พบกับความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 93 จาก #TULAWInfographic
#TULAW สรุปประเด็นน่าสนใจจากบทสัมภาษณ์ของ รองศาสตราจารย์สุดา วิศรุตพิชญ์ ในประเด็น “Fair Insurance : ประกันภัยที่เป็นธรรม” จากคอลัมน์ People in Law ใน TU Law E-Magazine ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน 2567 และในฉบับนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TULAW-E-Magazine07
📌 หัวใจสำคัญในการสร้างระบบประภัยที่เป็นธรรม
1.สร้างสมดุล ระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย
2.การจ่ายเบี้ยประกันและจำนวนเงินที่จะชดใช้ให้ เมื่อมีเหตุตามที่ตกลงกันไว้เกิดขึ้น
3.อยู่ภายใต้ระบบและกฎหมายที่ชัดเจน
4.มีการกำกับดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐ เพื่อความเป็นธรรมไม่ผูกขาด มีการคุ้มครองผู้บริโภค
5.ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยต้องไม่มีภาระเกินสมควรจากองค์กรกำกับ
“ในทางสากลมีการวางมาตรการเพื่อที่จะมาดูแลธุรกิจประกันภัย ซึ่งทุกประเทศมีการดูแลธุรกิจประกันภัย เสมือนว่าธุรกิจประกันภัยเป็นสถาบันการเงิน”
📌 กฎหมายและปัญหาในธุรกิจประกันภัย
- ส่งเบี้ยประกันไม่ไหว หากส่งเบี้ยประกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี สามารถขอเปลี่ยนแปลงลดเงื่อนไขความคุ้มครองลง เปลี่ยนวงเงินให้น้อยลงได้
- เคลมไม่ได้ เงื่อนไขเยอะ
- เคลมไม่ได้ เพราะไม่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครอง ให้ผู้เอาประกันภัยระบุสิ่งที่ตัวเองต้องการได้รับความคุ้มครองให้ชัดเจน และถ้ามีสิทธิประโยชน์ใดที่ระบุเพิ่มเติมจากตัวแทน แนะนำให้มีการลงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เพื่อเก็บเป็นหลักฐาน
- เคลมไม่ได้เพราะปฏิบัติตามขั้นตอนการเคลมยังไม่ครบถ้วน ตัวแทนต้องอธิบายสิ่งที่ผู้เอาประกันภัยต้องทำให้ชัดเจน หากเอกสารครบถ้วนแล้วบริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหม แนะนำให้ร้องเรียนไปที่ คปภ.
- ตัวแทนบริษัทประกันโทรรบกวน
ในกรณีของการประกันภัยตัวแทนประกันภัย อาจมีการโทรหาลูกค้าในบางกรณี โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นจากที่ลูกค้าที่สนใจและได้ให้ข้อมูลไว้ด้วยตัวเอง ตัวแทนจะทำการติดต่อเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการให้ความสนใจของลูกค้า ซึ่งคปภ. จะมีมาตรฐานจริยธรรมกำหนดอย่างชัดเจนว่าให้มีการระบุตัวตน บอกเลขทะเบียนตัวแทนและต้องมีการโทรในช่วงเวลาที่ไม่เป็นการรบกวน และในปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีการขายกรมธรรม์ประกันภัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Insurance) คปก. ได้มีการวางกฎเกณฑ์ในการขายกรมธรรม์รูปแบบดังกล่าว ตัวแทนต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องนอกจากนี้เพื่อคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่อาจตอบตกลงทำสัญญาประกันชีวิตไปแล้วโดยเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับทางโทรศัพท์ แต่ยังได้อ่านข้อสัญญาหรือเงื่อนไขต่าง ๆ เลยว่าจะตรงกับความคุ้มครองที่ตนต้องการหรือไม่ จึงมีการให้ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ในช่วง Free Look และได้รับเงินคืนเต็มจำนวนโดยไม่ต้องระบุเหตุผลว่าบอกเลิกเพราะเหตุใด
- ความล่าช้าในการให้บริการ
หากเจอเหตุการณ์นี้สามารถร้องเรียนไปที่ คปภ. โดยในสัญญามักมีเขียนระบุไว้ว่าจะต้องจ่ายภายในกี่วัน แต่ในทางปฏิบัติหลายบริษัทกลับอาศัยช่องทางต่างๆ ปฏิเสธการจ่าย หากปราศจากเหตุอันสมควรก็จะถือว่าประวิงการจ่าย