คุยกับธีนาถ มีทรัพย์ประเสริฐ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 59 ปัจจุบันกำลังศึกษาเนติบัณฑิต กับประสบการณ์เป็นผู้ช่วยอาจารย์วิชากฎหมายอาญา : ภาคทั่วไป และวิชากฎหมายลักษณะหนี้ : หลักทั่วไป
คำถาม (1) : ทำไมจึงสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์สัมมนา และเป็นผู้ช่วยอาจารย์ท่านไหน
เฉลิมรัช : “ตอนที่สมัครก็คือว่าอยากหาอะไรทำเพิ่มเติมเป็นการหาประสบการณ์ทางวิชาการให้กับตัวเอง ตอนนั้นเห็นมีรุ่นพี่สมัครปีก่อนหน้าแล้ว ก็คือสนใจมาตั้งแต่ตอนนั้น ตั้งแต่ตอนอยู่ปีหนึ่งก็เห็นว่าพี่เขาทำกันก็สงสัยว่าทำอะไร รู้สึกสนใจเพราะว่าพอมาถึงปีที่ตัวเองมีคุณสมบัติสมัครได้ก็เลยลองสมัครดู”
“เคยเป็นผู้ช่วยกฎหมายอาญา เคยทำอยู่ 3 เทอมเป็นอาญาทั่วไป 2 เทอม ตอนนั้นช่วย Sec อาจารย์สุรศักดิ์ อาจารย์ปกป้อง อาจารย์สัมมนาจะเป็นอาจารย์คงสัจจา ส่วนอาญาภาคความผิดก็ไปช่วย Sec อาจารย์คงสัจจาสัมมนาเหมือนกันครับ”
(ถามเพิ่มเติมว่า ตอนเรียนอาญาเรียนกับใคร และรู้สึกอย่างไรกับวิชานี้?)
“ตอนที่เรียนอาญาทั่วไปผมเรียน Sec ท่านอาจารย์สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล กับอาจารย์ปกป้อง ศรีสนิท รู้สึกประทับใจ เพราะว่าตัววิชาและตัวผู้สอนด้วยครับ เพราะว่ามีความสนใจในด้านกฎหมายอาญามาแต่เดิม แล้วก็พอมาเจออาจารย์สองท่านนี้ก็รู้สึกว่าประทับใจในวิธีการสอน”
“ถ้าให้ลงรายละเอียดก็คือว่า ในส่วนของท่านอาจารย์สุรศักดิ์ท่านจะไม่ค่อยได้เน้นฎีกาอะไรมากมายคือท่านก็อยู่กับหลักกฎหมายแล้วก็ตัวหลักทฤษฎี ซึ่งมันเป็นหลักทั่วไปแล้วท่านก็อธิบายแบบไม่ได้ยากที่จะทำความเข้าใจมากนักมันก็เลยคือพอเรียนจบแล้วไม่ได้ลืม คือมันเป็นหลักที่สามารถเอาไปใช้ได้เวลาอ่านฎีกาก็เอามาคิดว่ามันตรงกับหลักวิชาที่เราเอามาเรียนหรือไม่และเป็นแนวที่ท่านสอน”
“ส่วนท่านอาจารย์ปกป้องก็จะคล้าย ๆ กัน ที่คิดว่ามีความพิเศษโดดเด่นของท่านอาจารย์ปกป้องก็คือท่านจะเป็นอาจารย์ที่สอนและยกตัวอย่างได้อย่างชัดเจนได้เฉียบมากก็คือ เหมือนท่านมีประเด็นหนึ่งขึ้นมา มีหลักกฎหมายขึ้นมาท่านก็จะบอกว่า ถ้าข้อเท็จจริงมันเป็นแบบที่หนึ่งผลมันจะเป็นอย่างไร แล้วถ้าท่านบิดข้อเท็จจริงไปแบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 คือบางทีท่านพูดมาเป็น 10 แบบท่านก็บอกได้หมดเลยว่าถ้าในบรรดาข้อเท็จจริงแบบนี้ต่างกันนิดหนึ่งผลมันจะต่างจากกันไปอย่างไร ก็คือมีความชัดเจนในระดับหนึ่งในอาญาทั่วไป”
