นัทธมน ตันวิรัช คือผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดในวิชาเอกเทศสัญญา 1 ศูนย์ลำปาง เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ในภาค 2/2559 และเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาตรวจการบ้านนักศึกษาในวิชาดังกล่าว เราจะพาคุณไปคุยกับนัทธมน ตันวิรัช เกี่ยวกับกับประสบการณ์การเป็นผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาวิชา น.230 เอกเทศสัญญา 1 ศูนย์ลำปาง
คำถาม (1) : เป็นผู้ช่วยอาจารย์ท่านไหนและทำไมจึงสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์
นัทธมน : “ก็เป็นผู้ช่วยอาจารย์กรศุทธิ์ วิชาเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์บรรยายคืออาจารย์สุรศักดิ์ มณีศรและอาจารย์กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง สัมมนาโดยอาจารย์กรศุทธิ์ ส่วนที่เข้าร่วม ตัดสินใจเลือกวิชานี้เลยก็เพราะว่า ส่วนตัวชอบวิชานี้มากที่สุดเพราะว่าเี่เรียนแล้วรู้สึกอิน เอาความรู้ไปใช้ต่อยอดมากขึ้นน่ะค่ะ ก็เลยเลือกลงวิชานี้”
(ตอนเรียนเอกเทศสัญญา 1 รู้สึกอย่างไรกับวิชานี้?)
“คือตอนแรกยังไม่เรียนเลย รุ่นพี่บอกมาหลายคนว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ยากมาก คือคนสอบผ่านน้อยมาก แต่ว่าส่วนตัวเราก็คิดว่ามันยากเราก็เลยตั้งใจเรียนมาก ๆ คือพยายามทำทุกอย่างทำให้เราเข้าใจ และพอเรียนไปมันก็รู้สึกแบบก็เป็นตัวเองด้วย หมายถึงว่า มันเป็นเรื่องหนี้ด้วยซึ่งเราก็ชอบอยู่แล้ว แต่มันเป็นแบบต่อยอดเรื่องหนี้เข้าไปอีก แล้วก็เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว อาจารย์ก็มีรูปแบบการสอนที่แตกต่าง ก็เลยทำให้การเรียนมันน่าติดตามมากขึ้น เรียนแล้วก็สนุก”
(ตอนนั้นสอบได้กี่คะแนน ได้ข้อละเท่าไหร่บ้าง และคิดว่าทำไมถึงได้คะแนนสู
“ได้ 85 คะแนน สามข้อแรกของอาจารย์กรศุทธิ์ ได้ 17 16 19 ของอาจารย์สุรศักดิ์ได้ 18 15 คือ จะบอกว่าคือตอนที่สอบไม่ได้คิดว่าจะต้องได้คะแนนสูงสุด แต่คิดว่าทำเต็มที่มากที่สุด ตอนเรียนก็เรียนให้ดีที่สุด ตั้งใจเรียนจดทุกคำพูด พยายามอ่านหนังสือ พยายามเข้าใจความเห็นของอาจารย์แต่ละคนที่แตกต่างกันว่าเพราะว่าอะไร ก็คือ เต็มที่กับทุกอย่าง แล้วก็ฝึกเขียนเยอะ ๆ แล้วก็ส่งการบ้านสัมมนาอาจารย์ด้วย”
(ในปีนั้นมีคนสอบไม่ผ่านจำนวนมาก คิดว่าเพราะอะไร?)
“โดยส่วนตัวที่คิดว่าคนที่สอบไม่ผ่าน คิดว่าไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เข้าใจหรือว่าไม่มีความรู้แต่มันอาจจะเป็นด้วยเรื่องปัจจัยหลาย ๆ อย่างน่ะค่ะ เช่น อาจจะเป็นเรื่องลายมือ คือความรู้อาจจะถ่ายทอดได้ไม่ดี ชอบอ่านมากกว่าไม่ชอบเขียน หรือว่าชอบเขียนนั่นแหละแต่ว่าลายมืออาจจะไม่ดีพอที่อาจะออกหรือแปลความได้ อาจจะสื่อสารได้ไม่ดีพอหรือ หรืออาจจะเป็นปัจจัยอื่น เช่น วันนั้นอาจจะไม่พร้อมสอบอาจจะป่วยหรืออะไรก็แล้วแต่ อาจจะเป็นอย่างนั้น”
(แล้วมีเพื่อนที่สอบไม่ผ่านมาขอคำแนะนำไหม?)
