พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 88 จาก #TULAWInfographic
.
“องค์กรที่ก้าวหน้า เริ่มต้นจากการสร้างพื้นที่ทำงานที่ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียม Inclusive Workplace เราส่งเสริมความหลากหลายให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและเป็นตัวของตัวเอง สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรต่อทุกเพศทุกวัย ไม่มีการตัดสินด้วยเพศ อายุ หรือความพิการ ทุกคนคือคุณค่าที่แท้จริงขององค์กร “
#TULAW สรุปประเด็นน่าสนใจจากบทสัมภาษณ์ คุณปะราลี เตชะจงจินตนา ศิษย์เก่านิติศาสตร์ รุ่น 39 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการและทนายความหุ้นส่วน Baker Mckenzie ในประเด็น “Inclusive workplace พื้นที่ทำงานของคนทุกเพศ” จากคอลัมน์ Think Forward ใน TU Law E-Magazine ฉบับที่ 2 เดือนมิถุนายน 2567 และในฉบับนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติม: https://bit.ly/TULAW-E-Magazine06
.
หัวใจของ Inclusive Workplace
1.สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียม
2.ส่งเสริมให้ทุกคนให้เกียรติกันและกัน
3.สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรกับคนทุกเพศทุกวัย
4.ทบทวนกฎเกณฑ์หรือสวัสติการต่าง ๆ ให้พนักงานได้รับอย่างเท่าเทียม
5.มีช่องทางในการร้องเรียนที่ปลอดภัย
ตัวอย่างนโยบายสร้าง Inclusive Workplace
– สนับสนุนและให้สิทธิลาเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนเพศสภาพ
– Work Life Balance และ Work-Family Balance ให้พนักงานได้ทำในสิ่งที่ชอบ
– พนักงานที่มีคู่ชีวิตเพศเดียวกัน แจ้งให้ประกันสุขภาพของบริษัทครอบคลุมไปถึงคู่ชีวิต
– จัดหาจิตแพทย์ Healing Mind
– รับสมัครงาน ไม่ต้องระบุเพศหรือคำนำหน้านาม และไม่ต้องแนบรูป
– สร้างระบบการ Hearing ที่มีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จสูงสุดของการสร้างความเท่าเทียมในองค์กร
: คัดเลือกพนักงานหรือผู้เข้าสมัครงานแต่ละคนจากความคิดและผลงาน โดยไม่นำเอาปัจจัยเรื่องเพศ อายุหรือความพิการ มาเป็นเกณฑ์ชี้วัด