“ส่วนภาคความผิด ผมเรียนกับ Sec ท่านอาจารย์สาวตรี ซึ่งท่านก็จะมีความน่าสนใจในแบบของท่าน ในแง่ของการสอนแบบวิพากษ์วิจารณ์มีการยกตัวอย่างสถานการณ์จริง ๆ ในสังคมขึ้นมาว่า เอ้ย…ถ้ามันมีเคสแบบนี้ขึ้นมาเนี่ยปรับกฎหมายมันจะเป็นอย่างไร ต่อให้ปรับไปแล้วตีความแบบนี้มันเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามหลักหรือไม่ เพราะว่ามันควรไหม ถ้าในแง่ที่ว่าการมีกฎหมายแบบนี้อยู่ในสังคมเนี่ยมันสมควรหรือไม่ ก็คือไม่ใช่ challenge เฉพาะแนวการตีความแต่ challenge ถึงการมีอยู่ของตัวบทด้วยก็เป็นความสนใจแง่หนึ่งของท่าน”
คำถาม (3) : คุณสมบัติที่ควรมีในการเป็นผู้ช่วยอาจารย์
ธีนาถ : “ผมคิดว่าต้องมีความอดทนพอสมควร เพราะว่าในการตรวจข้อสอบน้อง ๆ อาจจะมีบางคนที่ลายมือค่อนข้างหนักหน่วง คือ ตอนเขียนสอบก็ค่อนข้างเข้าใจอาจารย์เลยครับว่า ตอนตรวจข้อสอบมันขนาดไหน ว่ามันต้องอดทนในการอ่านแต่ละคำ”
“แล้วก็ควรที่จะมีความใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา ก็คือ เราจะตรวจข้อสอบของน้อง ๆ ได้ เราต้องมีความรู้ในวิชานั้นมากพอสมควรที่จะอธิบายแล้วก็สามารถเช็คความผิดพลาดของน้อง ๆ ได้ครับ”
“อีกอย่างก็น่าจะเป็นความรวดเร็ว รวดเร็วแล้วต้องรอบคอบด้วย เพราะว่าตอนตรวจของอาญาค่อนข้างเป็นช่วงเวลาที่หนักหน่วงพอสมควร เพราะอาจารย์จะแบ่งมา 70-80 แผ่น ในการตรวจต่อ 1 ครั้ง แล้วตรวจวันศุกร์ก็ต้องให้คืนอาจารย์ในวันอังคารหรือวันจันทร์ ประมาณนี้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าคุณสมบัติที่ดีคือ นอกจากความเร็วแล้วก็คือ ความรับผิดชอบนั่นแหละครับ มันอาจจะตีความเป็นคำว่า ความรับผิดชอบ ประมาณนี้ครับ”
คำถาม (4) : ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอตอนตรวจการบ้าน
ธีนาถ : “เริ่มจากหนี้ก่อนเลย ด้วยความที่ว่าหนี้เป็นวิชาที่ประเด็นค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นพี่ ๆ บางคน อาจจะเรียงลำดับความคิดไม่ถูก ก็คือโจทย์ให้มาอย่างนี้ แต่เอาด้านล่างของโจทย์ไปไว้ เขียนตอบไว้ด้านบนของคำตอบของเรา คือไม่ได้เรียงไปตามไทม์ไลน์ที่ควรจะเป็นครับ แล้วก็บางคนก็คือ อาจจะไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร ด้วยความที่ว่ามันเป็นวิชาหนี้ ก็จะไม่รู้ว่า อย่างนี้เราควรเริ่มต้นจากอะไร