย่างตอนวิชา น. 100 อาจารย์ก็จะมีธงคำตอบมาให้ แต่อาจารย์บางท่านก็จะให้เหล่า TA มีธงคำตอบเป็นของตัวเอง แบบช่วยกันทำธงคำตอบเองแล้ว TA ก็จะคอยตรวจและคอมเมนต์”
“แนวทางการตรวจ แต่ละ Section ก็จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าโดยรวมจะให้คะแนนน้องอย่างไร จะให้เป็นแบบ A B C D หรือเป็น ดีมาก ดี หรือว่ามีแนวทางในการเขียนอย่างไร เช่น ควรเขียนให้กำลังใจน้อง ๆ อาจารย์สัมมนาแต่ละท่านก็จะกำหนดวิธีการที่แตกต่างกันออกไป อย่างอาจารย์ชวินจะให้แบ่งกลุ่มนักศึกษาที่รับผิดชอบไปเลย แล้วก็จะมีการให้เข้าไปแนะนำการเขียนที่ห้องเรียนเลย”
“เวลาตรวจการบ้าน สำหรับน้องคนไหนที่เขียนมาแล้วเห็นว่าน้องค่อนข้างที่จะต้องพัฒนาพอสมควรก็จะมีการเขียนช่องทางติดต่อ Line หรือ Facebook ให้น้องติดต่อกลับมา เพื่อที่เราจะสามารถให้คำแนะนำให้แก่น้องได้แบบตัวต่อตัวลงรายละเอียดมากขึ้นกว่าการแค่เขียนคอมเมนต์”
คำถาม (3) : คิดว่าคุณสมบัติของการเป็นผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาที่ดีมีอะไรบ้าง
พชร : “คิดว่าสิ่งที่ TA ควรมี หนึ่งคือต้องรู้ว่าการเขียนที่ดีเป็นอย่างไรทั้งการเขียนตอบข้อสอบ ทั้งการเขียนตอบบรรยายรวมถึงข้อสอบที่เป็นอุทาหรณ์ TA ก็ต้องรู้ว่าการเขียนที่ดีเป็นอย่างไร อย่างที่สองคือต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำหรือว่าชี้แนะรุ่นน้องที่ดีนะครับเพราะว่าสิ่งที่สำคัญของ TA ก็คือ เราต้องหาจุดบกพร่องของการเขียนของน้องแล้วก็ชี้ให้เขาเห็นว่าจุดบุกพร่องนั้นคืออะไรและสิ่งที่เขาควรแก้คืออะไรครับ”
คำถาม (4) : ปัญหาของนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เจอตอนตรวจการบ้านสัมมนามีอะไรบ้าง
พชร : “อย่างแรกคือผมคิดว่า นักศึกษาไม่รู้ว่ามันต้องเขียนยังไง และต้องเขียนอะไรลงไปในข้อสอบ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ ทีนี้ที่เห็นก็คือเขาไม่รู้ว่าต้องเขียนอะไร เพราะฉะนั้น ก็เลยเป็นหน้าที่ของอาจารย์สัมมนาแล้วก็ TA ที่ต้องให้คำแนะนำว่า เช่น ในการเขียนข้อสอบบรรยายควรเขียนลักษณะแบบไหน หรือว่าข้อสอบอุทาหรณ์ต้องมีการปรับบทอย่างไร อย่างนี้นะครับอันนี้คือเป็นปัญหา”
(ถามเพิ่มเติมว่า หากการบ้านที่ส่งมาเขียนแย่มาก จะมีแนวทางการคอมเมนต์อย่างไร ใช้คอมเมนต์แรงไหมเพื่อให้เขารู้ว่าการเขียนมีปัญหา?)
พชร : “ผมก็เห็นว่าไม่ควรจะใช้คอมเมนต์ที่รุนแรง เพราะว่าเราจะต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ของการส่งการบ้านสัมมนาเพื่อการฝึกฝน ก็คือมันไม่มีใครเป็นมาตั้งแต่แรก ทุกคนจะต้องผ่านจุดที่ไม่เป็นมาก่อนแล้วพัฒนามาเรื่อย ๆ จนเขียนเป็นแต่ว่าก็พยายามเขียนให้ตรงประเด็นแล้วก็ให้มันเกิดประโยชน์มากที่สุด แต่ว่าก็จะมีบางเคสถ้าแบบว่า เขียนมาแบบไม่ดีจริง ๆ ผมก็คอมเมนต์ไปว่า น้องลองไปทบทวนดูก่อนดูหนังสือก่อนอะไรอย่างนี้ (หัวเราะ) ไปทบทวนมาก่อน ก็คือพยายามให้กำลังใจน้อง ๆ ครับ สู้ ๆ อะไรอย่างนี้”
คำถาม (5) : สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนา
“ผมก็ได้รับประโยชน์แง่ที่ว่า ก็เป็นการตอบแทนคณะในรูปแบบหนึ่งที่เราทำ เหมือนนำความรู้ของเราหรือนำประสบการณ์ของเรามาเผยแพร่ให้รุ่นน้องต่อ ๆ ไปและอีกอย่างที่ได้คือการได้ทักษะการให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษา ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในการประกอบวิชาชีพ ก็คือว่าเราต้องคิดว่า เวลาที่เราให้คำปรึกษา คนที่รับสารเขาจะเข้าใจเราหรือไม่ หรือว่าประเด็นที่เราจะให้คำแนะนำเขา เราควรเขียนอย่างไรให้เขาเข้าใจเพื่อที่เขาจะได้นำไปปรับใช้ให้ถูกต้อง”
ปัจจุบันพชรเป็นที่ปรึกษากฎหมายตำแหน่ง Junior Associate ที่ Linklaters
ถ่ายภาพ Pump
แต่งภาพ สุธีร์ เจริญต้นภูบาล
เรียบเรียง KK