พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 69 จาก #TULAWInfographic
.
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการรับรองเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และได้รับการรับรองเรื่อยมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่กระนั้นก็ยังคงมีความไม่ชัดเจนและก่อให้เกิดปัญหาบางประการ
.
ปัญหาคืออะไร? ควรได้รับการแก้ไขอย่างไร? #TULAW จึงนำเสนอบทคัดย่องานวิจัยเรื่อง “ปัญหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญไทย” โดย “นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล”
.
งานชิ้นนี้เป็นการหยิบยกบทคัดย่อซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยมานำเสนอ ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/44iX07Q
.
บทคัดย่อ
.
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เรื่อยมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
.
แต่กระนั้นก็ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาบางประการ ได้แก่ ปัญหาสถานะของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ และปัญหาการปรับใช้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ
.
กรณีจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาแนวทางการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และแนวทางการปรับใช้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อาจกระทำได้หลายลักษณะ และก่อให้เกิดการปรับใช้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในลักษณะที่แตกต่างกัน
.
จึงอาจสรุปได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการรับรองไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ โดยเป็นหลักการในทางกฎหมายที่ได้รับการคุ้มครองไว้ในระดับสูงสุดในรัฐธรรมนูญ และได้รับการปรับใช้เพื่อคุ้มครองความเป็นมนุษย์จากการกระทำของรัฐ เอกชน รวมถึงตนเอง ทั้งในฐานะบทบัญญัติโดยตรงและส่วนเติมเต็มระบบกฎหมาย
.
ที่มา: นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล, ‘ปัญหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญไทย’ (2567)