“ก็มีค่ะ แบบว่าให้ไปติวอะไรอย่างนี้ เราก็ไปติวให้เพื่อนให้คำแนะนำเพื่อน คล้ายกับ TA นี่แหละค่ะ ตรงไหนที่มี keyword ที่เราต้องเขียน หรือว่าเขียนแบบไหนที่แบบว่าให้มันตรงประเด็น หรือว่าอาจารย์ชอบออกแนวไหนอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ ก็ให้คำแนะนำเพื่อนไป เช่นของอาจารย์กรศุทธิ์ จะมีความเห็นที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากคนอื่นใช่ไหม ซึ่งการที่เราจะเข้าใจได้เราจะต้องเข้าเรียนเพราะว่าอ่านหนังสืออย่างเดียวมันไม่พอ อ่านหนังสือของคนอื่น ซึ่งความเห็นไม่ตรงกันอยู่แล้ว เราจึงต้องเข้าเรียนแล้วก็ศึกษาคอยถามอาจารย์ว่าทำไมอาจารย์เห็นแบบนี้ คือมันต้องเข้าใจค่ะ ถ้าจำอย่างเดียวก็เอาไปตอบข้อสอบไม่ได้ เพราะว่าเวลาออกข้อสอบ ก็จะพลิกแพลงจากที่สอนเข้าไปอีก”
“ส่วนของอาจารย์สุรศักดิ์ อาจารย์จะค่อนข้างต้องการให้ตอบตรงประเด็นไม่ต้องการให้ตอบน้ำเยอะฉะนั้นจึงไม่ต้องเขียนอะไรเยอะแยะมากมายเพราะว่าอาจารย์จะไม่อ่าน คือถ้าเราเข้าใจว่าอาจารย์มีความคิดแบบนี้ เราก็จะตอบได้ตรงใจอาจารย์มากขึ้น”
คำถาม (2) : รูปแบบการทำงานร่วมกับอาจารย์เป็นอย่างไร
นัทธมน : “ตอนนั้นจำได้ว่าอาจารย์เลี้ยงบ่อยมาก (หัวเราะ) เลี้ยงข้าวบ่อยมากค่ะ ก็คือ ตอน ๆ ที่รับสมัคร ผ่านการคัดเลือกอาจารย์ก็เลี้ยง พอทำงานเสร็จก็เลี้ยงอีก แล้วก็อาจารย์ก็จะมีกลุ่มไลน์ให้เข้าและทุกคนก็จะคุยกันในนั้นแบ่งงานกันยังไง แบ่งให้แต่ละคนเท่าไหร่ แล้วก็มีวิธีการตรวจยังไงบ้าง ให้คะแนนตรงจุดไหนบ้าง แล้วก็หากใครสงสัยก็มาถามกันในไลน์แบบว่าประมาณนี้จะตอบได้ไหม และคะแนนจะประมาณไหน”
คำถาม (3) : คิดว่าคุณสมบัติของการเป็นผู้ช่วยอาจารย์สัมมนาที่ดีมีอะไรบ้าง
นัทธมน : “อันดับแรกเลยนะคะ คือคิดว่าใจรักที่จะแนะนำคนอื่น คือ ต้องใจกว้างไม่หวงความรู้ ก็คือ เราก็ต้องคือการเป็น TA เราก็ต้องมีความความรู้หรือก็ต้องเขียนดีอยู่นะในระดับนึง ซึ่งตรงนี้เราก็จะต้องเอาไปช่วยคนอื่น คือมีอะไรก็ต้องบอกหมดคือทั้งข้อดีและข้อด้วยของตนเองที่เราทำแล้วมันดีมีอะไรบ้าง เราไม่ได้กั๊กเลย และก็ข้อด้อยที่อย่าทำนะเพราะว่าที่ทำไม่ดี คือต้องบอกหมด คือว่าต้องมีใจที่จะแนะนำคนอื่นน่ะค่ะ”
“สองคิดว่าต้องมีความอดทน ส่วนใหญ่ต้องมีความอดทนกับ เราเข้าใจอาจารย์เลยว่าอดทนกับลายมือ พวกลายมือแย่ทำให้เราเข้าใจอาจารย์มากยิ่งขึ้น การเขียนลายมือแบบแย่ ๆ มันก็ส่งผลนะ แล้วก็ต้องอดทน คือเรามีโอกาสมาทำตรงนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีกว่าคนอื่น เพราะว่าก็ต้องคัดเลือกเข้ามา”
คำถาม (4) : ปัญหาของนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เจอตอนตรวจการบ้านสัมมนามีอะไรบ้าง
นัทธมน : “อันดับแรกก็น่าจะเป็นเรื่องลายมือค่ะ ลายมือจะอ่านยากมาก ส่วนนอกจากลายมือก็จะเป็น บางคนก็จะเขียนสั้นไป สั่นในที่นี้ก็จะเขียนเป็น bullet มาเลย หรือเขียนแยกแบบเอาตัวสรุปมาเขียน ซึ่งก็ไม่ได้บรรยายบางครั้งก็ไม่มีข้อกฎหมายเลย อย่างบางทีก็แต่งกฎหมายเอง แล้วก็ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเขียนยาวเกินไปมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ แล้วก็จับประเด็นไม่ได้เขียนไม่ตรงประเด็นน่ะค่ะ ไม่ตรงที่เราต้องการเป็นต้น”
(ฟีดแบ็คจากรุ่นน้องที่ตรวจการบ้านให้เป็นอย่างไรบ้าง?)