เช่น เปิดมาควรจะเริ่มต้นด้วย กำหนดเวลาชำระหนี้ แต่บางคนอาจจะเริ่มเป็นการพ้นวิสัยเลย โดยไม่อธิบายกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อน เพื่อที่จะให้เป็นมาตรา 217 อะไรประมาณนี้ แล้วก็ระดับภาษา ระดับภาษาบางคนค่อนข้างจะใช้ภาษาที่เป็นภาษาพูดมากเกินไป มากกว่าภาษาเขียน ก็คืออาจจะมีการใช้คำว่า มัน มาในการเขียนตอบข้อสอบ ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ”
“ส่วนวิชาอาญา ด้วยความที่มันเป็นภาคทั่วไป เวลาเราเขียนตอบ ต้องอธิบายมาเป็นโครงสร้างของความรับผิด 1 2 3 ทีนี้บางทีโจทย์อาจจะถามเรื่องเหตุยกเว้นความผิด เน้นตรงที่เหตุยกเว้นความผิด น้องกลับไปอธิบายโครงสร้างที่ 1 มากไปกว่าโครงสร้างที่ 2 คือ น้องไม่สามารถจับประเด็นได้ถูก ว่าประเด็นไหนเราควรจะเน้นในการเขียนตอบ ประเด็นไหนเราควรจะเขียนแตะให้อาจารย์รู้ว่าเราเขียน โดยไม่ต้องเน้นมัน อะไรประมาณนี้”
คำถาม (5) : สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการผู้ช่วยอาจารย์
ธีนาถ : “อย่างแรกเลยก็คือ เวลาเราจะเป็นผู้ช่วยอาจารย์นะครับ เราก็ต้องมีความรู้ในวิชานั้น ๆ เพราะฉะนั้น การที่เราจะมีความรู้ เราต้องทวนวิชานั้น ๆ มาก่อน การได้ไปตรวจสัมมนาก็คือ เราจะได้ทวนเนื้อหาทั้งหมดที่เราเรียนมา เพื่อที่จะไปอธิบายให้กับน้อง ๆ ฟังนะครับ”
“แล้วก็เหตุผลที่สองคือ เราจะได้ฝึกทักษะในการอธิบาย คือ เวลาเราจะอธิบายว่า อันนี้น้องเขียนแบบนี้ไม่ถูกนะ เราต้องพยายามมีถ้อยคำและก็เขียนคำอธิบายให้มันเข้าใจง่าย เพื่อที่ว่าน้องที่เป็นคนอ่านคอมเมนต์ เขาจะได้เข้าใจว่า เราต้องการอยากสื่ออะไร ต้องการจะบอกข้อผิดพลาดตรงไหนของน้อง”
“แล้วก็ข้อสุดท้ายก็คือ มันเป็นประโยชน์ที่ผมไม่เคยคิดว่าจะได้มาก่อน จนมาเป็นผู้ช่วยก็คือ เราได้พัฒนาทักษะตัวเองไปพร้อม ๆ กับน้อง ๆ คือ เวลาเราอ่านกระดาษคำตอบของน้อง ๆ นะครับ เราก็จะตรวจไป ด้วยการที่เราอ่านคำตอบของหลาย ๆ คน เราก็จะรู้ว่าข้อบกพร่องในการเขียนตอบข้อสอบที่ไม่ควรมีคืออะไร อันไหนเป็นส่วนที่เราควรมีในการเขียนข้อสอบ อะไรเป็นส่วนที่เราไม่ควรมีในการเขียนตอบข้อสอบ คือเหมือนว่าเรา นอกจากเราจะช่วยน้อง ๆ ในการเรียบเรียง การเขียน รวมทั้งให้คำปรึกษาต่าง ๆ เรายังได้เรียนรู้ไปจากการเขียนตอบของน้อง ๆ คือ เราได้พัฒนาทักษะเราไปพร้อม ๆ กันด้วยครับ ประมาณนี้ครับ”
ภาพ ธีนาถ
เรียบเรียง KK