พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 41 จาก #TULAWInfographic
เรามักพูดกันว่ากฎหมายมีอิทธิพลต่อสังคม ซึ่งที่จริงแล้วกฎหมายเองก็ยังส่งผลต่อรูปลักษณ์หน้าตาของเมือง ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนในเมืองได้อีกด้วย ผ่านบรรดาเครื่องมือตามกฎหมายว่าด้วยผังเมืองและควบคุมอาคาร ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือดังกล่าวก็คือการออกข้อ
กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยผังเมืองที่ชื่อว่า FAR Bonus เพื่อจูงใจให้เอกชนกระทำการบางอย่างตามนโยบายการพัฒนาเมืองนั่นเอง
โดยหนึ่งในสิ่งที่ FAR Bonus นี้สามารถทำได้คือการจูงใจให้เอกชนเข้ามาร่วมเพิ่มพื้นที่สาธารณะในเมือง ด้วยการนำพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์บางประเภทมาจัดทำเป็นพื้นที่สาธารณะภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ้
ในมาตรการนี้ เอกชนจะได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างในการก่อสร้างอาคาร แลกกับการต้องทำให้พื้นที่สาธารณะที่สร้างและนำมาขอสิทธิประโยชน์นั้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนทั่วไปสามารถมาใช้ประโยชน์ได้จริง ให้เสมือนกับพื้นที่สาธารณะที่รัฐเป็นเจ้าของ พื้นที่ลักษณะเช่นนี้มักจะถูกเรียกกันในทางวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายการพัฒนาเมืองว่า พื้นที่สาธารณะของเอกชน (privately-owned public spaces หรือ POPs)
ทว่า มาตรการนี้จะทำงานอย่างไร มีรายละเอียดเช่นใด มีอะไรเป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมพื้นที่สาธารณะที่สร้างขึ้นตามมาตรการนี้ แล้วในกรุงเทพมหานครเองมีมาตรการนี้หรือไม่ และถ้าหากมี ทางกรุงเทพมหานครเองมีปัญหาใดต่อมาตรการนี้บ้างหรือไม่ ในวันนี้
#TULAW จะพาทุกคนทำความรู้จักเกี่ยวกับแนวคิด “การออกแบบมาตรฐานสำหรับพื้นที่สาธารณะของเอกชน (Privately-owned Public Spaces: POPs) ตามมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน(FAR Bonus)” ผ่านงานวิจัยของคณะฯ โดยอาจารย์สหรัฐ อกนิษฐศาสตร์
งานชิ้นนี้เป็นการหยิบยกตัวอย่างประเด็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจมานำเสนอ ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สรุปย่อวิจัยที่ลงใน TU Law E-Magazine คอลัมน์ Study Says (หน้า 36-39) : https://bit.ly/TULAW-E-Magazine02
งานวิจัยฉบับเต็ม: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:303700
งานวิจัยฉบับเต็มรูปแบบ E-Book : https://bit.ly/46WQDqN