“รุ่นน้องจะไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่จะมีเพื่อนหลายคนเพราะว่าตอนแรกสอบไม่ผ่านแต่พอเราแนะนำไปเขาสอบผ่าน แบบว่าให้เขาจับประเด็นได้มากขึ้น รู้ว่าต้องเขียนยังไงให้เขาได้คะแนนดี เขาก็เล่ามาว่าเขาคิดว่าเขาพลาดตรงนี้ เราก็ช่วยดูว่าตรงนี้ไม่น่าเขียนไปนะ หรือว่าอะไรอย่างนี้ ตรงนี้น่าเขียนมากกว่า คือว่า หากจุดบกพร่องและหาข้อดี”
(ถามเพิ่มเติมว่า หากการบ้านที่ส่งมาเขียนแย่มาก จะมีแนวทางการคอมเมนต์อย่างไร ใช้คอมเมนต์แรงไหมเพื่อให้เขารู้ว่าการเขียนมีปัญหา?)
“ส่วนใหญ่จะเป็นให้กำลังใจค่ะ ต่อให้เขียนแย่มาก ๆ แต่ว่าส่วนใหญ่ คือจะเขียน comment สั้น ๆ 1-2 บรรทัด เพราะว่าตัวเองเป็นคนที่ลายมือไม่ดีเลย คือคิดว่าน้องน่าจะอ่านไม่ออกด้วยซ้ำ แก็จะให้ไลน์ไปเลย คือจะให้ไลน์ทุกคนที่เราตรวจแล้วบอกให้น้องมาคุยแยกได้นะ ว่าคนที่ผ่านตาเราทุกคนเราจะจำได้ เราจะดูแลทุกคนแบบว่าเข้ามาถามได้นะ”
คำถาม (5) : สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนา
นัทธมน : “เยอะมากค่ะ อย่างแรกเลยก็น่าจะเป็นเรื่องการเรียนรู้การทำงานร่วมกับคนอื่น คือในที่นี้แม้ว่าเราจะทำงานตัวคนเดียวแต่ว่าเราก็ต้องทำงานร่วมกันคนอื่น เช่น ไปทำงานกับอาจารย์ก็คือต้องคุยกับอาจารย์ ว่าอาจารย์อยากได้แบบไหน คืออาจารย์จะเป็นคนบรีฟเราอีกที ส่วนที่สองเราจะต้องทำงานร่วมกับเพื่อนที่ทำงานตรวจแบบเราเพราะว่าเราจะต้องถามเขา ถาม comment เขา เห็นยังไงเรื่องนี้หรือว่าแลกเปลี่ยนกันพูดคุยอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ”
“ส่วนข้อที่สองคือการใช้ความรู้ที่เรามีอยู่นั้นไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติก็คือเหมือนกับว่าพูดง่าย ๆ ว่า เหมือนกับเวลาเราตรวจไปเราก็จะเห็นข้อบกพร่องของน้องซึ่งข้อบกพร่องตรงนี้จะเป็นข้อบกพร่องที่เราก็มีเหมือนกันด้วยแต่เราอาจจะไม่ได้สังเกตเห็น แบบว่าจุดนี้ อาจารย์ก็ comment หรือว่ามันก็ไม่ค่อยดี ซึ่งเราก็เคยทำ เราก็จะปรับปรุงตัวเองได้ด้วย แล้วก็ความรู้เราก็คอยวัดตลอดว่า เอ๊ะที่เรารู้มาเรารู้พอแล้วหรอ คือเราอาจจะไปเจอข้อสอบปีอื่น ๆ ที่เราเคยส่งอาจจะไม่ได้ยาก แต่ที่น้องทำมาส่งแล้วมันก็ยากก็จะได้รู้ตัวเองว่าตัวเองก็ไม่ได้เก่ง คือเราอาจจะต้องปรับปรุง ต้องหาความรู้เพิ่มเติม”
“ส่วนที่สามนี้สำคัญมากค่ะ คือ ทำให้เราได้วิธีการเขียนน่ะค่ะ คืออแบบว่าทำให้เราได้รู้มากขึ้นว่า ที่อาจารย์เขาตรวจกันแบบนี้นะที่ทำให้เราได้รู้มากขึ้นและนำไปใช้กับวิชาอื่น ๆ ด้วยค่ะ”
นัทธมนสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) ในปีการศึกษา 2561 ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อระดับเนติบัณฑิต
ถ่ายภาพ Pump
แต่งภาพ Yesman
เรียบเรียง KK